30 มิ.ย. 2021 เวลา 09:20 • ถ่ายภาพ
การวางองค์ประกอบแบบมีระยะหน้า (Foreground) กลาง (Middle ground) และ หลัง (Background)
"ทำให้สองมิติดูเป็นสามมิติ" เป็นไอเดียนึงที่ใช้ในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้ดูน่าสนใจ
เพราะภาพนิ่งแสดงผลได้แค่ "กว้างxยาว"
ตัวภาพนิ่งเองจึงเป็นสองมิติ
แต่สายตาเรามองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นสามมิติ
ทั้ง "กว้างxยาวxลึก"
วิธีหนึ่งที่จะทำให้ผู้ชมรับรู้ถึงมิติทางลึกในภาพได้ก็คือ การวางองค์ประกอบแบบมีระยะหน้า (Foreground) กลาง (Middle ground) และ หลัง (Background)
เพื่อใช้แต่ละส่วน ทั้งหน้า กลาง หลัง เป็นตัวอ้างอิงระยะในทางลึกให้คนดูสามารถรับรู้ได้
1
ภาพตัวอย่างการแบ่งส่วน หน้า กลาง หลัง ให้เห็นได้ชัดเจน
โดยมีใบบัวด้านล่างภาพ (ใกล้กล้อง) เป็นฉากหน้า
มีเกสรเป็นส่วนกลาง
และใบบัวด้านบนของภาพ (ไกลกล้อง) เป็นฉากหลัง
1
การใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง ทำให้ภาพมีระยะชัดตื้น ส่วนที่ชัดและส่วนที่เบลอจึงแยกจากกันชัดเจน และเป็นตัวแบ่งระยะของวัตถุที่เราต้องการเน้นได้ดี ทำให้ภาพมีมิติทางลึกได้อีกด้วย
อย่างในภาพนี้ โต๊ะด้านล่างของภาพที่มีแก้วน้ำและเชือกสีแดงหลายๆ เส้น (ส่วนที่เบลอๆ) เป็น Foreground และเส้นเชือกสีแดงยังทำหน้าที่เป็นเส้นนำสายตาด้วย
1
ส่วนโต๊ะที่มีคนนั่งทำงานเป็น Midground และบอกเหตุการณ์ในภาพว่ามีคนนั่งทำงานอยู่ น่าจะเป็นกิจกรรมอะไรสักอย่าง ทำให้คนดูพอจะรับรู้เรื่องราวในภาพได้คร่าวๆ
และป้ายสีน้ำเงินด้านหลังที่บอกชื่อกิจกรรมในภาพ กับจอบนเวทีเป็น Background
การจัดองค์ประกอบแบบนี้ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความลึกในภาพได้ดี และเมื่อแทรกเรื่องราวลงไป ภาพก็จะดูน่าสนใจขึ้น
1
ส่วนภาพนี้ถ่ายด้วยรูรับแสงแคบ ภาพเลยชัดลึก การแบ่งระยะหน้า กลาง หลัง ด้วยความเบลอจึงไม่มี แต่การใช้ขนาดเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นระยะในทางลึกยังสามารถทำได้
โดยเอารวงข้าวไว้ใกล้กล้องให้มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็น Foreground
และเอาบ้านพักสีน้ำตาลไว้ตรงกลางเป็น Midground เมื่อถูกเปรียบเทียบกับขนาดของรวงข้าวที่ใหญ่กว่ามาก ทำให้คนดูรู้ว่าบ้านพักนั้นต้องอยู่ไกลออกไป
1
ท้องฟ้าและต้นไม้ด้านหลังเป็น Background
ฉากหน้าสามารถใช้เป็นองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าสนใจของภาพได้
อย่างเช่นภาพนี้ที่ใช้กรอบหน้าต่างจากบนเรือ เป็นตัวกำหนดมุมมองของคนดูให้มองไปที่ภูเขาสีเขียวกลางทะเล และยังช่วยเพิ่มมิติทางลึกให้กับภาพได้ด้วย
Foreground: กรอบหน้าต่างเรือ
Midground: ภูเขาสีเขียว
Background: ท้องฟ้า
สำหรับ 2 ภาพด้านบน ผมลองถ่ายจากสถานที่เดียวกัน ให้ Midground เป็นอันเดียวกัน แต่ใช้ Foreground ต่างกัน
อยากให้ลองพิจารณากันดูนะครับ ว่าทั้ง 2 ภาพมีส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่างกันอย่างไร
Foreground, Midground, Background คืออะไร และให้ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ที่ลองทำแบบนี้เพราะอยากให้เห็นว่า ในสถานที่เดียวกันเราสามารถถ่ายภาพสิ่งเดียวกันให้ดูแตกต่างกันได้หลายแบบเลยครับ ถ้าเราหมั่นสังเกตและมองหามุมมองใหม่ๆ อยู่เสมอ
โฆษณา