29 มิ.ย. 2021 เวลา 14:30 • สุขภาพ
การศึกษาเบื้องต้นจากอังกฤษรายงานว่าฉีดวัคซีนสองเข็มสลับยี่ห้อ AstraZeneca กับ Pfizer สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีแต่พบอาการข้างเคียงมากกว่า
หลังจากที่ประเทศอังกฤษได้เริ่มโครงการ Com-Cov study เพื่อศึกษาว่าสามารถฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สองต่างยี่ห้อกันได้หรือไม่
ปลายเดือนพฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมาก็ได้มีรายงานผลเบื้องต้นออกมาว่าการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อกันระหว่าง AstraZeneca และ Pfizer ทำให้พบอาการข้างเคียงระดับอ่อนถึงปานกลาง เช่น ปวดหัว, เป็นไข้, หนาวสั่น มากกว่าการฉีดวัคซีนยี่ห้อเดียวกันทั้งสองเข็ม
ส่วนการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันและรายละเอียดเพิ่มเติมเบื้องต้น มีรายงานออกมาเป็น Preprints ของวารสาร Lancet เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2021
💉 การทดลอง
จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 830 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
(1) ฉีดเข็มแรก และ เข็มสอง ห่างกัน 28 วัน : รายงานผลในงานวิจัยนี้ 🔽
4
(2) ฉีดเข็มแรก และ เข็มสอง ห่างกัน 84 วัน : ติดตามผลต่อไป ⏩
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ฉีดห่างกัน 28 วัน มีจำนวน 463 คน อายุมากกว่า 50 ปี (อายุเฉลี่ย 57.8 ปี) แบ่งเป็น เพศหญิง 45.8% และ เพศชาย 25.3% แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่
1) เข็มแรก AstraZeneca - เข็มสอง AstraZeneca (AZ/AZ)
2) เข็มแรก AstraZeneca - เข็มสอง Pfizer (AZ/Pfizer)
3) เข็มแรก Pfizer - เข็มสอง Pfizer (Pfizer/Pfizer)
4) เข็มแรก Pfizer - เข็มสอง AstraZeneca (Pfizer/AZ)
💉 ผลการทดลอง
ในงานวิจัย ได้วัดการตอบสนองของระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดครบโดส 28 วัน รายงานออกมาด้วยตัวชี้วัด 2 ค่า
1
🔺อย่างแรกคือระดับภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นหลังฉีด (NAb) วัดจาก IgG ที่จำเพาะเจาะจงกับหนามของโควิด (SARS-CoV-2) ออกแบบการทดลองด้วยวิธีแตกต่างกัน 2 วิธี เพื่อมาเทียบกัน คือ Per-protocol basis และ Modified intent-to-treat (mITT)
https://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3874014
จากตารางจะเห็นได้ว่า
▪️วิธี Per-protocol basis
* AZ/AZ กระตุ้นระดับ NAb ได้ 1392 ELU/ml
* AZ/Pfizer กระตุ้นระดับ NAb ได้ 12906 ELU/ml
* Pfizer/Pfizer กระตุ้นระดับ NAb ได้ 14048 ELU/ml
* Pfizer/AZ กระตุ้นระดับ NAb ได้ 7133 ELU/ml
▪️วิธี Modified ITT
* AZ/AZ กระตุ้นระดับ NAb ได้ 1387 ELU/ml
* AZ/Pfizer กระตุ้นระดับ NAb ได้ 12995 ELU/ml
* Pfizer/Pfizer กระตุ้นระดับ NAb ได้ 13938 ELU/ml
* Pfizer/AZ กระตุ้นระดับ NAb ได้ 7133 ELU/ml
จะเห็นว่าค่าที่ได้จากทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ การฉีดวัคซีน Pfizer ทั้งสองเข็มสามารถกระตุ้น NAb ได้ดีที่สุด รองลงมาคือการฉีดสลับยี่ห้อ โดยที่การฉีด AstraZeneca ก่อนแล้วตามด้วย Pfizer จะกระตุ้น NAb ได้มากกว่า ฉีด Pfizer ก่อน AstraZeneca ส่วนการฉีด AstraZeneca ทั้งสองเข็มกระตุ้น NAb ได้น้อยที่สุด
Pfizer/Pfizer > AZ/Pfizer > Pfizer/AZ > AZ/AZ
🔺อย่างที่สอง คือ ดูระดับการตอบสนองของ T cell ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกประเภทหนึ่ง โดยวิธี ELISpot
https://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3874014
จากตารางจะเห็นได้ว่า
* AZ/AZ กระตุ้นระดับ T cell ได้ 50 SFC/106 PBMCs
* AZ/Pfizer กระตุ้นระดับ T cell ได้ 185 SFC/106 PBMCs
* Pfizer/Pfizer กระตุ้นระดับ T cell ได้ 80 SFC/106 PBMCs
* Pfizer/AZ กระตุ้นระดับ T cell ได้ 99 SFC/106 PBMCs
เมื่อดูจากการตอบสนองต่อแอนติเจนของ T cell พบว่าการฉีดสลับยี่ห้อกระตุ้น T cell ได้ดีกว่าการฉีดยี่ห้อเดียว โดยฉีด AstraZeneca ก่อน Pfizer กระตุ้น T cell ได้ดีกว่าฉีด Pfizer ก่อน AstraZeneca รองลงมาคือฉีด Pfizer ทั้งสองเข็ม และ การฉีด AstraZeneca ทั้งสองเข็ม กระตุ้น T cell ได้น้อยที่สุด
AZ/Pfizer > Pfizer/AZ > Pfizer/Pfizer > AZ/AZ
💉 อาการข้างเคียง
อย่างที่ได้รายงานไปก่อนหน้า ว่าพบอาการข้างเคียงระดับเบาและปานกลางในกลุ่มตัวอย่างที่ฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อมากกว่ายี่ห้อเดียว ซึ่งมีรายงานพบอาการข้างเคียง 178 คน
ทั้งนี้พบผู้ที่มีอาการข้างเคียงรุนแรง ทั้งหมด 4 เคส แต่ประเมินแล้วว่าไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน
💉 สรุป
- จากผลการทดลองทั้งหมด ทีมวิจัยให้ความเห็นว่า เมื่อดูระดับ NAb ประกอบกับระดับ T cell พบว่าการฉีด AstraZeneca ทั้งสองเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยสุด อาจเป็นผลมาจากการเว้นระยะระหว่างเข็มหนึ่งและเข็มสองเพียง 28 วัน (4 สัปดาห์) เพราะมีการศึกษาออกมาก่อนหน้านี้ว่า AstraZeneca จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงกว่า หากเว้นระยะฉีดเข็มหนึ่งและเข็มสองให้นานขึ้น ประมาณ 8-12 สัปดาห์ ดังนั้นจึงต้องติดตามผลการศึกษาต่อไป ที่จะเว้นระยะห่างระหว่างเข็มให้นานขึ้น เป็น 84 วัน
- การที่ฉีด Pfizer แล้วระดับภูมิคุ้มกันขึ้นสูง ไม่ว่าจะฉีด Pfizer เพียงอย่างเดียว หรือ สลับกับ AstraZeneca อาจเป็นเพราะว่า Pfizer มี % efficacy ที่ดีกว่าตามการทดลองเฟส 3 ของวัคซีน ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองในงานวิจัยนี้
- ในการวัดผลระดับ T cell พบว่าการฉีด AstraZeneca/Pfizer ให้ผลสูงกว่า Pfizer/AstraZeneca ซึ่งต้องหาคำตอบต่อไป และถึงแม้ว่า Pfizer/Pfizer จะให้ผลน้อยกว่า Pfizer/AstraZeneca (80 กับ 99 SFC/106 PBMCs) แต่ถือว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
- การฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อสามารถทำได้ในประเทศที่ขาดแคลนวัคซีนและต้องการรีบการกระจายฉีดให้มากที่สุด ถึงแม้จะมีอาการข้างเคียงเยอะกว่า แต่ ยี่ห้อวัคซีนที่นำมาใช้ก็อาจจะส่งผลด้วย หากจะฉีดสลับยี่ห้ออื่น เช่น AstraZeneca กับ Sinovac ยังไม่แนะนำ เพราะยังไม่มีงานวิจัยมารองรับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
"ฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกกับเข็มที่สองคนละยี่ห้อกันได้หรือไม่ อังกฤษกำลังหาคำตอบ" >> https://www.blockdit.com/posts/60910b6dc14ea40c56a2dfaa
"การศึกษาจากสเปนรายงานว่าฉีดวัคซีนสองเข็มคนละยี่ห้อได้" >> https://www.blockdit.com/posts/60a745559c20c113d20a586b
References >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา