28 มิ.ย. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
ข้อมูลวัคซีน​ Moderna จากรายงาน SAGE ของ WHO
4
SAGE หรือ Strategic Advisory Group of Experts เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันโรค ที่ทำงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้วัคซีนต่างๆ
1
Moderna หรือ mRNA-1273 ได้รับการรับรองจาก WHO ให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2021 ขณะที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา รับรองให้ใช้ภายในประเทศตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2020
1
SAGE ได้พิจารณาการศึกษาของ Moderna ครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2021 ก่อนจะมีการอัพเดทเพิ่มเติม ครั้งล่าสุดเป็นฉบับวันที่ 15 มิถุนายน 2021 ส่วนในเว็บไซต์ของ WHO ได้มีการอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน Moderna ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2021 ซึ่งได้นำมารวบรวมไว้ในบทความนี้แล้ว
3
who.int
[ 1 ]
การศึกษาเฟส 3 วัคซีน Moderna มี % efficacy อยู่ที่ 94.1% ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด (ยืนยันการติดเชื้อจากห้องแล็บได้ผลบวก) จากการติดตามผลเมื่อฉีดครบโดสอย่างน้อยสองเดือน ในกลุ่มตัวอย่างทุกช่วงอายุ (มากกว่า 18 ปี) ไม่แตกต่างกันในเพศหญิงและชาย ความเสี่ยงจากการอาการข้างเคียงน้อยกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากวัคซีน
2
ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ
[ 2 ]
2
💉 ข้อแนะนำการใช้
- ในกลุ่มบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป
2
- ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน (อาจเว้นห่างได้ถึง 42 วัน) ถ้ามีเหตุให้ฉีดล่าช้ากว่ากำหนด ให้รีบฉีดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และยังไม่มีคำแนะนำให้ฉีดเข็มที่ 3
3
💉 คำแนะนำหากวัคซีนขาดแคลน
เนื่องจากมีการศึกษาว่าวัคซีนจะมี % efficacy อยู่ที่ 91.9% หลังจากฉีดเข็มแรก 14 วัน และจะยังคงอยู่ระดับนี้จนถึงวันที่ 28 จึงดูเหมือนว่าการฉีด Moderna แค่เข็มเดียวก็สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มาก จนเมื่อได้รับเข็มสอง ก็จะยิ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นกว่าเดิม
7
ดังนั้นสำหรับประเทศที่มีปัญหาขาดแคลนวัคซีนและต้องการฉีดปูพรมเข็มเดียว อาจเลื่อนเวลาการฉีดเข็มสองไปได้ถึง 12 สัปดาห์ เพราะมีการศึกษาในบางประเทศรายงานว่าระดับภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นหลังฉีดเข็มแรก จะยังคงที่ไปอย่างน้อย 10 สัปดาห์หลังฉีด
แต่ก็ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับความร้ายแรงของสถานการณ์ระบาดภายในประเทศ เพราะถึงอย่างไรการฉีดวัคซีนให้ครบโดส 2 เข็ม ก็ยังมีประสิทธิภาพดีกว่าฉีดแค่เข็มเดียว
5
💉 เข็มกระตุ้น
ยังไม่มีคำแนะนำให้ฉีดเข็มที่ 3 เพิ่ม หากฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว มีการศึกษารายงานว่าระดับภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นจะมีระดับคงที่ไปอย่างน้อย 6 เดือน
2
💉 ฉีดสลับยี่ห้อได้หรือไม่?
