Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิตยสารสาระวิทย์
•
ติดตาม
26 มิ.ย. 2021 เวลา 01:54 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คลิปวิดีโอโลกของเราขึ้น ลง และส่องสว่างเป็นเสี้ยว โดยมีฉากหลังสีดำสนิทของอวกาศเป็นพื้นหลัง
Earthrise ภาพถ่ายของโลกและพื้นผิวดวงจันทร์บางส่วนที่ถ่ายจากวงโคจรของดวงจันทร์ ถ่ายโดยยานสำรวจดวงจันทร์คะงุยะ (Kaguya lunar orbiter) ขององค์กรสำรวจอวกาศญี่ปึ่น หรือ JAXA เป็นยานอวกาศลำที่สองของญี่ปุ่นที่ส่งขึ้นบินโคจรรอบดวงจันทร์
สำหรับชื่อ "คะงุยะ" มาจากนิทานเรื่องเจ้าหญิงคะงุยะที่ถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่สิบ เป็นเรื่องราวของคนตัดไม้ไผ่ที่พบเด็กหญิงผู้งดงามในลำไม้ไผ่ และเลี้ยงดูเธอเหมือนลูกแท้ๆ แต่ต่อมาพบว่าเธอคือเทพีจันทรา ซึ่งหวนกลับคืนสู่สรวงสวรรค์ไปหาวงศ์วานของเธอในที่สุด
ยานคะงุยะ มีชื่อภาษาอังกฤษคือ ยานอวกาศเซลีนี (SELENE) ซึ่งชื่อเซลีนี ย่อมาจาก Selenological and Engineering Explorer หรือ ยานสำรวจทางวิศวกรรมและศึกษาดวงจันทร์ โดยยานถูกปล่อยขึ้นจากฐานปล่อยจรวดในศูนย์อวกาศทะเนะงะชิมะ (Tanegashima Space Center) จังหวัดคะโงะชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550 แล่นเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์สำเร็จเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ยานคะงุยะมีภารกิจสำรวจดวงจันทร์ในเชิงธรณีวิทยา ทั้งการกำเนิด วิวัฒนาการ และสภาพของดวงจันทร์ โดยตัวยานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ยานโคจรหลัก และดาวเทียมอีกสองดวงที่มีชื่อว่า "โอกินะ" และ "โออุนะ" ยานคะงุยะปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้น และถูกปรับวงโคจรให้เข้าชนดวงจันทร์ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 18:25 น. (UTC) บริเวณใกล้หลุมอุกกาบาตกิลล์ (Gill) รวมระยะเวลาปฏิบัติภารกิจทั้งสิ้น 1 ปี 8 เดือน
การส่งยานอวกาศครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการส่งยานอวกาศของโครงการสำรวจดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดรองจากโครงการอะพอลโลของ NASA
1 บันทึก
11
1
1
1
11
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย