Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Let’s Goo Ana
•
ติดตาม
29 มิ.ย. 2021 เวลา 13:44 • สุขภาพ
อาจไม่ต้องฉีดวัคซีนซ้ำ! งานวิจัยชี้ฉีด Pfizer-moderna สามารถสร้างภูมิคุ้มกันระยะยาวได้
4
นักวิทยาศาสตร์รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564 ว่าวัคซีนที่ผลิตโดย Pfizer-BioNTech และ Moderna ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันระยะยาวในร่างกายซึ่งอาจป้องกัน coronavirus เป็นเวลาหลายปี
การค้นพบนี้ได้เพิ่มความเชื่อมั่นและเป็นหลักฐานสำคัญในผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA ว่าอาจไม่ต้องทำการฉีดวัตซีนซ้ำ ตราบใดที่ไวรัสและสายพันธุ์ต่างๆไม่ได้พัฒนาไปเกินกว่ารูปแบบปัจจุบัน
ในขณะที่ผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ก่อนรับวัคซีนอาจไม่ต้องทำการฉีดยากระตุ้นซ้ำแม้ว่าไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลง
Dr.Ali Ellebedy นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเซนต์หลุยส์ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษานี้กล่าวว่า "นี่เป็นสัญญาณที่ดีว่าภูมิคุ้มกันของเรามีความทนทานมากหลังจากได้รับวัคซีนนี้" ซึ่งอ้างจากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature
การศึกษาดังกล่าวศึกษาเฉพาะ mRNA vaccines ไม่ได้พิจารณาวัคซีนที่ผลิตโดยจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน แต่ Dr. Ali Ellebedy กล่าวว่า เขาคาดว่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจะทนทานน้อยกว่าวัคซีนที่ผลิตโดย mRNA
Dr. Ellebedy ได้ทำการศึกษางานหนึ่งที่ค้นพบว่าในผู้ป่วยที่หายดีจาก Covid-19 แล้วเซลล์ภูมิคุ้มกันที่รู้จักไวรัสนั้นยังคงอยู่ในไขกระดูกเป็นเวลาอย่างน้อยแปดเดือนหลังการติดเชื้อ จากการที่ B cells ในร่างกายมีการเติบโตและแข็งแรงมากโดยมีอายุอย่างน้อย 1 ปีหลังจากการติดเชื้อ
1
จากการค้นพบดังกล่าว นักวิจัยแนะนำว่าภูมิคุ้มกันอาจคงอยู่ได้นานหลายปี ในผู้ที่ติดเชื้อและทำการฉีดวัคซีนในภายหลัง แต่ไม่ชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียวว่าจะมีผลยาวนานเช่นเดียวกันหรือไม่
หลังการติดเชื้อโควิด หรือ ฉีดวัคซีน ร่างกายจะมีโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า germinal center จะก่อตัวในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งโครงสร้างนี้เป็นต้นแบบสำหรับ B cells (เซลล์ที่ทำการจดจำเชื้อโรค\ต่อต้านเชื้อโรค)
1
ยิ่งเซลล์เหล่านี้มีเยอะมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่จะสามารถขัดขวางสายพันธุ์อื่นๆของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยปกติแล้วหลังจากติดเชื้อโควิด จะพบเชื้อโรคจะก่อตัวในบริเวณปอด ต่างจากผู้ที่ได้รับวัคซีนโดยซึ่งหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว พบว่ามีการสร้างภูมิขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
1
ผู้ร่วมวิจัยของ Dr. Ellebedy พบว่า 15 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก เชื้อยังคงมีบทบาทอย่างมากแต่ตัวเซลล์หน่วยความจำที่รู้จักตัวเชื้อ coronavirus ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด
🍀"ความจริงที่ว่าปฏิกิริยาดังกล่าวของเชื้อและตัวจดจำเชื้อยังคงดำเนินต่อไปเกือบสี่เดือนหลังการฉีดวัคซีน - นั่นเป็นสัญญาณที่ดีมาก" Dr. Ellebedy กล่าว โดยทั่วไปแล้ว การต่อต้านของวัคซีนจะสูงสุดหนึ่งถึงสองสัปดาห์หลังการให้วัคซีน แล้วค่อยๆ จางหายไป
2
Deepta Bhattacharya นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยแอริโซนากล่าวว่า โดยปกติภายในสี่ถึงหกสัปดาห์จะเหลือตัวสร้างภูมิไม่มาก แต่ germinal center ที่กระตุ้นโดยวัคซีน mRNA “ตัวสร้างภูมิยังคงดำเนินต่อไปอีกหลายเดือน และเมื่อพบว่าส่วนใหญ่ตัวสร้างภูมิไม่ได้ลดลงมากนัก”
1
Dr. Bhattacharya ตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่รู้เกี่ยวกับความคงอยู่ของ germinal center นั้นแต่เดิมมีเพียงงานวิจัยที่ทดลองในสัตว์ การศึกษาใหม่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นในคนหลังการฉีดวัคซีน
2
🍀ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนส่วนใหญ่จะได้รับการภูมิคุ้มกันในระยะยาว
ยกเว้นกลุ่มคนของ
-ผู้สูงอายุ
-ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
-ผู้ที่เสพยาที่กดภูมิคุ้มกัน
ที่ควรได้รับการกระตุ้นซ้ำ
1
แต่ในผู้ที่หายป่วยจาก Covid-19 และได้รับการฉีดวัคซีนในภายหลังอาจไม่จำเป็นต้องใช้วัคซีนในการกระตุ้นเลย
การป้องกันจากวัคซีน mRNA จะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้นยากต่อการคาดเดา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากไม่มีตัวแปรที่ช่วยหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันในทางทฤษฎีแล้ว ภูมิคุ้มกันจะมีอายุยืนยาว (เช่นบาดทะยักที่จะฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปี)
ตามการตีพิมพ์วารสารจาก Nature ตีพิมพ์เมื่อ 28 มิถุนายน 2564 จากงานวิจัยที่มีชื่อว่า “SARS-CoV-2 mRNA vaccines induce persistent human germinal centre responses”
การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลของการตอบสนองของ B cell ระหว่างเลือด (B cell responses in peripheral blood) และบริเวณต่อมน้ำเหลือง ในผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์
จากการศึกษาพบว่าร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ยาวนานกว่า 12 สัปดาห์ โดยภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนและเชื้อมีความจำเพาะต่อกันสูงมาก ซึ่งในภาวะเชื้อปกติการสร้างภูมิคุ้มกันขั้นต้น จะมีการพบภูมิในช่วงสัปดาห์แรกและลดลงจนหายไปภายใน 3 สัปดาห์
1
🍀🍀การค้นพบนี้ทำให้นักวิจัยได้ตัวบ่งชี้สำคัญที่จะมาเป็นแนวทางหลักในการป้องกันและมีแนวโน้มว่าการที่ mRNA vaccine สามารถกระตุ้นการจับตัวกันของตัวเชื้อกับภูมิคุ้มกันได้อย่างต่อเนื่องจะสามารถทำให้สามารถลดการใช้วัคซีนในการฉีดซ้ำในอนาคตได้ แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้เสนอว่าควรมีการศึกษาในไขกระดูกที่เป็นที่อยู่ของ plasma cell ที่มีภูมิคุ้มกันเหล่านี้
1
🔥ย้ำอีกครั้งนี่เป็นการทดลองเบื้องต้นที่จะต้องทำการทดลองต่อไปเพื่อดูผลลัพธ์ในระยะยาว🔥 แต่ถือเป็นความก้าวหน้าที่ดีมากเนื่องจากสามารถลดต้นทุนของการฉีดวัคซีน
หลังจากอ่านแล้วพบว่ามีการประเมินให้เราได้ดูด้วยซึ่งตรงนี้สามารถเอาไปประเมินคุณภาพของงานวิจัยได้
ศัพท์
Germinal center เป็นบริเวณที่ B cell พบกับแอนติเจน(ตัวเชื้อโรค)โดยการนำเสนอของ APC (antigen presenting cell-ตัวแนะนำเชื้อโรค)ซึ่ง B cell เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะกลายเป็น memory B cell (ตัวรับที่จดจำเชื้อโรค เวลาเชื้อโรคเข้ามาจะจำได้) ในกระแสเลือด และส่วนใหญ่จะกลายเป็น plasma cell กระจายอยู่ตามอวัยวะที่มีน้ำเหลืองต่างๆ lymphoid tissues เช่น ต่อมน้ำเหลือง (medullary cord), ม้าม (red pulp) และที่ Gut Associated Lymphoid Tissue (GALT) APC.
B-lymphocytes (B-cells) ถือกำเนิดมาจากไขกระดูก มีความสามารถเปลี่ยนไปเป็น plasma cells ซึ่งสร้างและหลั่ง humoral antibodies ต่อต้านเฉพาะ สิ่งแปลกปลอมที่เรียกว่า antigens เมื่อ Antigen - Antibodies รวมตัวกัน อาจทำให้เกิดขบวนการ phagocytosis or opsonization (กระบวนการกินเชื้อโรคและกำจัดเชื้อโรค) หรือกระตุ้นให้เกิด complement activation เป็นผลให้มี chemotaxis ของ เม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophils เกิดการทำลาย (lysis) ของสิ่งแปลกปลอม
1
Antibody -ภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านเชื้อโรค
Antigen - ตัวเชื้อ
Antibody-antigen complex = ภาวะการจับกันของภูมิคุ้มกันกับเชื้อโรค
จากข่าวดังกล่าวทำให้เรามีความหวังถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในรูปแบบ mRNA ที่กำลังมีการทดลองออกมาเรื่อยๆ นอกจากประสิทธิภาพเรื่องการป้องกันเชื้อแล้วยังมีผลดีในเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาวเมื่อเทียบกับวัคซีนอื่นที่อาจต้องฉีดซ้ำ
1
Reference
https://www.nytimes.com/live/2021/06/28/world/covid-vaccine-coronavirus-mask#a-study-finds-that-the-pfizer-and-moderna-vaccines-could-offer-protection-for-years
https://www.nature.com/articles/s41586-021-03738-2_reference.pdf
สัญญา สุขพณิชนันท . Lymphoma: การวินิจฉัยและความรู้ทางโลหิตพยาธิวิทยา (Lymphoma: Diagnosis and Knowledge in Hematopathology). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โครงการตํารา-ศิริราช, 2548.
Aster J. The hematopoietic and lymphoid systems. In: Kumar V, Cotran RS, Robbins SL. Robbins basic pathology. 7th ed. Philaldelphia: W.B. Saunders, 2003: 395-452.
17 บันทึก
41
13
61
17
41
13
61
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย