28 มิ.ย. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
“British East India” บริษัทมหาอำนาจในประวัติศาสตร์โลก
1
“British East India” เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เปิดดำเนินการและสร้างความยิ่งใหญ่มาก่อนบริษัทยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันเป็นเวลานับร้อยปี
เมื่อพูดถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก หลายคนก็คงจะนึกถึง Google หรือ Amazon หรืออาจจะเป็น Apple
แต่ British East India เกิดก่อนบริษัทเหล่านี้เป็นเวลานับร้อยปี และสั่งสมความยิ่งใหญ่ ก่อนจะสิ้นสลายตามกาลเวลา
1
British East India ได้ถูกก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1600 (พ.ศ.2143) โดยได้รับพระบรมราชานุญาตจากราชสำนักอังกฤษ และบริษัทนี้ก็มีสถานะเป็นกึ่งเอกชน กึ่งรัฐบาล ทำการค้าขายกับประเทศต่างๆ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซีย และอินโดนีเซีย ครองความยิ่งใหญ่เป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษ
ธงของบริษัท
บริษัทยังนำเข้าสินค้าต่างๆ สู่อังกฤษ ทั้งชา ผ้าฝ้าย และเครื่องเทศหลากชนิด สร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนสูงถึงกว่า 30% เลยทีเดียว
1
ในช่วงพีค บริษัทแห่งนี้คือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่าชาติหลายชาติซะอีก และมีอำนาจทางการค้ากว้างใหญ่ เป็นที่เกรงกลัวไปทั่ว
แต่เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 18 เมื่อการค้าเริ่มเสื่อมลง บริษัทก็ยังคงความยิ่งใหญ่ เริ่มสร้างอาณาจักรของตนเอง จนถึงจุดๆ หนึ่ง บริษัทมีกองทัพของตนเอง มีทหารกว่า 260,000 นาย มากกว่าทหารบกของกองทัพอังกฤษในเวลานั้นถึงสองเท่า
3
ด้วยความที่มีกองทัพที่แข็งแกร่งและอำนาจทางการค้าที่มหาศาล ทำให้คู่แข่งต่างยำเกรง ดินแดนหลายแห่งก็ไม่กล้าขัดใจ ต้องยอมทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของ “ภาษี” ซึ่ง British East India ก็มีอำนาจต่อรองอย่างเต็มที่
7
สำหรับการก่อตั้งบริษัท ก็ต้องย้อนไปตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1600 (พ.ศ.2143) เมื่อ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I)” ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มพ่อค้าในลอนดอน มีสิทธิทำการค้ากับอินเดียตะวันออก ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปในแอฟริกา ไปจนถึงแหลมฮอร์นในอเมริกาใต้
4
British East India ซึ่งเป็นบริษัทเกิดใหม่ ได้กลายเป็นบริษัทที่ผูกขาดทางการค้าในอินเดียตะวันออก ชนิดที่บริษัทอื่นๆ ในอังกฤษไม่สามารถสู้ได้ และยังไม่มีสิทธิทำการค้าในดินแดนแถบนั้น
3
แต่ถึงอย่างนั้น บริษัทก็ยังต้องเผชิญกับคู่แข่งอย่างสเปนและโปรตุเกส ซึ่งทั้งสองชาติก็มีสถานีการค้าอยู่ในอินเดีย รวมทั้งบริษัท Dutch East Indies ซึ่งก่อตั้งในปีค.ศ.1602 (พ.ศ.2145)
1
อังกฤษนั้นต้องการสินค้าต่างๆ จากตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเทศ ผ้าต่างๆ รวมทั้งเครื่องเพชร
1
หากแต่การเดินทางๆ ทะเลเพื่อนำเข้าสินค้าจากตะวันออกก็มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการถูกปล้นจากโจรสลัด หรือปะทะกับเรือของคู่แข่ง รวมทั้งโรคระบาด ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของลูกเรือ British East India ก็สูงถึง 30%
2
การที่บริษัทได้รับพระบรมราชานุญาตให้ทำการค้า ทำให้กลุ่มพ่อค้านั้นสบายใจได้ว่าตนได้รับความคุ้มครองจากเหตุร้ายต่างๆ รวมทั้งเรื่องเงินทุนในเวลาที่คับขัน
บริษัทแห่งนี้เป็นบริษัทที่เป็นผู้ริเริ่มหลายๆ อย่าง เช่น เป็นบริษัทร่วมทุนที่ใหญ่ที่สุด และเปิดดำเนินการมานานที่สุด โดยระดมทุนด้วยการขายหุ้นให้สาธารณชน
2
บริษัทดำเนินการโดยมีประธานเป็นผู้บริหาร แต่ก็มีคณะกรรมการบริษัทควบคุมอีกชั้น การประชุมในแต่ละครั้ง ก็มีผู้ถือหุ้นนับร้อยเข้าประชุมด้วย
1
ในช่วงแรก บริษัทยังไม่มีเงินจ่ายค่าจ้างให้พนักงาน จึงต้องหาแรงจูงใจอย่างอื่นให้พนักงาน นั่นก็คือ ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการค้า
1
พนักงานของบริษัท British East India สามารถทำการค้าตามกฎหรือนอกกฎของบริษัทก็ได้ ซึ่งก็มีโอกาสสำหรับพนักงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการโกง หรือลักลอบนำเข้าสินค้าต่างๆ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล และเหล่าพนักงานก็มักจะลักลอบ มุบมิบสินค้าบางส่วน และนำไปขายเอง
2
ก่อนที่ British East India จะก่อกำเนิด เสื้อผ้าส่วนใหญ่ในอังกฤษ จะเป็นเสื้อผ้าธรรมดา เน้นการใช้งานมากกว่าความสวยงาม
1
แต่เมื่อผ้าสวยๆ จากอินเดียเริ่มเข้าสู่อังกฤษ หลายอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไป ชาวลอนดอนจำนวนมากเริ่มสนใจแฟชั่น สนใจเสื้อผ้าหลากสไตล์ สวยงาม
2
เมื่อพ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าจากยุโรปชาติอื่นๆ ได้เข้ามาถึงอินเดีย พวกเขาก็ต้องผูกสัมพันธ์กับผู้นำท้องถิ่นและกษัตริย์ โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโมกุล ซึ่งทรงอำนาจไปทั่วแถบอินเดีย
1
ถึงแม้ในทางทฤษฎี British East India จะเป็นบริษัทเอกชน แต่เนื่องจากบริษัทได้รับพระบรมราชานุญาตจากราชสำนักอังกฤษ ทำให้บริษัทมีอำนาจทางการเมืองอีกด้วย
1
ผู้นำในอินเดียมักจะเชิญผู้มีอำนาจในบริษัทมายังราชสำนัก และเรียกสินบนจากบริษัท แลกกับการให้กองกำลังทหารแก่บริษัท เผื่อไว้ในกรณีปะทะกับบริษัทคู่แข่ง
2
ในเวลานั้น จักรวรรดิโมกุลมีอำนาจหลักๆ อยู่ภายในอินเดีย หากแต่เมืองท่าต่างๆ นั้นเปิดรับชาติตะวันตกอย่างเสรี ซึ่งนั่นทำให้สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ British East India เร่งหาเงินทุนจำนวนมาก ก็เพื่อการสร้างสถานีการค้าในเมืองท่าหลายๆ แห่งในอินเดีย
1
ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโมกุลล่มสลายในศตวรรษที่ 18 ก็ได้เกิดสงครามภายในอินเดีย ทำให้พ่อค้าอินเดียจำนวนมากต้องเข้าหาบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งเพื่อหาที่พึ่ง ทำให้ British East India ยิ่งเติบโตและทรงอำนาจเกินใครจะต้านทาน
1
ปัญหาก็คือ “British East India จะปกครองดินแดนที่กำลังวุ่นวายเหล่านี้ยังไง และจะใช้หลักการอะไรในการปกครอง?”
1
บริษัทนั้นไม่ใช่รัฐ บริษัทจะปกครองโดยอ้างราชสำนักไม่ได้ หากไม่ได้รับการยินยอมจากราชสำนัก อีกทั้งการออกกฎหมายก็จะมีปัญหา
ผู้ที่มีบทบาทในกรณีนี้ก็คือ “บริษัทลูก”
สำนักงานของบริษัทในลอนดอนไม่ได้สนใจในการเมืองของอินเดีย หากว่าการค้ายังคงราบรื่น คณะกรรมการก็ยังคงพอใจและไม่ก้าวก่ายงานของบริษัท อีกทั้งการติดต่อสื่อสารระหว่างลอนดอนและบริษัทลูกก็มีไม่มากนัก ทำให้บริษัทลูกสามารถออกกฎเอง ใช้กฎที่ตั้งขึ้นเองในการปกครองเมืองต่างๆ ที่บริษัทตั้งอยู่ได้ รวมทั้งก่อตั้งหน่วยงานตำรวจและระบบยุติธรรมของตนเอง
3
จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกอย่าง ที่เปลี่ยน British East India จากบริษัทการค้าสู่อาณาจักรมหาอำนาจ ได้มาถึงในภายหลังจากยุทธการที่ปลาศี (Battle of Plassey) ในปีค.ศ.1757 (พ.ศ.2300)
ยุทธการที่ปลาศี เป็นการต่อสู้ระหว่าง British East India กับแคว้นเบงกอลของจักรวรรดิโมกุลที่มีฝรั่งเศสหนุนหลัง
3
ยุทธการที่ปลาศี (Battle of Plassey)
ยุทธการนี้เป็นการสู้รบระหว่างทหารอินเดียกว่า 50,000 นาย กับทหารของ British East India เพียง 3,000 นาย
1
ในเวลานั้น คนใหญ่คนโตในอินเดียต่างไม่พอใจที่ British East India ขูดรีดภาษี จึงเกิดความรุนแรงตามมา
1
แต่สิ่งที่เหล่าคนใหญ่คนโตไม่ทราบเลยก็คือ ในเวลานั้น ผู้นำทางการทหารฝ่าย British East India ในแคว้นเบงกอล นั่นก็คือ “โรเบิร์ต ไคลฟ์ (Robert Clive)” ได้แอบไปตกลงลับๆ กับเหล่านายธนาคารในอินเดีย มีผลประโยชน์ร่วมกัน และทำให้กองทัพอินเดียไม่ยอมออกรบ
1
โรเบิร์ต ไคลฟ์ (Robert Clive)
ชัยชนะของ British East India ทำให้บริษัทยิ่งแข็งแกร่ง และมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีในเบงกอลอย่างเต็มที่ ซึ่งในเวลานั้น แคว้นเบงกอลคือหนึ่งในดินแดนที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย
1
นอกจากนั้น ไคลฟ์ยังทำการยึดทรัพย์สมบัติของเหล่าผู้มีอำนาจในเบงกอล และส่งกลับไปลอนดอน
1
ชัยชนะครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริษัทไปอย่างสิ้นเชิง จากบริษัทที่มุ่งไปยังการสร้างผลกำไร ไปเป็นมุ่งในการจัดเก็บภาษี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า British East India มีอำนาจมากยิ่งกว่ารัฐบาลอินเดียซะอีก
1
ต่อมาในปีค.ศ.1784 (พ.ศ.2327) สภาอังกฤษได้ออก “พระราชบัญญัติอินเดีย (India Act)” ซึ่งเป็นการกำหนดให้รัฐบาลอังกฤษมีอำนาจปกครองดินแดนที่อยู่ใต้อำนาจของ British East India ในอินเดีย เนื่องจากรัฐบาลเล็งเห็นว่าบริษัทเริ่มจะมีอำนาจมากเกินไปแล้ว จำเป็นต้องลดทอนอำนาจลง
3
แต่การขูดรีดของ British East India ก็ยังไม่จบ ในช่วงเวลาที่เรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ดำมืดของบริษัท
British East India ได้ทำการลักลอบนำเข้าฝิ่นเข้ามายังจีน แลกกับสินค้าที่ล้ำค่าในยุคนั้น
3
นั่นก็คือ “ชา”
ที่ผ่านมา จีนจะทำการค้า แลกเปลี่ยนใบชากับแร่เงินเท่านั้น ซึ่งอังกฤษก็ไม่ได้มีแร่เงินเพียงพอต่อความต้องการชา British East India จึงทำการจัดหาและลักลอบนำเข้าฝิ่นสู่จีนผ่านตลาดมืด แลกกับใบชา
ในขณะที่อังกฤษกำลังเพลิดเพลินกับชาที่ทางบริษัทจัดหามาได้ ชาวจีนก็ติดฝิ่นงอมแงม
เมื่อทางการทราบถึงพฤติกรรมของ British East India ก็ได้ทำการยึดฝิ่นและห้ามปรามการกระทำของบริษัท ซึ่งทำให้อังกฤษไม่พอใจและส่งกองเรือเข้ามารุกราน จุดประกายให้เกิด “สงครามฝิ่น (Opium War)” ในปีค.ศ.1839 (พ.ศ.2382)
สงครามฝิ่น (Opium War)
สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของจีน ทำให้จีนต้องส่งมอบฮ่องกงให้อยู่ในอำนาจของอังกฤษ และทำให้เห็นว่า British East India นั้นหาผลประโยชน์ได้ทุกวิถีทาง
2
ต่อมา อังกฤษได้ออก “พระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 (Government of India Act 1858)” ในปีค.ศ.1858 (พ.ศ.2401) ซึ่งกำหนดให้ British East India มาขึ้นตรงกับราชสำนักอังกฤษ
1
หลังจากนั้น British East India ก็ปิดตัวลงในปีค.ศ.1874 (พ.ศ.2417) ภายหลังจากครองความยิ่งใหญ่มานานกว่า 200 ปี
1
British East India ปิดตัวลงไปนานเกือบ 150 ปีแล้ว แต่เรื่องราวของบริษัทนี้ยังเป็นกรณีศึกษาของบริษัทต่างๆ และวงการธุรกิจมาจนถึงปัจจุบัน
โฆษณา