26 มิ.ย. 2021 เวลา 16:15 • การศึกษา
Therapeutic Hypothermia - “Hypothermia versus Normothermia after Out-of-Hospital Cardiac Arrest (NEJM 2021)” ตอนที่ 1
เป็นเปเปอร์ใหม่ ที่ออกเมื่อสัปดาห์ก่อน ใน NEJM
เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำ therapeutic hypothermia ในคนไข้ที่มีอาการ coma หลังจาก cardiac arrest จะพบว่า ป้องกันภาวะ hypoxic-ischemia brain damage ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งในภายหลังจากที่เล่าเรื่องนี้ เราจะมาเล่า พงศาวดารรีวิวเปเปอร์ย้อนหลัง เอาแบบ landmark study มาพูดกัน
โดยทั่วไป ข้อบ่งชี้ในการทำ therapeutic hypothermia ได้แก่คนไข้ที่ not following commands หรือ showing purposeful movements หลังจากที่ resuscitation ส่วน contraindication ในการทำ ได้แก่ active bleeding เป็นหลัก
จากเปเปอร์ Targeted Temperature Management at 33°C versus 36°C after Cardiac Arrest ใน NEJM 2013 ซึ่งพบว่า การทำ therapeutic hypothermia ที่ 33 c เทียบกับที่ 36 c เมื่อดู primary outcome เรื่อง all-cause mortality และ Secondary outcomes ได้แก composite of poor neurologic function หรือ death ที่ 180 วัน ไม่พบความแตกต่างกันของทั้งสองกลุ่มการศึกษา
ดังนั้นภาวะไข้จึงถูก propose ว่าเป็น risk factor ของ unfavorable neurological outcome หลังจากภาวะ cardiac arrest ทางผู้ศึกษาจึงได้ทำการทดลองขึ้นมา
“Hypothermia versus Normothermia after Out-of-Hospital Cardiac Arrest (NEJM 2021)”
PICO
P (Patient) : คนไข้ที่ยังมีภาวะ coma หลังจากที่มีภาวะ out-of-hospital cardiac arrest of presumed cardiac or unknown cause (แนะนำให้อ่านรายละเอียด ของ inclusion ในตัว trial)
I (Intervention)/ C (Comparison) :
กลุ่ม targeted hypothermia at 33°C (28 hours) ตามด้วยการ controlled rewarming
กลุ่ม targeted normothermia with early treatment of fever (body temperature ≥37.8°C) – โดยใช้วิธีแบบ conservative, pharmacologic, สามารถใช้ surface หรือ intravascular temperature management device ถ้าอุณหภูมิมากกว่า 37.5c
*** ทั้งสองกลุ่ม จะ maintain ที่ normothermic target ที่ 36.5 c – 37.7 c จนถึง 72 ชม หลังจากที่ randomization ***
O (Outcome) :
+ Primary outcome : death from any cause at 6 months
+ Secondary outcomes included functional outcome at 6 months as assessed with the modified Rankin scale
+ Adverse events
จากการศึกษา พบว่า
อัตราการเสียชีวิตที่ 6 เดือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองกลุ่ม และ functional outcome เมื่อดูในส่วน functional outcome ในกลุ่ม moderately severe disability หรือ worst ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองกลุ่ม
พบ severe adverse events ได้แก่ Arrhythmia resulting in hemodynamic compromise ที่มีมากกว่าใน กลุ่ม targeted hypothermia at 33°C เมื่อเทียบกับ กลุ่ม normothermia อย่างมีนัยสำคัญ
Hypothermia versus Normothermia after Out-of-Hospital Cardiac Arrest : https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2100591
เรียบเรียงโดย
นพ.วศิน จิริศานต์ (หนอนน้อยอ่านเปเปอร์)
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤต
โฆษณา