28 มิ.ย. 2021 เวลา 09:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
“คอนกรีตมีชีวิต” ซ่อมแซมตัวเองได้ตลอดเวลา
วันที่ 19 มกราคม 2020 สำนักข่าว ScienceAlert รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ (University of Colorado Boulder)
สามารถสร้าง “คอนกรีตมีชีวิต” ซึ่งเต็มไปด้วยแบคทีเรียสังเคราะห์แสงที่สามารถเติบโตและงอกใหม่ได้เองราวกับเป็นสิ่งมีชีวิต สำเร็จแล้ว
1
คอนกรีตมีชีวิตเป็นการผสมกันของเจลาติน, ทราย และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ที่เย็นตัวแล้วเหมือนเยลลี่ โดยโครงสร้างของมันสามารถสร้างตัวเองขึ้นใหม่ได้ 3 ครั้งหลังจากที่นักวิจัยจงใจตัดมันออกไป
1
ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมวัสดุ ที่สามารถวางตัวกันอย่างเป็นระเบียบได้ด้วยตนเอง (self-assembling)
นอกจากนี้ DARPA ยังให้ความสนใจเป็นพิเศษกับวัสดุที่สามารถวางตัวกันอย่างเป็นระเบียบได้ด้วยตนเอง
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างในพื้นที่ทะเลทรายอันห่างไกล หรือแม้แต่ในอวกาศ ถ้าคอนกรีตมีชีวิตสามารถถูกพัฒนาไปสู่จุดนั้นได้ เราก็จะสามารถลดปริมาณและน้ำหนักของวัสดุที่องค์การอวกาศต่าง ๆ จะต้องบรรทุกขึ้นไปบนจรวดอวกาศได้เป็นมาก
1
โฆษณา