และสุดท้ายคือการเขียน การเขียนก็มีหลายอย่าง แค่เราจะตีวงให้แคบลงเป็นการเขียนแบบจดบันทึกสั้น หรือการเขียนเรียงความ
การเขียนแบบจดบันทึกก็จะไม่คำนึงถึงไวยากรณ์มากนัก เพราะผู้เขียนไม่ได้ต้องการให้ใครมาอ่าน ต่างจากการเขียนเรียงความที่ผู้เขียนต้องเขียนเพื่อสื่อสารกับคนอ่าน เช่น เขียนจดหมาย เขียนรายงาน บันทึกการประชุม สรุปงานเขียนต่างๆ ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องของไวยากรณ์ในการเขียนที่เป็นทางการ เช่น เขียนรูปโครงสร้างประโยค กาาใช้ Tenses กาล สำหรับช่วงเวลาที่ถูกต้อง การใช้คำสรรพนามเพื่อแทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เพื่อจะหลีกเลี่ยงการใช้คำนั้นซ้ำหลายๆครั้ง เช่นการเขียนเกี่ยวกับเรือบรรทุกสินค้า ฝรั่งจะใช้คำที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ความหมายเหมือนเดิม ตัวอย่าง Sea containers > Ships > Sealiners > Vessel โดยใช้คำพวกนี้สลับกันไปตลอดบทความ ซึ่งในภาษาไทยเราก็อาจจะใช้คำ เรื่องเดินทะเล เรือสินค้า ฯลฯ
รวมทั้งผู้จะเรียนจะต้องหมั่นฝึกคัดลอกคำนิยามที่ให้ความหมายจากคำที่เราหา เช่น เปิดดิกชันนารี Merriam Webster เพื่อหาคำว่า dog หรือ vaccine เราก็ต้องเขียนคัดลอกคำนิยามหรือคำอธิบายที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่ว่าเราจะได้เรียนรู้คำต่างๆต่อไปได้อีก เช่น คำ dog จะเจอคำ wild (สัตว์ป่า) และ domestic (สัตว์เลี้ยงในบ้าน)
ส่วนการฝึกภาษาแบบเริ่มต้นเรียน ก็พยายามแปลเลยทันที เช่น dog แปลว่า สุนัข หรือ หมา โดยไม่เคยดูหรืออ่านคำอธิบายคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ จึงไม่ใช่การฝึกภาษา แต่เป็นการข้ามขั้นไปสู่เรื่องการแปล ซึ่งทำให้ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ภาษา(อังกฤษ)ของคนไทยต้องสะดุดและไปต่อได้ยากขึ้น