Radioactive เป็นภาพยนตร์ดราม่า/ อัตชีวประวัติ บอกเล่าเรื่องราวของ Marie Curie ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 Maria Salomea Skłodowska (Rosamund Pike) กำลังดิ้นรนเพื่อสร้างตัวเองให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่น่านับถือในปารีส แต่ด้วยเป็นหญิง ทำให้เพื่อนร่วมงานที่เป็นชายไม่ส่งเสริมสักเท่าไร จนได้มาพบกับปิแอร์ คูรี (Sam Riley) เขาได้เชิญเธอมาทำงานในห้องปฏิบัติการของเขา จนในที่สุดก็มาทำงานร่วมกัน
ครึ่งแรกของ Radioactive จะว่าด้วยชีวิตรักและครอบครัวของทั้งสอง จนกระทั่งมีลูกสาว 2 คน ซึ่งนักแสดงทั้งสองท่านแสดงออกมาได้อย่างน่ารัก/ น่าเอ็นดู (อดยิ้มที่มุมลาก-ไม่ได้) ส่วนครึ่งหลัง ค่อนข้างดราม่า/ สะเทือนใจอย่างแรก (แอบมีเซอร์ไพรส์เล็กๆ- ดารารับเชิญ)
Radioactive กำกับโดย Marjane Satrapi ชาวอิหร่าน-ฝรั่งเศส ผลงาน Persepolis(2007), The Voices (2014) และสำหรับ Radioactive ดัดแปลงมาจากนวนิยาย Radioactive: Marie & Pierre Curie: A Tale of Love and Fallout โดย Lauren Redniss และได้ Jack Thorne มาเขียนบท ธอร์นมีผลงานที่คุณๆรู้จักมากมายเช่น Wonder (2017), The Aeronauts (2019) เรื่องนี้-เก็บมาเล่า-แล้ว, Enola Holmes (2020) ทั้งหมดนี้ทำให้การเล่าอัตชีวะประวัติของ Curie ดูแปลกตา น่าประทับใจ และเหมือนกับภาพยนตร์อีกหลายๆเรื่อง ที่ว่าการเล่าเรื่องนั้นๆไม่จำเป็นต้องแบบเส้นตรง เรียงตาม Timeline อีกต่อไป Radioactive ก็เช่นกัน
จากการค้นพบธาตุเรเดียมและพอโลเนียมของมารีร่วมกับสามีของเธอ ส่งผลกระทบที่คาดเดาไม่ถึงอีกมากมาย อาทิ
1945 เราเห็น Enola Gay กำลังเตรียมที่จะทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา
1957 ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ซึ่งแพทย์กำลังอธิบายกับพ่อที่เป็นกังวลว่ากระบวนการใหม่ที่เรียกว่าการฉายรังสีสามารถช่วยลูกชายตัวน้อยของเขาที่เป็นมะเร็งได้
1960 ที่รัฐเนวาดา เราได้ชมการทดสอบระเบิดปรมาณุ/ ฉากนี้ทำให้นึกถึง Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal (2008)
1986 นักผจญเพลิงรุ่นเยาว์ก็ไปสู่ความตายในก้นบึ้งของเชอร์โนบิลที่ลุกเป็นไฟ
Radioactive ดีขึ้นในครึ่งหลัง อาจเป็นเพราะเหตุการณืเริ่มขยายกว้างออกไปทั่วโลก คนดูรู้สึกคล้อยตามไปกับการนำเสนอของผุ็กำกับ Satrapi และอย่างที่บอกไว้ว่ามีเซอร์ไพรส์เล็กๆด้วย
มีคำกล่าวว่า "ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมเกือบทุกชิ้นในโลก ... มนุษย์มีธรรมชาติของการทำลายล้างพอๆ กับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่."