2
การฉีดวัคซีน Moderna สลับกับวัคซีนยี่ห้ออื่นยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเก็บข้อมูล ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดยี่ห้อเดิมไปก่อน แต่หากมีเหตุจำเป็นให้ต้องสลับยี่ห้อ เช่น เกิดอาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) และวัคซีนยี่ห้ออื่นต้องฉีดสองเข็มถึงจะครบโดส ให้ฉีดเพิ่มแค่เข็มเดียว ไม่แนะนำให้ฉีดใหม่ทั้งสองเข็ม โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 14 วัน
6
💉 ข้อควรระวัง
1
- มีรายงานอาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) หลังฉีดวัคซีน ดังนั้นจึงควรฉีดภายใต้การดูแลของแพทย์ และควรนั่งสังเกตอาการหลังฉีดอย่างน้อย 30 นาที เมื่อเกิดปัญหาจะได้ช่วยแก้ไขทัน
2
- อาจมีอาการแพ้อื่นๆภายใน 4 ชั่วโมงหลังฉีด ที่ไม่ใช่อาการแพ้รุนแรง เช่น ผื่นลมพิษ, อาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง, อาการทางระบบหายใจโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไอ, หายใจมีเสียงหวีด, หายใจเสียงดังผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์
7
- มีรายงานการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในวัยรุ่นเพศชาย แต่พบเป็นอัตราส่วนน้อย และยังอยู่ในระหว่างสืบสวนหาความเกี่ยวข้อง
2
- อาการข้างเคียงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ปวด/บวม/แดง บริเวณที่ฉีด, ปวดหัว, เป็นไข้, คลื่นไส้, หนาวสั่น, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, อ่อนเพลีย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่ร่างกายกำลังสร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อโรค ควรหายดีเป็นปกติภายใน 2-3 วัน หากเป็นนานกว่านั้นให้พบแพทย์
- หากมีไข้สูงเฉียบพลัน (อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) ก่อนฉีด ให้รอจนกว่าไข้จะหาย ถึงค่อยฉีดวัคซีน
2
- ผู้ที่เคยมีประวัติการแพ้วัคซีนชนิดอื่น ไม่ควรฉีด mRNA วัคซีน
2
[ 3 ]
2
การฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรต่างๆ:
2
▪️ ผู้สูงอายุ
1
ผู้สูงอายุถือเป็นบุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด ดังนั้นจึงควรเป็นบุคคลกลุ่มแรกๆที่ได้รับการฉีดวัคซีน
จากการทดลองเฟส 3 พบว่าวัคซีน Moderna มี % efficacy และ ความปลอดภัยในกลุ่มตัวอย่างทุกระดับอายุใกล้เคียงกัน (ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป) และไม่มีการจำกัดอายุสูงสุดสำหรับผู้สูงอายุ
2
จากการฉีดจริง พบว่าวัคซีนมี % effectiveness สูง สามารถลดการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในกลุ่มผู้สูงอายุ
1
▪️ ผู้ที่มีโรคประจำตัว
จากการทดลองเฟส 3 พบว่าวัคซีนมี % efficacy และ ความปลอดภัยในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆใกล้เคียงกัน
2
โรคประจำตัวที่พบในกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคตับ และ โรคเอดส์
▪️ ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 3 หากเกิดการติดเชื้อจะมีความเสี่ยงที่ทำให้อาการหนักมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ อาจทำให้ต้องคลอดก่อนกำหนด ทารกที่ออกมาต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปี/ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน/ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน, ความดัน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงหากติดเชื้อ
6
จากการศึกษาของ Completed developmental and reproductive toxicology (DART) ในสัตว์ทดลอง พบว่าวัคซีนไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ตั้งครรภ์
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาผลของวัคซีนในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ แต่ข้อมูลจากการฉีดจริง ยังไม่มีรายงานผลกระทบที่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงตั้งครรภ์กับผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ในช่วงอายุใกล้เคียงกัน
3
แต่มีการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อย รายงานว่า ระดับภูมิคุ้มกันของมารดาที่ได้จากการฉีดวัคซีน สามารถส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ทางสายสะดือ และ ส่งผ่านไปยังทารกแรกเกิดได้ทางน้ำนม ซึ่งคาดว่าจะทำให้ทารกมีภูมิคุ้มกันต่อโควิดเหมือนมารดา ซึ่งยังต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป
1
WHO แนะนำว่าให้ประเมินผลด้วยตัวเอง ว่าถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ ถ้าพบว่าการฉีดวัคซีนจะเป็นผลดีมากกว่าเสี่ยงติดเชื้อก็แนะนำให้ฉีด
1
▪️ ผู้ที่กำลังให้นมบุตร
เช่นเดียวกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ คือ ยังไม่มีการศึกษาผลของวัคซีนในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงให้นมบุตรโดยเฉพาะ แต่คาดว่าประสิทธิภาพของวัคซีนต่อผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร ไม่แตกต่างกับผู้หญิงที่ไม่ได้ให้นมบุตร ในช่วงอายุใกล้เคียงกัน
1
อย่างไรก็ตาม mRNA วัคซีน ไม่ใช่ไวรัส, ไม่สามารถเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ และยังสลายหายไปโดยง่าย ดังนั้นจึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อเด็กที่ดื่มนมมารดา จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนหากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่า และ ไม่แนะนำให้หยุดให้นมบุตรหลังฉีดวัคซีน
4
▪️ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดแล้ว
สามารถฉีดวัคซีนได้ทั้งผู้ที่ติดเชื้อแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการ การตรวจหา Serology เพื่อบอกว่ายังมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อเหลืออยู่หรือไม่ ไม่แนะนำให้ทำเพียงเพื่อตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนหรือเปล่า
1
จากการศึกษาพบว่าการฉีดวัคซีนมีความปลอดภัยในกลุ่มตัวอย่างที่มีประวัติติดเชื้อโควิดมาแล้ว เพียงแต่หลังติดเชื้อภายใน 6 เดือน มักไม่พบการติดเชื้อแบบแสดงอาการอีกครั้ง บวกกับปัญหาขาดแคลนวัคซีน จึงแนะนำให้ผู้ที่เคยตรวจเจอผลบวกต่อเชื้อโควิด สามารถรอนานกว่า 6 เดือนหลังรักษาหาย แล้วค่อยฉีดวัคซีนได้
5
ยกเว้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ระบาดที่เชื้อมีการกลายพันธุ์ (โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน) อาจมีโอกาสติดเชื้อซ้ำแบบแสดงอาการภายใน 6 เดือนได้ จึงสามารถพิจารณาลดเวลาการฉีดวัคซีน หลังการติดเชื้อให้สั้นลง
1
[ 4 ]
🦠 Moderna กับเชื้อกลายพันธุ์
ข้อมูลการศึกษาเบื้องต้น พบว่าเชื้อกลายพันธุ์ที่ทำให้ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้หลังจากฉีดวัคซีน (NAb) ลดลง คือ สายพันธุ์เบต้า (B.1.135 หรือ สายพันธุ์แอฟริกา)
5
ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ เช่น สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2), สายพันธุ์แอลฟ่า (B.1.1.7), สายพันธุ์แกมม่า (P.1) และ สายพันธุ์เอปซีลอน (B.1.429) พบว่าทำให้ระดับ NAb ลดลงแบบไม่มีนัยสำคัญ คือ วัคซีนยังมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะช่วยป้องกันได้
🔺 ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ​ (Myocarditis) จากการฉีด​ mRNA vaccines อย่าง​ Pfizer/Moderna อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ค่ะ​ >>
ขณะนี้มีการเปิดให้จองฉีดวัคซีน Moderna จึงนำข้อมูลเหล่านี้มานำเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจค่ะ ถึงอย่างไรก็ตาม การเลือกฉีด/ไม่ฉีด วัคซีนก็เป็นการตัดสินใจส่วนบุคคล ไม่ควรก้าวก่ายกัน เพราะวัคซีนทุกยี่ห้อ WHO อนุมัติให้ใช้ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสิ้น จึงยังต้องมีการเก็บข้อมูลหลังการฉีดจริงให้กับประชากรจำนวนมากไปอีกหลายปี
วัคซีนทุกยี่ห้อ ล้วนมีผลข้างเคียงมากน้อยแตกต่างกัน จึงควรตัดสินใจร่วมกับประสิทธิภาพที่จะได้รับหลังฉีด ว่ากระตุ้นภูมิค้มกันได้มาก/น้อยอย่างไร หากต้องแบกรับความเสี่ยงจากอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
4
stay safe 💐
References >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา