28 มิ.ย. 2021 เวลา 15:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เตรียมต้อนรับการมาเยือนของดาวเคราะห์แคระผู้เร่รอนมาจากชายขอบของระบบสุริยะ!!
ซึ่งโอกาสนี้ไม่ได้มีให้ชมกันได้ง่าย ๆ เพราะถ้าพลาดก็เจอกันอีกทีก็อีก 6 แสนปีข้างหน้า
2
ภาพจำลองโดยศิลปินของดาวเคราะห์แคระอีริสและดวงจันทร์ของมัน
ห่างไกลออกไปที่ชายขอบของระบบสุริยะ กับดินแดนที่เรียกว่า Oort cloud นั้น ยังคงมีเทหะวัตถุเก่าแก่จากอดีตกาลยังล่องลอยอยู่
บางชิ้นก็จะโคจรกลับเข้ามาหาดวงอาทิตย์อยู่เนือง ๆ อย่างเช่นพวก ดาวหาง และขณะนี้เราก็กำลังได้พบกับการมาเยือนของดาวเคราะห์แคระที่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนานกว่า 612,190 แสนปี
1
Oort cloud นั้นเป็นทรงกลมที่ห่างไกลออกไปกว่า 100,000 AU
ดาวเคราะห์แคระดวงนี้ถูกค้นพบจากฐานข้อมูลการสำรวจหาสสารมืดระหว่างปี 2014 ถึง 2018 จึงเป็นที่มาของชื่อ 2014 UN271
1
2014 UN271 มีขนาดก้ำกึ่งระหว่างการเป็นดาวหางขนาดยักษ์กับการเป็นดาวเคราะห์แคระ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ประมาณ 100 ถึง 370 กิโลเมตร
ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลไปว่าดาวเคราะห์แคระนี้จะพุ่งมาชนโลกนะครับ เพราะว่ามันจะโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากสุดที่ระยะ 10.9 AU ซึ่งอยู่ระหว่างแนวโครจรของดาวเสาร์กับดาวยูเรนัสก่อนที่จะวกกลับออกไปยังชายขอบสุริยะอีกครั้ง
(1AU=ระยะห่างเฉลี่ยของโลกและดวงอาทิตย์ซึ่งมีค่าประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร)
เส้นทางโคจรของ 2014 UN271
สำหรับเจ้า 2014 UN271 นี้มีวงโคจรที่เป็นวงรีอย่างมาก โดยมันจะโคจรออกห่างจากดวงอาทิตย์ได้ไกลถึง 60,000 AU หรือ 60,000 เท่าของระยะห่างของโลกกับดวงอาทิตญ์ และใช้เวลาโคจรครบรอบยาวนานกว่า 612,190 ปี
1
ถ้าเราอยู่บนดาว 2014 UN271 ในตอนที่มันโคจรห่างไกลจากโลกมากที่สุด เราก็คงจะเห็นดวงทิตย์ที่ดูไม่ต่างจากดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ที่สองแสงระยิบระยับบนท้องฟ้ายามค่ำคืน
1
ซึ่งขณะนี้เจ้า 2014 UN271 นั้นอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 22 AU ใกล้กับดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนแล้ว และจะเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในปี 2031
2
ด้วยระยะห่างจากโลกและขนาดของมัน เราคงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่บนท้องฟ้าตอนนี้เพื่อสมาชิกของระบบสุริยะที่เดินทางยาวนานกว่า 3 แสนปีจากชายขอบของระบบสุริยะได้มาเยี่ยมเยือนพวกเราแล้ว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา