27 มิ.ย. 2021 เวลา 16:20 • ข่าว
“รถไฟ ลาว – จีน ที่จีนสร้าง จีนใช้ จีนได้ประโยชน์ บนแผ่นดินลาว กับการยอมโดนอิทธิพลครอบงำเพื่อได้ของ”
2
โครงการรถไฟ ลาว – จีน ที่มีการเปิดเผยภาพความคืบหน้าของโครงการ และมีเพจต่างๆ ทั้งสำนักข่าวในประเทศไทย รวมทั้งเพจทั่วๆ ไป ต่างนำภาพของโครงการนี้ และภาพของตัวรถที่คาดว่าน่าจะเป็นรุ่นที่ใช้งานบนเส้นทางดังกล่าว มาปั่นกระแสกันจนกลายเป็นที่สนใจอย่างมาก ซึ่งก็คงไม่ต้องพูดให้มากความว่าข้อความดังกล่าวจะออกมาในทิศทางใด
แน่นอนว่าก็ยังมีการเขียนพาดหัว และเนื้อหาว่าโครงการนี้เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง เพียงเพราะว่าหน้าตาแหลมๆ ของหัวรถจักรเท่านั้น ทำให้คนที่ไม่มีความรู้ต่างนำความแหลมของหัวขบวนตีความไปแล้วว่า หน้าแหลม = ความเร็วสูง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วรถไฟสายนี้เป็นเพียงรถไฟความเร็วปานกลางทั่วๆ ไป เนื่องจากสามารถทำความเร็วได้เพียง 140 – 160 กม./ชม. เท่านั้น ซึ่งเป็นความเร็วเทียบเท่ากับรถไฟชานเมืองสายสีแดงในประเทศไทย ที่จะเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรีในเดือนหน้าแล้ว หรือเท่ากับอัตราการเร่งความเร็วสูงสุดของรถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน หรือแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
2
เพราะหากจะเข้าเกณฑ์การเป็นรถไฟความเร็วสูงจะต้องมีความเร็วที่ 250 กม./ชม. ขึ้นไป ซึ่งในประเทศอาเซียนมีแค่ 2 ประเทศที่จะมีรถไฟความเร็วสูงใช้งานในระยะเวลาอันใกล้นี้คือ อินโดนีเซีย 1 เส้นทางจากกรุงจาการ์ตา - เมืองบันดุง และประเทศไทย เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา (เฟส 1 ของรถไฟสายอีสานถึง จ.หนองคาย) และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา สายภาคตะวันออก ที่ทั้งสองเส้นทางอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
5
กลับมาที่โครงการรถไฟลาว - จีน เส้นทางดังกล่าวยาว 414 กิโลเมตร จากนครหลวงเวียงจันทร์ เมืองหลวงของลาว –นครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีสถานีรายทาง 11 แห่ง เจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาทั้งสิ้น 167 แห่ง ซึ่งอุโมงค์ที่ยาวที่สุดคือ ยาว 9.5 กิโลเมตร ที่เพิ่งจะเจาะสำเร็จเมื่อวันเสาร์ที่ 5 มิ.ย. นี้เอง
4
แน่นอนว่าการก่อสร้างที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นเป็นการก่อสร้างโดยประเทศจีนล้วนๆ ใช้คนงานจีน วัสดุจีน เงินกู้จีนเกือบ 100% โดยสัดส่วนคือ รัฐบาลลาวกู้ยืมเงินจากจีนเพื่อลงทุนในโครงการนี้ ซึ่งค่ารถไฟราว 60% ได้รับการสนับสนุนจากเงินกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน ส่วนที่เหลืออีก 40% มาจากบริษัทที่ร่วมลงทุน ประกอบด้วยบริษัทจีนสามแห่ง ซึ่งถือหุ้น 70% ในขณะที่รัฐวิสาหกิจของลาวมีสัดส่วนที่เหลือเพียง 30%
2
มูลค่าการลงทุนในโครงการนี้สูงถึง 6,800 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 238,000 ล้านบาท
1
รัฐบาลลาวได้จัดสรรงบประมาณของประเทศจำนวน 250 ล้านเหรียญสหรัฐ และกู้เพิ่มอีก 480 ล้านเหรียญสหรัฐจากประเทศจีน โดยกองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของลาวลดลงต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งน้อยกว่าเงินที่จะใช้ชำระหนี้ประจำปีของประเทศ
1
ส่งผลให้กระทรวงการคลังของลาวต้องขอให้จีนปรับโครงสร้างหนี้เพื่อเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งประเทศต่างๆ ถูกกดดันให้ทำสัมปทานและถูกริดรอนอธิปไตยหากผิดนัดชำระหนี้กับจีน
2
พูดตรงๆ คือ จีนสร้างใช้เงินจีน ลาวกู้จีนสร้าง ใช้เงินจีน ก็คือทุกอย่างเป็นเงินจีนขึ้นทั้งล่อง แต่ภารหนี้สินตกที่ประเทศลาวนั่นแหละ
พูดง่ายๆ คือ เงินทั้งหมดที่ผ่านโครงการนี้มาจากจีนล้วนๆ รวมทั้งผลประโยชน์ต่างๆ ในเส้นทางที่ได้รับสัมปทานก็ตกไปที่ประเทศจีน เพราะประเทศลาวมีปัญหาอย่างมากเรื่องวินัยการเงินการคลังที่ผ่านมา โดยมีตัวอย่างการผิดนัดชำระหนี้กับผู้กู้ชาวต่างชาติมาแล้ว จนต้องมีการขายหุ้นส่วนใหญ่ในกิจการสายส่งไฟฟ้าให้กับ China Southern Power Grid ประเทศจีน เพราะสภาพคล่องทางการเงินไม่มากพอ ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมากว่าลาวจะต้องทยอยขายกิจการ รวมทั้งให้สิทธิต่างชาติเข้ามาครอบครองระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจนแทบจะไม่เหลืออะไรในอนาคต
2
อีกหนึ่งข้อมูลที่เพจข่าวต่างๆ ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงคือ ราคาค่าโดยสาร ที่บอกว่าจากเวียงจันทร์ – คุนหมิง 500 กว่าบาทนั้น อันที่จริงแล้วเป็นราคาเพียงแค่ถึงสถานีบ่อเต็นซึ่งเป็นด่านชายแดนลาว ที่เป็นชุมชนคนจีนขนาดใหญ่เหมือนกัน โดยมีราคา 400 กว่าบาท หรือคิดเป็นเงินลาว 140,000 กีบ/112หยวน)
3
แต่ถ้าจะไปถึงคุนหมิงที่ ระยะทางไกลถึง 1,022 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 7-10 ชั่วโมง วิ่งด้วยความเร็ว 160/200 กม./ชม. ราคาตั๋วทั้งสายแบบไปกลับอยู่ที่ 700 หยวนหรือหรือเกือบ 3,500 บาท ซึ่งแพงกว่าสายการบินต้นทุนต่ำที่บินจากกรุงเทพฯ – คุนหมิง เสียด้วยซ้ำ
6
ราคาขนาดนี้คิดว่าจะมีคนลาวสักกี่คนที่ยอมจ่าย?
ดังนั้นเส้นทางรถไฟสายนี้ถึงสร้างเป็นทางเดี่ยวในประเทศลาว และมีความเร็วที่ลดลง เพื่อการรอสับหลีก โดยจุดประสงค์หลักๆ ก็เพื่อเป็นเส้นทางไว้สำหรับเน้นการขนส่งสินค้าจากประเทศจีนเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ส่วนการขนผู้โดยสารเป็นเพียงภารกิจรองลงมานั่นเอง
ปัญหาที่ตามมาคือลาวยังแบกรับหนี้บาน ข้อมูลของธนาคารโลกเมื่อเดือนมิถุนายน แสดงให้เห็นว่าหนี้สินของลาวเพิ่มขึ้นในปีนี้คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 68 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี จากที่เคยอยู่ที่ 59 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีก่อน
1
มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ถึงกับเตือนไว้เมื่อเดือนสิงหาคมถัดมาว่า “อาจเป็นไปได้ที่ลาวจะพักชำระหนี้” ในระยะเวลาอันสั้น
พันธะหนี้ของลาวที่กำหนดต้องชำระในปีนี้อยู่ที่ 1,200 ล้านดอลลาร์ ในเดือนกันยายนและตุลาคมนี้
หนี้ส่วนใหญ่มาจากจีน ตัวเลขของซินหัวระบุว่า จีนลงทุนในลาวทั้งในด้านพลังงาน คมนาคมและโครงการอื่นๆ รวมแล้วเกินกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ มากกว่าอันดับ 2 คือไทย อยู่กว่าเท่าตัว
ในขณะที่แบงก์ชาติที่เวียงจันทน์บอกเมื่อเดือนมิถุนายนว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของลาวมีอยู่เพียง 864 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
ซึ่งภาพของรถไฟทันสมัยที่วิ่งผ่านประเทศลาว จะมีคนลาวสักกี่มากน้อยที่ได้ประโยชน์จากมันจริงๆ แต่ที่แน่ๆ การแบกรับภาระหนี้สินมหาศาลคนลาวต้องแบกกันถ้วนหน้า ยิ่งเป็นหนี้ต่างประเทศด้วยแล้วยิ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะเงินกีบของลาวแทบจะด้อยค่าอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินหยวนของจีน และมีความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องอีก
1
ดังนั้นก็ลองคิดดูแล้วกันว่า ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศลาว เกิดกับประเทศไทย จะยังมีคนอยากได้แบบลาวอยู่หรือไม่
เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ได้เองทั้งรถไฟฟ้า รถไฟ และรถไฟความเร็วสูง โดยใช้เงินภายในประเทศทั้งหมดในการสร้าง ที่แม้ว่าอาจจะช้าเพราะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ระบบงานโยธาจากประเทศที่เป็นต้นตำรับ และนำมาสร้างเองเหมือนที่ตอนนี้ผู้รับเหมาของไทยสามารถก่อสร้างทางรถไฟฟ้า เจาะอุโมงค์รถไฟใต้ดินได้โดยไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติ แถมยังออกไปรับงานก่อสร้างในต่างประเทศได้แล้วในหลายๆ ประเทศ
4
เช่นเดียวกับที่รถไฟความเร็วสูงกำลังก่อสร้างที่ยอมรับว่ามีความล่าช้าจริง เพราะผู้รับเหมาไทยต้องเรียนรู้เทคโนโลยีการก่อสร้างนี้ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่พอเรียนรู้จนเข้าใจแล้ว เดี๋ยวเครื่องก็ติด ทีนี้สร้างเองได้ทั้งหมด ซื้อเพียงแค่เทคโนโลยีและตัวรถเข้ามาวิ่งเท่านั้นเอง
2
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา