30 มิ.ย. 2021 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
《ชื่อเมืองในจีนและที่มา(中台省称来历)》
เป็นที่ทราบกันดีว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือประเทศจีน(中华人民共和国、中国)เป็นประเทศที่มีเนื้อที่ประมาณ 9.6 ล้านตร.กม. ซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดา
.
แล้วเราเคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าชื่อเรียกของแต่ละมณฑลในจีนนั้นมีที่มาจากอะไรหรือมีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร......โพสต์นี้มีคำตอบฮะ
แผนที่ประเทศจีน|中国地图
ประเทศจีนมีทั้งหมด 7 ภูมิภาคและแบ่งระบบการปกครองแบบไล่จากใหญ่สุดไปเล็กสุดคือ
·เขตปกครองของจีนมีทั้งหมด 34 เขต(34省级行政区)
·23 มณฑล(23省)
·5 เขตปกครองตนเอง(5自治区)
·4 มหานครขึ้นตรงรัฐบาล(4直辖市)
·2 เขตบริหารพิเศษ(2特别行政区)
2
ภาคอีสาน|东北
มณฑลเฮย์หลงเจียง “แม่น้ำนิลมังกร”(黑龙江)
.
·เมืองเอก(省会):ฮาร์บิน(哈尔滨)
·ฉายา(别名):เหนือสุดแดนมังกร(中国最北)
·อักษรย่อ(简称):เฮย์(黑);มีที่มาจากชื่อแม่น้ำเฮย์หลงเจียง(黑龙江)
.
ค.ศ.1671|เฮย์หลงเจียงถูกก่อตั้งโดยรัฐบาลราชวงศ์ชิง(清政府)ซึ่งในขณะจักรวรรดิรัสเซียได้แผ่อิทธิพลมายังจีน ทำให้รัฐบาลจีนก่อตั้งเมืองและกองกำลังขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานโดยใช้แม่น้ำเฮย์หลง(黑龙江)เป็นเส้นแบ่งพรมแดน
มณฑลจี๋หลิน “ป่าไม้มงคล”(吉林)
.
·เมืองเอก(省会):ฉางชุน(长春)
·ฉายา(别名):เมืองแห่งยานยนต์
·อักษรย่อ(简称):จี๋(吉)
.
ค.ศ.1673|เมืองจี๋หลินถูกก่อตั้งขึ้น โดยชื่อเมืองมาจากคำว่า “กีรินอูลา(吉林乌拉)” ในภาษาแมนจู(满语)ซึ่งมีความหมายว่า “เมืองริมแม่น้ำซงฮวา【沿松花江诚】”
มณฑลเหลียวหนิง “สันติภาพจากแดนไกล”(辽宁)
.
·เมืองเอก(省会):เสิ่นหยาง(沈阳)
·ฉายา(别名):ถิ่นเกิดเผ่าแมนจู(满族发源地)
·อักษรย่อ(简称):เหลียว(辽);มีที่มาจากชื่อของแม่เหลียว(辽河)
.
ราชวงศ์ชิง|พื้นที่บริเวณนี้เป็นถิ่นกำเนิดของชนเผ่าแมนจู(满族)หลังการยึดภาคเหนือของจีนก็ได้ตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า "มณฑลเฟิ่งเทียน(奉天省)" ซึ่งมีความหมายว่า "ด้วยโองการแห่งสวรรค์ ฮ่องเต้จึงมีพระบัญชา...【成语—奉天承运,皇帝诏曰…】
"
.
ค.ศ.1929|ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลเหลียวหนิง
ภาคเหนือ|华北
เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน(内蒙古自治区)
.
·เมืองเอก(省会):ฮูฮอต(呼和浩特)
·ฉายา(别名):ชนเผ่าแห่งทุ่งหญ้า(草原民族)
·อักษรย่อ(简称):เหมิง(蒙)
.
ค.ศ.1206|เดิมทีเป็นพื้นที่ทุ่งหญ้าของชนเผ่ามองโกล แต่หลังจากที่เจงกิสข่าน(成吉思汗)ได้ผนวกดินแดนมองโกเลียและเผ่าเร่ร่อนอื่นๆ ได้ก็สถาปนาจักรวรรดิมองโกล(蒙古帝国)
.
