26 มิ.ย. 2021 เวลา 03:40 • ประวัติศาสตร์
วัดสิงห์ อ.นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
เพจเที่ยววัดตามใจทำการลงสำรวจสถาปัตยกรรม
ที่น่าชมภายในวัดสิงห์นครปฐมปัจจุบันมีความ
เปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลในอดีตจากการสอบ
ถามจากพระมหาไพบูลย์ ที่วัดท่าใน
พระมหาท่านนี้ท่านบวชเรียนที่วัดท่าใน
และสอบได้เปรียญธรรมมาตั้งแต่เป็นเณร
ท่านเป็นพระที่มีความรู้ทั้งทางโลกและ
ทางธรรมประวัติของท่านโดยละเอียดไม่
มีใครทราบมากนักเนื่องจากท่านเป็นพระ
ที่ชอบวิเวกตามแบบพระในสมัยโบราณ
ปัจจุบันท่านมีอายุประมาณ 61 ปี
วัดท่าในและวัดสิงห์เป็นวัดที่อยู่คู่กันดังนั้น
ท่านจึงไปมาหาสู่ที่วัดสิงห์และเห็นความเป็น
มาเป็นไปของพื้นที่มาโดยตลอดอีกทั้งท่าน
ยังเป็นสหธรรมมิกกับหลวงพ่อสืบซึ่งเป็น
อดีตเจ้าอาวาสที่วัดสิงห์
จากการลงสำรวจพระอุโบสถ
พระอุโบสถหลังที่เห็นในปัจจุบันเป็นพระอุโบสถ
หลังใหม่ที่สร้างแทนพระอุโบสถหลังเดิมที่ผุพัง
ตามกาลเวลามีข้อมูลจากคำบอกเล่าว่าพระอุโบสถ
หลังเก่าเป็นพระอุโบสถแบบมหาอุตแบบอยุธยา
โดยดูจากเอกสารสำเนาที่เคยเก็บข้อมูลไว้
พบว่าพระอุโบสถนั้นมีความคล้ายคลึงกับ
พระอุโบสถเก่าที่วัดบางพระ จ.นครปฐมแต่เหตุ
ที่พระอุโบสถเก่าผังลงนั้นเป็นเพราะพื้นที่ตั้ง
วัดสิงห์นั้นติดกับคลองบางแก้วและในสมัย
ก่อนยังไม่มีการสร้างเขื่อนเพื่อกันนํ้ากัดเซาะ
ดังนั้นพอถึงฤดูฝนพื้นที่วัดสิงห์จึงกลายเป็น
พื้นที่รับนํ้าทำให้พระอุโบสถหลังเก่าต้องแช่นํ้า
ตลอดฤดูฝนจึงทำให้โครงสร้างอาคารพังและ
ชำรุดบางช่วงที่วัดกลายเป็นวัดร้างโบราณสถาน
ภายในวัดก็ขาดคนดูแลจึงทำให้ผุผังตามกาลเวลา
แต่ที่ยังคงให้ได้รู้ถึงอดีตพระอุโบสถเก่านั้นก็คือ
หลักฐานโบราณวัตถุเสมาหินทรายแดงแบบ
อยุธยาตอนต้นเป็นลักษณะเสมาหินทรายแดง
แกะสลักลวดลายซึ่งล้วนได้รับการกำหนดอายุ
ไว้ว่าเป็นเสมาสมัยอู่ทองราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
(ประยูร อุลุชาฎะ 2524 : หน้า 30-37 )
ปัจจุบันเสมาพระอุโบสถเก่าย้ายไปประดิษฐาน
คู่พระอุโบสถหลังใหม่
พระอุโบสถหลังใหม่
พระอุโบสถที่เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นดำริสร้างโดย
หลวงพ่อม้วน อินทสุวัณโณ(พระครูอินทศิริชัย)
(อดีตเจ้าคณะตำบลท่าพระยาและอดีตเจ้าอาวาสวัดไทร)
ท่านมาตรวจวัดเห็นสภาพพระอุโบสถของวัดก็หดหู่ใจ
จึงมอบหมายให้ พระสืบสันต์ ปริมุตโต หรือหลวงพ่อสืบ
ซึ่งในเวลานั้นท่านเพิ่งบวชใหม่ๆเข้ามา(พศ 2514)
(*เป็นการบวชครั้งที่2ของหลวงพ่อสืบ)
มาดำเนินการดูแล และควบคุมการก่อสร้าง
โดยวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังใหม่เมื่อ
วันที่ 28 มกราคม พศ 2514 สร้างแล้วเสร็จ
มีการทำพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในปี พศ.2518
บริเวณในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
สร้างบนพื้นที่ของพระวิหารหลังเดิม
ส่วนพระอุโบสถหลังเก่านั้นจะตั้งอยู่ด้านหน้า
ของ พระเจดีย์อิศวรนวโกฏิ ระยะห่างกันไม่มากนัก
เมื่อพระอุโบสถใหม่แล้วเสร็จก็ได้ทำการ
ย้ายพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าไป
ประดิษฐานที่ พระอุโบสถหลังใหม่
ประธานในการจัดสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
นายสุ่น กาญจนะ อดีตผู้จัดการโรงงานสุรา
ผลไม้ บริษัทประมวลผล จำกัด นครชัยศรี
และญาติมิตรรวมไปถึงประชาชนทั่วไป
ปัจจุบันรายนามผู้ร่วมสร้างพระอุโบสถสลักไว้
ที่บริเวณด้านหลังฐานพระประธานภายใน
พระอุโบสถหลังใหม่
ภายในพระอุโบสถ เป็นภาพจิตกรรมฝาผนัง
เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า
และเรื่องราวทศชาติชาดกเรื่อง พระเวสสันดร
เป็นงานเขียนภาพแบบ "ภาพประดับ"
หรือ illustration ซึ่งเป็น
ลักษณะภาพประกอบเรื่องซึ่งไม่ใช่งานเขียน
ภาพแบบจิตกรรมฝาผนังแบบอย่าง
จิตกรรมไทยที่เราเห็นตามพระอุโบสถ
ซึ่งก็ถือว่ามีความน่าสนใจ โดยศิลปินที่
เขียนภาพภายในพระอุโบสถนั้นจากการ
เก็บข้อมูลทำให้ทราบว่าเป็นลูกศิษย์ของ
หลวงพ่อสืบใช้นามปากกางานเขียนงาน
จิตกรรมว่า "ตุ้ย-ศิษย์หลวงตา ช.ม.ช.ร
ซึ่งมีจารึกไว้ที่ภาพต้นโพธิ์บริเวณด้าน
หลังพระประธานภายในพระอุโบสถและ
ในบริเวณเดียวกันยังมีภาพเขียน
รูปเหมือนหลวงพ่อสืบบริเวณฝั่งซ้าย
ของพระประธานไว้ให้ผู้ที่เข้ามาสักการะ
พระประธานในพระอุโบสถได้ชม
พระพุทธรูปโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์
พระพุทธรูปเก่าแก่ที่อยู่คู่กับวัดมาจนถึงปัจจุบัน
มีชื่อว่า "พระพุทธสีหโรจนชัย"
(พระพุทธเจ้าผู้ชนะสรรพสิ่งดุจดังพญาราชสีห์)
เป็นพระประธานในอุโบสถของวัด
คำบอกเล่าผ่านดวงวิญญาณผู้สร้างวัดที่บันทึก
ภายในหนังสือ "ตำนานวัดสิงห์" บันทึกไว้ดังนี้
พระประธานองค์นี้ตามคำบอกเล่ากล่าวไว้
ว่าสร้างโดย "พระอิศวรติไตรโลกนาถ"
สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัด เมื่อ พศ 1696
เดิมมีชื่อว่า "พระพุทธบรมไตรโลกนาถ"สร้างโดย
"เจ้าแม่ดอกสร้อย" ซึ่งอดีตชาตินั้นเป็น
พระราชธิดาของเสด็จพ่อ (พระอิศวรติไตรโลกนาถ)
สร้างขึ้นหลังจากการสร้างวัดแล้วประมาณ 100 ปี
หรือ พศ 1796 (สมัยต้นสุโขทัย)ในครั้งนั้น
เจ้าแม่ดอกสร้อยได้มาบูรณปฏิสังขรณ์
"พระเจดีย์อิศวรนวโกฏิ" เป็นครั้งแรกจึง
ได้ดำเนินการจัดสร้าง"พระพุทธบรมไตรโลกนาถ"
ขึ้นมาพร้อมกันกับการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์
พระพุทธรูปทั้งองค์นี้ สร้างด้วย "หินทรายขาว"
ซึ่งเป็นวัตถุที่นิยมสร้างพระพุทธรูป
ในปลายสมัยทวารวดี เมืองนครปฐมหรือ
สมัยลพบุรีตอนต้นที่มีอายุุ ยืนยาวเกือบพันปี
(สมัยทวารวดีพุทธศตวรรษที่ 11-16และ
สมัยลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16-17 ลงมา)
เหตุอัศจรรย์เมื่อครั้งย้ายองค์พระประธานไป
ยังพระอุโบสถหลังใหม่ เมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถ
ใหม่แล้วเสร็จ หลวงปู่ม้วนจึงเห็นว่าควรย้าย
พระประธานไปยังพระอุโบสถใหม่เนื่องจาก
พระอุโบสถหลังเก่ามีความชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก
จึงจำเป็นต้องย้ายพระประธาน
ช่างจึงต้องแยกองค์พระประธานที่มีขนาดใหญ่
ออกเป็นส่วนๆเพื่อสะดวกแก่การเคลื่อนย้ายซึ่ง
ทุกอย่างก็ราบรื่นดี จนกระทั่งเหตุการณ์ผ่าน
ไปประมาณ 20 วัน นายช่างผู้ดำเนินการ
ย้ายพระประธาน ได้เดินทางมาพบ
หลวงพ่อสืบด้วยใบหน้าหมองคล้ำนำของ
สิ่งหนึ่งมาถวายและสารภาพความผิด
ทั้งหมดโดยเล่าว่า ขณะที่สกัดแยกส่วน
องค์พระประธาน ได้พบโถชิ้นนี้ฝังอยู่ใน
พระหัตถ์ของพระประธาน เปิดออกดูเห็น
เป็นพระธาตุก็ดีใจ แอบเก็บซ่อนไว้มิให้
ผู้ใดรู้แล้วแอบนำไปเก็บไว้ที่บ้านช่างคน
ดังกล่าวได้บอกว่า จากวันที่ลักลอบนำโถ
พระธาตุเข้าบ้านจะเกิดเหตุการณ์ไม่ดีต่อ
ตัวช่างและบุคคลภายในบ้านไม่เว้นแต่ละวัน
และมีเหตุร้ายแรงถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรกขโมยขึ้นบ้านเพื่อลักทรัพย์สินซึ่งไม่
เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย
ครั้งที่สอง เกิดเหตุไฟไหม้บ้านแต่โชคดีที่ช่วย
กันดับทัน ก็เลยฉุกคิดขึ้นได้ว่าทุกอย่างที่เกิด
ขึ้นต้องเป็นแรงอาถรรพ์หรือความศักดิ์สิทธิ์
ของพระธาตุนี้แน่ เพราะในช่วง 20 วันที่ได้
ลักลอบขโมยพระธาตุมา มีแต่เรื่องร้ายๆเข้า
มาตลอดเวลา
 
จึงได้นำมาคืนและสรภาพผิดหลวงพ่อสืบ
หลวงพ่อสืบท่านจึงรับโถพระธาตุมาพิจารณา
ดูเป็น โถเครื่องสังคโลกมีฝาปิดลายคราม
ขนาดของโถไม่ใหญ่นักประมาณเท่า ผลหมาก
ภายในบรรจุพระธาตุหลากสีเต็มโถ
นับได้ 13 องค์ องค์ใหญ่สุด ใหญ่กว่าเมล็ดมะขาม
องค์เล็กสุดเท่าเม็ดทราย หรือประมาณ 2 มม
หลวงพ่อสืบจึงนำพระธาตุไปถวายหลวงพ่อม้วน
และแจ้งเรื่องราวต่างๆให้ทราบ
หลวงพ่อม้วนกล่าวว่า
"เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ให้ทำไปบรรจุไว้ที่เดิม"
โดยหลวงพ่อม้วนท่านได้ทำการเก็บรักษาไว้ก่อน
เพื่อหาฤกษ์ที่ดีในการ บรรจุ จนในที่สุดท่านได้
ใช้ฤกษ์ในวันตัดลูกนิมิตลงหลุมเป็นฤกษ์มหามงคล
ทำการบรรจุพระธาตุเข้าที่เดิม คือ ที่พระหัตถ์ของ
"พระพุทธสีหโรจนชัย" โดยเจาะปูนเป็น
หลุมกลางพระหัตถ์ วางโถ พระธาตุประดิษฐานไว้
เทปูนทับและปิดด้วยทองคำซึ่งพระธาตุได้สถิตย์อยู่ที่
องค์พระประธานจนกระทั่งปัจจุบันนี้
พระประธานในพระอุโบสถถ้าดูโดยรวมแล้ว
พุทธลักษณะเป็นศิลปะพระพุทธรูปแบบสมัย
อยุธยาแบบอู่ทองรุ่นสองโดยมีลักษณะพระพักตร์
รูปสี่เหลี่ยมขมวดพระเกศาเล็กมีไรพระศก
ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นขนาดใหญ่ปลายตัดตรง
ซึ่งอยู่กลุ่มพระพุทธรูปพุทธศตวรรษ 17-19
แต่องค์พระพุทธรูปก็มีการบูรณะอยู่หลายครั้ง
จึงทำให้มีความผิดเพี้ยนไปตามยุคสมัยแต่ก็พอ
เห็นเค้ารางโดยรวมได้บ้าง
ภายในพระอุโบสถยังมีพระสำคัญอีกองค์นึงซึ่ง
ประดิษฐานด้านหน้าพระประธานเป็นลักษณะ
พระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ เป็นพระที่
ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในปี พศ.2555 เททอง
หล่อที่วัดสิงห์ ในพิธีอายุวัฒนมงคลหลวงพ่อสืบ
พระนามของพระพุทธรูปสำคัญองค์นี้
มีพระนามว่า"พระพุทธสีหมงคลจักรพรรดิ"
วัดสิงห์เป็นวัดที่ได้รับการบูรณะและดูแลมาตลอด
โดยเท่าที่การลงสำรวจจะพบว่าซุ้มประตู้พระอุโบสถ
ด้านนึงระบุนามพระครู ฐาปนกิจสุนทร (หลวงพ่อเปิ่น)
ซึ่งจากการเก็บข้อมูลทำให้ทราบว่าวัดนี้หลวงพ่อเปิ่น
วัดบางพระ เกจิเลื่องชื่อแห่งนครชัยศรีก็ได้มาเมตตา
อุปถัมภ์วัดแห่งนี้
จากการสอบถามข้อมูลทำให้ทราบว่า
หลวงพ่อเปิ่นวัดบางพระท่านเป็นครูบาอาจารย์องค์
สำคัญของหลวงพ่อสืบเป็นผู้สอนการกำหนดสมาธิ
และการเพ่งจิตในการปลุกเสกวัตถุมงคลนับเป็น
ครูบาอาจารย์ในยุคแรกๆของหลวงพ่อสืบนับจาก
หลวงปู่ห่วงวัดท่าในเป็นปฐม
เครดิตข้อมูล
พระมหาไพบูลย์ วิปุโล (วัดท่าใน จ.นครปฐม)
หนังสือ"ตำนานวัดสิงห์" ซึ่งไม่ทราบนามผู้เขียนและผู้จดบันทึก
เป็นเรื่องเล่าผ่านดวงวิญญาณผู้สร้างวัดผ่านผู้บันทึก
ข้อมูลวัดสิงห์และประวัติหลวงพ่อสืบ ลงข้อมูลเว็ปสวนขลัง
และเว็ปพลังจิต ผู้ลงข้อมูล คุณปรัช ไทยภักดี
หนังสือพระราชทานเพลิงศพ
พระครูพิทักษ์วีรธรรม(สืบสันต์ ปริมุตโต)
เอกสารประกอบ "อยุธยาย่านกรุงเทพฯ"
ผู้แต่ง ผศ.ดร. ประภัสสร ชูวิเชียร 2561
ข้อมูล บทที่4 ใบเสมาร่องรอยการสถาปนาวัดวาอาราม
สมัยอยุธยาในกรุงเทพและปริมณฑล
หน้า 132-165
โฆษณา