27 มิ.ย. 2021 เวลา 05:27 • หนังสือ
วะบิ-ซะบิ : สุนทรียภาพสำหรับศิลปิน นักออกแบบ นักกวี และนักปรัชญา
นุ่มนวล เนิบช้า ถ่อมตน นำเข้าสู่คุณค่าภายใน
เรียบง่าย สงบ ลึกล้ำ ไม่สมบูรณ์ ไม่ดำรง ไม่คงทน แปรเปลี่ยน ไม่ยั่งยืน
ความงามตามความจริง ความงามของสิ่งซึ่งไม่สมบูรณ์แบบ มีลักษณะเฉพาะ วิถีชีวิต ไม่เสแสร้ง ไม่ซับซ้อน ผิวสัมผัสธรรมชาติ
แยกตัวออกจากความสมบูรณ์แบบและความงามวิจิตร ปฏิเสธการประดับตกแต่งที่ไม่เข้ากับโครงสร้าง อุดมคติความงามแบบนามธรรม ไม่มุ่งเน้นเสนอรูปลักษณ์ที่จับต้องได้
โลกทัศน์แบบหยั่งรู้เอง สัมพัทธ์ มองหาคำตอบเฉพาะตัวของปัจเจก มุ่งเน้นปัจจุบัน ยอมรับการบุบสลายเสื่อมสภาพ ธรรมชาติควบคุมไม่ได้
คลุมเครือ มืดมัวหม่น อุดมคติคือไม่เป็นวัตถุอย่างสิ้นเชิง ทุกสิ่งล้วนมีอายุขัย
แสดงความถ่อมตน ความเสมอภาค ขจัดความคิดเชิงแบ่งแยก สรรพสิ่งล้วนมีคุณค่าในตัวเอง
"ความว่างเปล่าคือที่สุดของความเรียบง่าย"
เรียบง่ายด้วยตัวมันเอง ทำอย่างไรไม่ให้ดูเสแสร้ง ไม่ดูน่าเบื่อ ใส่ใจในทุกรายละเอียดแต่ไม่ดูจุกจิกจู้จี้ จริงใจ สง่าผ่าเผย สุขุม สุภาพ
ลดทอนเหลือเพียงแก่น แต่อย่าลดทอนความงาม สะอาด ไม่รกรุงรัง แต่อย่าหมดจดจนดูแห้งแล้ง อบอุ่นในความรู้สึก ไม่ใช่เย็นชา อย่าลดทอนความน่าสนใจ
"อภิปรัชญา" (การดำรงอยู่)
“สรรพสิ่งหากไม่กลายเป็นความว่างเปล่า ก็แปรผันมาจากความว่างเปล่า”
สุนทรียศาสตร์ที่ครอบคลุมโยงใยไปสู่ความเข้าใจสูงสุดของการ “ดำรงอยู่” สิ่งๆนั้นกำลังแปรผันขึ้นมาใหม่ หรือสูญสลายไป
ความว่างเปล่านั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยความเป็นไปได้ “สภาวะการเคลื่อนไปสู่ หรือเคลื่อนออกจาก”
"คุณค่าทางจิตวิญญาณ" (ปัญญา ความรู้ ความจริงแท้)
“ความจริง” เกิดจากการสังเกตธรรมชาติ
“คุณค่า” ดำรงอยู่ในรายละเอียดที่สงบเสงี่ยมและถูกมองข้าม
“ความงาม” เผยตัวได้แม้ในความอัปลักษณ์
คุณค่าดำรงอยู่ ณ ชั่วขณะของการถือกำเนิดและโรยรา ปรากฏอยู่ในสิ่งที่เป็นรอง ซุกซ่อนตน ยังไม่สมบูรณ์ ดำรงอยู่เพียงชั่วคราว ไม่แจ่มชัด พร้อมที่จะหายไป
บางสิ่งยิ่งใกล้ความดับสูญเท่าไร ความงามกลับยิ่งทบทวี การสัมผัสประสบการณ์ในตัวนิทรรศการต้องเนิบช้า อดทน และมองดูอย่างใกล้ชิด
ความงามสามารถเกิดขึ้นได้โดยฉับพลันทันใด ในสภาพแวดล้อม บริบท ทัศนะที่เอื้ออำนวย ความงามจึงเป็นสภาวะที่แปรเปลี่ยน ห้วงเวลาที่วาบไหว
Ueno, 2019 / cr.Bordee Budda
"สภาวะจิต" (ความปกติสุข)
ยอมรับในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ชื่นชมในสิ่งที่เป็น สุนทรียภาพในความชั่วคราว ใคร่ครวญถึงการดับสูญ ความเดียวดาย ความเศร้า คลายกังวลว่าทุกสรรพสิ่งล้วนมีชะตากรรมเดียวกัน
"วิถีปฏิบัติ"
ขจัดสิ่งที่เกินความจำเป็น ใส่ใจเรื่องราวภายใน เพิกเฉยต่อวรรณะทางวัตถุ ปล่อยให้สิ่งต่างๆเป็นไปเองอย่างที่มันเป็น
"คุณลักษณะทางวัตถุ"
กระบวนการทางธรรมชาติ ไม่สม่ำเสมอ ใกล้ชิด เรียบง่าย ไม่เสแสร้ง หม่นมัว กระดาษสาที่ปล่อยให้แสงฟุ้งผ่านนุ่มนวล การแตกเป็นร่องของดินแห้ง โลหะเมื่อหมองมัวและขึ้นสนิม เมื่อวัตถุนั้นพ้นออกไป มันจะคืนสู่สภาพความเป็นจริงทั่วไป
วัสดุที่เปราะบางต่อกระบวนการทางธรรมชาติและมือมนุษย์ ปล่อยให้สิ่งที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้น เชื้อเชิญให้เข้าใกล้ สัมผัส ผูกสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวัตถุ สถานที่มีบรรยากาศส่วนตัว สันโดษ สงบ เอื้อต่อการครุ่นคิดไตร่ตรองในเรื่องสารัตถะของสรรพสิ่ง
ดูเป็นธรรมชาติ ไม่เรียกร้องความสนใจ สงบเสงี่ยม ถ่อมตน แต่ครองอำนาจอย่างเงียบๆ อยู่ร่วมกับสิ่งอื่นอย่างสะดวกใจ
ได้รับการชื่นชมเมื่อเข้ามาสัมผัสโดยตรง อาจดูหยาบ เห็นเนื้อเดิมของวัสดุ พร่าเลือน อ่อนจาง เสมือนสิ่งๆหนึ่งกำลังกลายเป็นความว่างเปล่า หรือปรากฏขึ้นจากความว่างเปล่า สิ่งที่เคยคมชัดค่อยๆกลายเป็นแสงเรืองจางๆ เหมือนบรรยากาศตอนรุ่งสางและพลบค่ำ บางครั้งอาจเป็นโทนสีสว่างไสวจากการเพิ่งผุดขึ้นมาจากความว่างเปล่า คุณลักษณะที่ชวนให้เราหันมองสิ่งนั้นครั้งแล้วครั้งเล่า รับรู้ถึงคุณสมบัติของสื่อวัสดุประเภทต่างๆที่นำมาสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมผลงานผ่านทางประสาทสัมผัสภายนอกในเบื้องต้น และส่งผลต่อไปยังความรู้สึกและการตีความภายใน
ลองสร้างพิธีกรรมเชิงสัญญะ ซึ่งมีเพียงคำอธิบายเบื้องต้นกำกับ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางศิลปะแบบใหม่ขึ้นมา เพราะผู้ชมต่างมีประสบการณ์ส่วนตนมาก่อน ฐานประสบการณ์ความรู้เดิมของผู้ชมจะผสานรวมกับวัตถุศิลปะจนกลายเป็นงานที่สมบูรณ์ ตัวศิลปินและผู้ชมคือองค์ความรู้ไม่ใช่ภาษา มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบซ้ำๆ (ZEN)
ลองอุปมาถึงการเกิด-ดับของบางสิ่งที่ทิ้งร่องรอยเหลือไว้เพียงน้อยนิด นำพาผู้ชมงานเข้ามาสัมผัสกับช่วงเวลา-ประสบการณ์ชั่วครู่นั้นให้ได้ สร้างการตระหนักรู้ว่าทุกสรรพสิ่งนั้นชั่วคราว ครู่หนึ่งยังไม่เห็น อีกครู่หนึ่งก็หายไป ผลงานไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์ เป็นเพียงการมาบรรจบกันชั่วคราว ไม่มีสิ่งใดโดดเด่นเกินหน้าสิ่งอื่น อย่ายกย่องเพียงความเก่า ต่อให้เป็นของใหม่หากเหมาะสมก็จงหยิบมาใช้
Ginza, 2019 / cr.Bordee Budda
"สรรพสิ่งไม่ยั่งยืนถาวร ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่บริบูรณ์"
การเลื่อนไหลไปสู่ความว่างเปล่านั้นเป็นสากลและดำเนินไปไม่หยุดยั้ง หาได้มีสิ่งใดดำรงอยู่ สรรพสิ่งล้วนบุบสลาย ไม่ช้าก็เลือนหายไปจากความทรงจำ เมื่อเพ่งมองสิ่งๆหนึ่งอย่างใกล้ชิด เรามักเห็นตำหนิ ข้อจำกัดเรื่องความสมบูรณ์แบบนั้นประจักษ์ต่อสายตาอยู่เสมอ ผันแปร เสื่อมสูญไม่หยุดหย่อน บูรณภาพไม่มีอยู่จริง ไม่มีโครงสร้างที่เป็นระบบ
หากต้องการทำความเข้าใจก็ลองค่อยๆตัดทอน ปรับแต่ง ให้เข้ากับความจำเป็นใช้สอยเฉพาะหน้า ให้ความสำคัญกับการหลุดพ้นจากวิธีมอง วิธีคิด แบบเดิมๆ เกี่ยวกับสรรพสิ่งและการดำรงอยู่ “ความว่าง” คือหัวใจของอภิปรัชญา เหมือน “เซน”
บางส่วนจากหนังสือ
Wabi-Sabi for Artists, Designers, Poets, & Philosophers
ผู้เขียน : Leonard Koren
ผู้แปล : สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี
สำนักพิมพ์ : Openbooks
โฆษณา