ราชวงศ์หมิง|ได้ขับไล่พวกมองโกลไปจนถึงชายแดนภาคเหนือแล้วแบ่งดินแดนเป็นมองโกเลียนอก-ใน(内外蒙古)
มณฑลซานซี “ภูผาฝั่งประจิม”(山西)
.
·เมืองเอก(省会):ไท่หยวน(太原)
·ฉายา(别名):ทะเลถ่านหิน(煤海)
·อักษรย่อ(简称):จิ้น(晋);มีที่มาจากบริเวณนี้เป็นพื้นที่ของแคว้นจิ้นในยุคชุนชิว(春秋晋国)
.
ยุคจ้านกั๋ว-ราชวงศ์ฮั่น|เรียกบริเวณฝั่งตะวันตกของภูเขาเซียวซาน(崤山)และด่านหานกู่(函谷关)ว่า "ซานซี"
มณฑลเหอเป่ย์ “แม่น้ำฝั่งอุดร”(河北)
.
·เมืองเอก(省会):สือเจียจวง(石家庄)
·ฉายา(别名):ด่านแรกในใต้หล้า(天下第一关)
·อักษรย่อ(简称):จี้(冀);มีที่มาจากต้าอวี่แห่งราชวงศ์เซี่ย(夏朝大禹)แบ่งแผ่นดินออกเป็น 9 มณฑลโบราณ(禹贡九州)
.
ยุคจ้านกั๋ว|เรียกดินแดนทางเหนือของรัฐฉี(齐国)ซึ่งเป็นบริเวณทางน้ำของแม่น้ำฮวงโห(黄河)ว่า “เหอเป่ย์(河北)”
มหานครปักกิ่ง “พระนครเหนือ”(北京)
.
·เมืองเอก(省会):กรุงปักกิ่ง(北京)
·ฉายา(别名):เมืองหลวงสองราชวงศ์(明清首都)
·อักษรย่อ(简称):จิง(京)
.
ราชวงศ์หยวน|สร้างเมืองหลวงทับพื้นที่ปักกิ่งในปัจจุบันและตั้งชื่อว่า "ต้าตู(大都)"
.
ราชวงศ์หมิง|จักรพรรดิหย่งเล่อ(明成祖)ได้มาสร้างเมืองหลวงแห่งที่สองบริเวณพื้นที่เมืองต้าตูแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "เปย่์ผิง(北平)"
.
ค.ศ.1949|สาธารณรัฐประชาชนจีน(中华人民共和国)ได้ถูกก่อตั้งขึ้นแลัเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงเป็น "ปักกิ่ง(北京)" นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 4 มหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล(直辖市)
มหานครเทียนสิน "เมืองท่าแห่งโอรสสวรรค์"(天津)
.
·เมืองเอก(省会):เทียนจิน(天津)
·ฉายา(别名): นครสองวัฒนธรรม(中欧文化之城)
·อักษรย่อ(简称):จิน(津)
.
ราชวงศ์หมิง|จักรพรรดิหมิงหย่งเล่อ(明成祖)ได้สร้างเมืองท่าใกล้ๆ บริเวณเมืองปักกิ่งเพื่อทำการค้าขายและการป้องกันการรุกรานทางทะเล โดยตั้งชื่อว่า "เทียนจินเว่ย์(天津卫)" มีความหมายว่าองครักษ์พิทักษ์โอรสสวรรค์
.
ค.ศ.1949|หลังการสถาปนาประเทศจีน รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เทียนจิน" และจัดเป็นมหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล(直辖市)
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ|西北
เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ “พรมแดนใหม่”(新疆维吾尔自治区)
.
·เมืองเอก(省会):อุรุมชี(乌鲁木齐)
·ฉายา(别名):มณฑลที่มีพื้นที่กว้างที่สุด(面积最大的省)
·อักษรย่อ(简称):ซิน(新)
.
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก|ก่อตั้งรัฐกันชนทางฝั่งตะวันตกของประเทศ
.
ราชวงศ์ชิง|หลังปราบปรามกลุ่มกบฏซุงการ์(准噶尔)ได้แล้วก็ก่อตั้งมณฑลซินเจียง
.
ค.ศ.1955|ซินเจียงกลายเป็นเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
มณฑลชิงไห่ “ทะเลสีคราม”(青海)
.
·เมืองเอก(省会):ซีหนิง(西宁)
·ฉายา(别名):ทะเลสาบชิงไห่เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดของจีน(青海湖是中国最大的湖泊咸水湖)
·อักษรย่อ(简称):ชิง(青);มีที่มาจากทะเลสาบชิงไห่
.
ต้นศตวรรษที่5|บริเวณนี้ถูกเรียกว่าซีไห่(西海)
.
ราชวงศ์ถัง|เปลี่ยนชื่อเป็นชิงไห่(青海)ตามชื่อของทะเลสาบ
มณฑลกันซู่ “เมืองแห่งการเคารพนับถือ”(甘肃)
.
·เมืองเอก(省会):หลันโจว(兰州)
·ฉายา(别名):โอเอซิสแห่งทะเลทรายโกบี(戈壁绿洲)
·อักษรย่อ(简称):กัน(甘);มีที่จากเขตกันซู่อยู่ภายใต้การดูแลของเมืองกันโจว(甘州)|หล่ง(陇);มีที่มาจากระหว่างมณฑลกันซู่และส่านซีมีภูเขาหล่วงซาน(陇山)กั้นอยู่
.
ราชวงศ์ซีเซี่ย|ก่อตั้งเขตกันซู่ไว้สำหรับสร้างกองทัพ ซึ่งดูอยู่ภายใต้การดูแลของเมืองกันโจว(甘州;今张掖县)และเมืองซู่โจว(肃州;今酒泉)และได้นำชื่อทั้ง 2 เมืองมาตั้งเป็นชื่อเขต
เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย “สันติสุขแห่งคิมหันตฤดู”(宁夏回族自治区)
.
·เมืองเอก(省会):อิ๋นชวน(银川)
·ฉายา(别名):พื้นที่ต้นกำเนิดของเผ่าหุย(回族发源地)
·อักษรย่อ(简称):หนิง(宁)
.
ศตวรรษที่ 5 |ปฐมกษัตริย์เฮ่อเหลียนปั๋วปั๋วแห่งเผ่าซยงหนู(匈奴赫连勃勃王)คิดว่าตนเองสืบสกุลจากเซี่ยโฮ่วสื้อ(夏后氏)แล้วสถาปนาอาณาจักรเซี่ย(夏)
.
ราชวงศ์ซ่ง|หลี่หยวนฮ่าวแห่งเผ่าาทั่วป๋า(拓跋氏夏景宗李元昊)ได้ประกาศตนเป็นกษัตริย์ แล้วตั้งเมืองหลวงที่ซิ่งชิ่ง(兴庆)และสถาปนาราชวงศ์ซีเซี่ย(西夏王朝)อย่างเป็นทางการ
.
ศตวรรษที่ 13|หลังการล่มสลายของอาณาจักรซีเซี่ย พื้นที่บริเวณนี้ก็ถูกเรียกว่า “หนิงเซี่ย(宁夏)”
มณฑลส่านซี “จอมโจรแห่งเขาตะวันตก”(陕西)
.
·เมืองเอก(省会):ซีอาน(西安)
·ฉายา(别名):นครโบราณพันปี(千年古都)
·อักษรย่อ(简称):ส่าน(陕)|ฉิน(秦);มีที่มาจากบริเวณนี้เป็นพื้นที่ของแคว้นฉินในสมัยชุนชิว(春秋秦国)
.
ราชวงศ์โจว|ส่านซีถือกำเนิดขึ้นในสมัยนี้ แต่ขณะนั้นส่านซีเป็นเพียงชื่อที่ราบสูงส่านหยวน(陕塬)ซึ่งอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของที่ราบจิงเว่ย์(泾渭平原)
.
ยุคชุนชิว|พื้นที่บริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งแคว้นฉิน
.
ราชวงศ์ถัง|หลังการเกิดของกลุ่มกบฏอันสื่อ(安史之乱)ทำให้ส่านซีถูกยกระดับเป็นเมือง
ภาคตะวันตกเฉียงใต้|西南
เขตปกครองตนเองทิเบต “พุทธะแห่งประจิมทิศ”(西藏自治区)
.
·เมืองเอก(省会):กรุงลาซา(拉萨)
·ฉายา(别名):เมืองแห่งแสงตะวัน(日光城)
·อักษรย่อ(简称):ฉาง(藏);มาจากภาษาทิเบต
.
ราชวงศ์หยวน|พื้นที่บริเวณนี้เรียกตามภาษาทิเบตคือ "อูซัง(乌思藏)" ซึ่งมีความหมายว่าศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์
.
ราชวงศ์ชิง|แบ่งการปกครองบริเวณอูซังออกเป็นสามทิศคือ ทิศตะวันออกเรียกว่า “คัง(康、喀木)”, ตรงกลางเรียกว่า “เว่ย์(卫)” และทิศตะวันตกเรียกว่า “จ้าง(藏)” ดังนั้นภาคตะวันตกของจีนจึงเรียกว่าซีจ้าง (ทิเบต)
มณฑลเสฉวน “เมืองสี่แควแดนมังกร”(四川)
.
·เมืองเอก(省会):เฉิงตู(成都)
·ฉายา(别名):นครแห่งสุขาดี บุรีแห่งโอชารส(天府之国,美食之都)
·อักษรย่อ(简称):ชวน(川)|สู่(蜀);มีที่มาจากอาณาจักรจ๊กก๊กของเล่าปี่(蜀汉刘备)
.
ยุคสามก๊ก|บริเวณนี้กลายเป็นอาณาจักรจ๊กก๊ก(蜀国)มีเสฉวนเป็นเมืองเอกและเฉิงตูเป็นเมืองรอง
.
ราชวงศ์ซ่ง|มีการสร้างถนนออกเป็น 4 สายย่อยซึ่งเรียกรวมกันว่า “ถนนเสฉวน(四川路)”
.
ราชวงศ์หยวน|รวมถนนทั้ง 4 แล้วตั้งเป็นรัฐเสฉวน ภายหลังก็เลื่อนขั้นเป็นมณฑลเสฉวน
มหานครฉงชิ่ง “เมืองแห่งการฉลองสองครา”(重庆)
.
·เมืองเอก(省会):ฉงชิ่ง(重庆)
·ฉายา(别名):เมืองแห่งหมาล่า(麻辣之城)
·อักษรย่อ(简称):หยวี(渝);มีที่มาจากชื่อแม่น้ำเจียหลิง(嘉陵江)
.
ยุคโบราณ|พื้นที่นี้ถูกเรียกว่า "ปา(巴)"
.
ราชวงศ์สุย|ก่อตั้งเมืองหยวีโจว(渝州)
.
ราชวงศ์ซ่งใต้|จักรพรรดิซ่งกวางจง(宋光宗)ได้รับการแต่งตั้งเป็นฮ่องเต้องค์ต่อมา หลังการขึ้นครองบัลลังก์ก็เปลี่ยนชื่อเมืองและยกระดับดับเป็นรัฐฉงชิ่ง
.
ค.ศ.1997|ฉงชิ่งกลายเป็นมหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล(直辖市)
มณฑลกุ้ยโจว “เมืองแห่งความสง่างาม”(贵州)
.
·เมืองเอก(省会):กุ้ยหยาง(贵阳)
·ฉายา(别名):เหมาไถ ยอดสุราประจำชาติ(国酒茅台酒)
·อักษรย่อ(简称):กุ้ย(贵);มีที่มาจากชื่อภูเขากุ้ยซาน(贵山)|เฉียน(黔);มีที่มาจากชื่อแม่น้ำและภูเขาเฉียนหลิง(黔灵山、黔灵河)
.
ก่อนราชวงศ์ซ่ง|บริเวณนี้ถูกเรียกว่า “จวี่โจว(矩州)” แต่เนื่องจากสำเนียงท้องถิ่นโบราณบริเวณนี้ไม่สามารถแยกระหว่างคำว่า “กุ้ย(贵)” และ “จวี่(矩)” ออกได้ ดังนั้นจึงเรียกชื่อว่า “กุ้ยโจว(贵州)”
มณฑลหยวินหนาน “เมฆาแห่งทักษิณทิศ”(云南)
.
·เมืองเอก(省会):คุนหมิง(昆明)
·ฉายา(别名):ประตูหรดีแห่งแดนมังกร(中国西门户)
·อักษรย่อ(简称):หยวิน(云)|เตียน(滇);มีที่มาจากอาณาจักรเตียนในยุคจ้านกั๋ว(战国滇国)
.
ยุคโบราณ|ลักษณะภูมิประเทศในบริเวณนี้มีสันเขาหยวินหลิ่ง(云岭)ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ นี่จึงทำให้คนโบราณเรียกว่าหยวินหนาน(云南)
1
ภาคกลาง|华中
มณฑลเหอหนาน “แม่น้ำฝั่งทักษิณ”(河南)
.
·เมืองเอก(省会):เจิ้งโจว(郑州)
·ฉายา(别名):เส้าหลิน ยอดพระยอดกังฟู(少林寺)
·อักษรย่อ(简称):ยวี่(豫);มีที่มาจากต้าอวี่แห่งราชวงศ์เซี่ย(夏朝大禹)ได้แบ่งแผ่นดินออกเป็น 9 มณฑลโบราณ(禹贡九州)
.
ยุคโบราณ|เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้อยู่ทางใต้ของแม่น้ำฮวงโห ดังนั้นจึงเรียกว่า “เหอหนาน(河南)”
มณฑลหูเป่ย์ “ทะเลสาบฝั่งอุดร”(湖北)
.
·เมืองเอก(省会):อู่ฮั่น(武汉)
·ฉายา(别名):ยุทธการที่ผาแดง(石壁之战)
·อักษรย่อ(简称):เอ้อ(鄂);มีที่มาจากหลังราชวงศ์สุยล่มสลายแล้วก็มีการก่อตั้งเมืองเอ้อโจว(鄂州)โดยมีเมืองอี๋ชาง(宜昌)เป็นศูนย์รวมอำนาจประจำมณฑลในสมัยราชวงศ์ชิง
.
ราชวงศ์ซ่ง|ตั้งแต่ทิศของทะเลสาบต้งถิง(洞庭湖)ไปจรดที่เขาจิงซาน(荆山)ได้สร้างถนนที่เรียกว่า “ถนนหูเป่ย์(湖北路)”
มณฑลหูหนาน “ทะเลสาบฝั่งทักษิณ”(湖南)
.
·เมืองเอก(省会):ฉางซา(长沙)
·ฉายา(别名):1 ใน 4 เมืองที่ร้อนดั่งเตาไฟ(四大火炉之一)
·อักษรย่อ(简称):เซียง(湘);มีที่มาจากแม่น้ำเซียง(湘江)ไหลผ่านทั่วทั้งมณฑล
.
ราชวงศ์ซ่ง|เนื่องจากมณฑลนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทะเลสาบต้งถิง(洞庭湖) จึงเรียกว่ามณฑลนี้ว่า “หูหนาน(湖南)”
1
ภาคใต้|华南
เขตปกครองตนเองกว่างซี-จ้วง “พื้นที่กว้างฝั่งประจิม”(广西壮族自治区)
.
·เมืองเอก(省会):หนานหนิง(南宁)
·ฉายา(别名):ขุนเขาและธาราแห่งกุ้ยหลินงามเลิศในใต้หล้า(桂林山水甲天下)
·อักษรย่อ(简称):กุ้ย(桂);มีที่มาจากในช่วงราชวงศ์ซ่งถึงราชวงศ์ชิง มณฑลกว่างซีมีศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่เมืองกุ้ยโจว(桂州)
.
ราชวงศ์ซ่ง|ได้ก่อสร้างถนนกว่างหนานและกว่างซีขึ้น(广南西路)
.
ค.ศ.1958|ได้ก่อตั้งเขตปกครองตนเองกว่างซีถง(广西僮族自治区)
.
ค.ศ.1965|ได้ก่อตั้งเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง(广西壮族自治区)
มณฑลกว่างตง “พื้นที่กว้างฝั่งบูรพา”(广东)
.
·เมืองเอก(省会):กว่างโจว(广州)
·ฉายา(别名):เมืองหลวงโลกแห่งที่ 3(第三世界首都)
·อักษรย่อ(简称):เยว่(粤);มีที่มาจากบริเวณนี้เดิมทีเป็นที่อยู่อาศัยของชนชาตินามเวียดโบราณ(南越)ซึ่งอยู่ในช่วงราชวงศ์ฉิน ทำให้ในสมัยโบราณเกิดอักษรจีนสองตัวที่สามารถใช้เรียกบริเวณนี้คือ “粤” และ “越” แต่หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐจีน(中华民国)สามารถใช้ได้เพียงอักษร “粤” เท่านั้น
.
ราชวงศ์ซ่ง|ได้ตัดถนนกว่างหนานตง(广南东路)ขึ้นหลังจากตัดถนนที่มณฑลกว่างซีแล้ว
มณฑลไหหลำ “ทะเลใต้”(海南)
.
·เมืองเอก(省会):ไหโข่ว(海口)
·ฉายา(别名):เขตเศรษฐพิเศาที่ใหญ่ที่สุดของจีน(中国最大的经济特区)
·อักษรย่อ(简称):ฉยง(琼);มีที่มาจากเป็นชื่อเมืองโบราณในสมัยราชวงศ์ฉินคือ “ฉยงโจว(琼州)”
.
ยุคโบราณ|เนื่องจากเกาะไหหลำตั้งอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ จึงตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “ไห่หนาน(海南)”
.
ค.ศ.1988|ไห่หนานถูกยกระดับเป็นมณฑล
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง "เมืองท่าที่หอมหวน"(香港特别行政区)
.
·เมืองเอก(省会):ฮ่องกง(香港)
·ฉายา(别名):ไข่มุกแห่งตะวันออก(东方之珠)
·อักษรย่อ(简称):กั่ง(港)
.
ราชวงศ์ซ่ง-หยวน|มีการก่อตั้งหมู่บ้านฮ่องกง(香港村)เพื่อเป็นจุดพักผ่อนและแลกเปลี่ยนซื้อขายถ่ายโอนสินค้าทางทะเลกับมณฑลกวางตุ้ง
.
ค.ศ.1997|ฮ่องกงกลับคืนสู่จีนและกลายเป็นเขตบริหารพิเศษ(特别行政区)
เขตบริหารพิเศษมาเก๊า "ประสู่อ่าวที่หอมหวาน"(澳门特别行政区)
.
·เมืองเอก(省会):มาเก๊า(澳门)
·ฉายา(别名):ลาสเวกัสแห่งเอเชีย(亚洲的拉斯维加斯)
·อักษรย่อ(简称):อ้าว(澳)
.
ราชวงศ์หมิง|มีปรากฏครั้งแรกในเอกสารหลายฉบับของราชวงศ์หมิง โดยเรียกพื้นที่นี้ว่า "หาวจิ้ง(濠镜)" มีความหมายว่าอ่าวที่เป็นดั่งกระจกเงาและเป็นแหล่งชุกด้วยหอยนางรม ภายหลังได้เพิ่มอักษร "อ้าว(澳)" ต่อท้ายเพื่อบ่งบอกความเป็นท่าเทียบเรือ ส่วนคำว่า "เหมิน(门)" มีทฤษฎีมากมากมายเพื่อระบุที่มา แต่ที่น่าเป็นได้ก็คือการไหลผ่านของน้ำและการเลียงของเกาะบริวารของมาเก๊าที่เหมือนรูปไม้กางเขน ดังนั้นจึงเกิดการรวมคำเป็น "อ้าวเหมิน(澳门)"
.
ค.ศ.1999|มาเก๊ากลับคืนสู่จีนและกลายเป็นเขตบริหารพิเศษ(特别行政区)
ภาคตะวันออก|华东
มณฑลซานตง "ภูผาฝั่งบูรพา"(山东)
.
·เมืองเอก(省会):จี่หนาน(济南)
·ฉายา(别名):เมืองแห่งออนเซ็น(泉城)และบ้านเกิดขงจื๊อ(曲阜孔孟之乡)
·อักษรย่อ(简称):หลู่(鲁);มีที่มาจากบริเวณนี้เคยเป็นพื้นที่ของแคว้นหลู่ในยุคชุนชิว(春秋鲁国)
.
ยุคจ้านกั๋ว-ราชวงศ์ฮั่น|เรียกบริเวณฝั่งตะวันออกของภูเขาเซียวซาน(崤山)และด่านหานกู่(函谷关)ว่า "ซานตง"
มณฑลเจียงซู "ธาราที่ไม่เคยหลับไหล"(江苏)
.
·เมืองเอก(省会):หนานจิง(南京)
·ฉายา(别名):นครหลวง 6 ราชวงศ์(六朝古都)
·อักษรย่อ(简称):ซู(苏)
.
ราชวงศ์หมิง|เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของราชวงศ์หมิง
.
ราชวงศ์ชิง|สมัยจักรพรรดิคังซี(清康熙)ได้ก่อตั้งมณฑลเจียงซูขึ้น โดยรวมชื่อเมืองเจียงหนิง(江宁)และเมืองซูโจว(苏州)เข้าด้วยกัน
มณฑลเจ้อเจียง "ธาราที่เคี้ยวคด"(浙江)
.
·เมืองเอก(省会):หังโจว(杭州)
·ฉายา(别名):เบื้องบนมีสวรรค์ เบื้องล่างมีซูโจว-หังโจว(上有天堂,下有苏杭)
·อักษรย่อ(简称):เจ้อ(浙);มีที่มาจากความคิดเคี้ยวของแม่น้ำฟู่ชุน(富春江)แม่น้ำเฉียนถัง(钱塘江)และแม่น้ำซินอัน(新安江)
.
ยุคจ้านกั๋ว|บริเวณเจ้อเจียงจะหมายถึงแม่น้ำฟู่ชุน(富春江)แม่น้ำเฉียนถัง(钱塘江)และแม่น้ำซินอัน(新安江)
.
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก|แบ่งพื้นที่บริเวณนี้ออกเป็น เจ้อเจียงตะวันออก-ตะวันตก(浙东西)
.
ราชวงศ์ถัง|ยุบสองเขตปกครองนี้แล้วรวมเป็นเขตเดียว
1
มณฑลอันฮุย "สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ"(安徽)
.
·เมืองเอก(省会):เหอเฟย์(合肥)
·ฉายา(别名):แหล่งผลิตจัตุรัตนในห้องหนังสือ(出产文房四宝之地)
·อักษรย่อ(简称):หว่าน(皖);มีที่มาจากชื่ออาณาจักรหว่านกั๋วในยุคชุนชิว(春秋皖国)
.
ค.ศ.1667|มีการรวมชื่อเมืองอันชิ่ง(安庆)ซึ่งเป็นศูนย์รวมอำนาจในขณะนั้นและเมืองฮุยโจว(徽州)เข้าด้วยกัน
มณฑลเจียงซี "ธาราฝั่งประจิม"(江西)
.
·เมืองเอก(省会):หนานชาง(南昌)
·ฉายา(别名):จิ่งเต๋อเจิ้น เมืองแห่งเครื่องเคลือบ(景德镇瓷都)
·อักษรย่อ(简称):ก้าน(赣);มีที่มาจากชื่อแม่น้ำก้านเจียง(赣江)
.
ราชวงศ์ถัง|ได้ตัดถนนเจียงหนานฝั่งตะตกวันขึ้น(江南西道)
มณฑลฮกเกี้ยน "สถานสุขาวดี"(福建)
.
·เมืองเอก(省会):ฝูโจว(福州)
·ฉายา(别名):อุทยานนครสากล(国际花园城市)
·อักษรย่อ(简称):หมิ่น(闽);มีที่มาจากในสมัยโบราณเป็นพื้นที่ของชนเผ่าหมิ่นเยว่(闽越)
.
ราชวงศ์ฮั่น|เรียกบริเวณนี้ว่าอาณาจักรหมิ่นเยว่(闽越国)
.
ราชวงศ์ถัง|ได้แบ่งพื้นที่บริเวณนี้ออกเป็น 5 เมืองคือ ฝูโจว(福州)เจี้ยนโจว(建州)เฉวียนโจว(泉州)จางโจว(漳州)และทิงโจว(汀州)แต่ภายหลังได้รวมชื่อเมืองฝูโจวและเจี้ยนโจวเข้าด้วยกัน
มหานครเซี่ยงไฮ้ "เมืองเหนือทะเล"(上海)
.
·เมืองเอก(省会):เซี่ยงไฮ้(上海)
·ฉายา(别名):มุกเม็ดงามแห่งเอเชียบูรพา(东方明珠)
·อักษรย่อ(简称):เซิน(申);มีที่มาจากบริเวณเซี่ยงไฮ้เคยเป็นพื้นที่ของแคว้นฉู่ในยุคชุนชิว-จ้านกั๋ว(春秋战国楚国)ซึ่งในขณะนั้นมีชุนเซินจวิน(春申君)เป็นเจ้าครองแคว้นอยู่|ฮู่(沪);เดิมทีบริเวณนี้เป็นเพียงหมู่บ้านประมงขนาดเล็กและยังไม่มีชื่อเรียก ยุคหลังจะตั้งชื่อให้บริเวณนี้ว่า "ฮู่ตู๋(沪渎)"
.
ราชวงศ์ซ่ง|ชื่อ "เซี่ยงไฮ้" ได้ถูกตั้งอย่างเป็นทางการในราชวงศ์นี้ เนื่องจากเป็นเมืองท่าที่สำคัญต่อการติดค้าขายและภูมิประเทศของเมืองยังมีแม่น้ำหลายสายไหลพาดผ่านทั่วเมือง
.
ค.ศ.1949|เซี่ยงไฮ้ได้กลายเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล(直辖市)
ภาคตะวันออก|华东
สาธารณรัฐจีน หรือ ไต้หวัน "ชานปากอ่าว"(中华民国、台湾)
.
·เมืองเอก(省会):กรุงไทเป(台北)
·ฉายา(别名):ภูมิประเทศอันงามเลิศ(美丽富饶)
·อักษรย่อ(简称):ไถ(台)
.
ยุคสามก๊ก|บนเกาะไต้หวันมีชนพื้นเมืองสิรายา(西拉雅族)อาศัยอยู่บริเวณอ่าวไทโอ(台窝湾)ซึ่งเรียกคนฮั่นเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า "ตงอี๋(东夷)"
.
ราชวงศ์หมิง|คำว่า "ไต้หวัน" มีปรากฏในเอกสารจีนอย่างเป็นทางการ
.
ราชวงศ์ชิง|จักรพรรดิชิงกวางซวี่(清光绪)ก่อตั้งมณฑลไต้หวัน
.
ค.ศ.1912|สาธารณรัฐจีน(中华民国)ได้ถูกก่อตั้งขึ้นหลังล้มล้างราชวงศ์ชิง
.
ค.ศ.1949|หลังพรรคก๊กมินตั๋ง(国民党)พ่ายแพ้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีน(中国共产党)ก็ได้ลี้ภัยมายังเกาะไต้หวันแล้วก่อตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนใหม่อีกครั้ง
.
ติดตามและอ่านเพิ่มเติมได้ที่
.
โฆษณา