Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PR Matter
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2021 เวลา 06:56 • การตลาด
Mintel เผยผลสำรวจชี้แบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามมีโอกาสเติบโตในไทย เหตุผู้บริโภคกังวลเรื่องปัญหาผิวพรรณ และขาดการตระหนักรู้เกี่ยวกับส่วนผสมในผลิตภัณฑ์
ผลสำรวจ* ชี้ 70% ของผู้บริโภคเห็นด้วยว่า สิวที่เกิดจากการใส่หน้ากากอนามัยเป็นปัญหาผิวเรื้อรัง ในขณะที่ผู้บริโภคบางรายระบุว่ามลภาวะ (37%) และแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ (16%) เป็นปัจจัยที่ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย กุญแจสำคัญที่จะปลดล็อคการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ดูแลผิวในประเทศไทยคือ การสร้างฐานการรับรู้เกี่ยวกับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์
เป็นที่รู้กันดีว่า ส่วนผสมเสริมการทำงาน (Functional Ingredients) ในสินค้าหมวดผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เป็นส่วนผสมที่ผ่านหลักการทางวิทยาศาสตร์และสามารถพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพได้จริง แต่ผู้บริโภคจำนวนไม่มากนักที่รู้และเข้าใจเกี่ยวกับส่วนผสมด้านความงามเหล่านั้น จากผลการวิจัยชิ้นใหม่จาก Mintel พบว่า 28%* ของผู้บริโภคชาวไทยกล่าวว่า ตัวเองไม่ได้พิจารณาส่วนผสมของผลิตภัณพ์เมื่อเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ในขณะเดียวกันผู้บริโภครู้จักส่วนผสมเพียง 3 รายการ (จาก 10 ส่วนผสมที่ทำการสำรวจ) ในหมวด BPC ได้แก่ เปปไทด์ (44%) เซราไมด์ (41%) และเรตินอล (38%)
Mintel Global New Products Database (GNPD) ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นหลักๆ ของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ได้มีการเปิดตัวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึงมกราคม 2564 ในตลาดประเทศไทยว่า ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเพียง 10% มีส่วนผสมของเซราไมด์ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเปปไทด์และเรตินอลมีเพียง 3% และ 1% ตามลำดับ
นายพงศ์พีระ มิตรธรรมพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการรายงานผู้บริโภคด้านความงาม ภูมิภาคเอเชียใต้ที่ Mintel กล่าวว่า กุญแจสำคัญที่จะปลดล็อคการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สกินแคร์ในประเทศไทยคือ การสร้างฐานการรับรู้เกี่ยวกับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์” แบรนด์จำเป็นต้องให้ความรู้และเติมเต็มช่องว่างการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลของส่วนผสมในผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้ดียิ่งขึ้น นับเป็นเรื่องสำคัญที่แบรนด์จะต้องสร้างกลยุทธ์และยกระดับปัจจัยที่จะสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
แม้ว่า เปปไทด์ เซราไมด์ และเรตินอล จะเป็นส่วนผสมเสริมการทำงานที่ผู้บริโภคต่างรับรู้มากที่สุด แต่ผลิตภัณฑ์สกินแคร์กลับพูดถึงส่วนผสมดังกล่าวในตลาดน้อยมาก ในสถานการณ์เช่นนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะเพิ่มหรือเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีส่วนผสมเสริมการทำงานในตลาดประเทศไทย เพื่อเพิ่มการรับรู้และความสนใจในเรื่องดังกล่าวในอนาคต นอกจากนั้นแบรนด์ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นอันดับแรก รวมถึงความโปร่งใสและกลยุทธ์การให้ข้อมูลความรู้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับผู้บริโภค และดึงดูดผู้บริโภคให้กลายเป็นลูกค้าของเรา
ความกังวลเรื่องปัญหาผิวพรรณเป็นปัจจัยที่เปิดโอกาสให้กับส่วนผสมใหม่ ๆ
โรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคชาวไทยจำนวนมากวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาของผิวพรรณทั้งปัญหาที่มีอยู่เดิมและปัญหาใหม่ๆ จากงานวิจัยของ Mintel ชี้ให้เห็นว่า 70% ของผู้บริโภคเห็นด้วยว่า สิวที่เกิดจากการใส่หน้ากากอนามัยเป็นปัญหาผิวเรื้อรัง ในขณะที่ผู้บริโภคบางรายระบุว่ามลภาวะ (37%) และ แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ (16%) เป็นปัจจัยที่ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย นอกจากนี้ยังพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 (34%) ของคนไทยเห็นด้วยว่าส่วนผสมที่มีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับสามารถแก้ปัญหาใหม่ๆเหล่านี้ได้ดีที่สุด
ยิ่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ศัตรูด้านความงามใหม่ ๆ ก็จะยิ่งเกิดขึ้นตามมาเรื่อย ๆ ในขณะที่โรคระบาดทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปและทำให้เกิดปัญหาผิวพรรณใหม่ ๆ เช่น การใส่หน้ากาก ที่ทำให้ผิวหนังระคายเคืองจากมลภาวะ และ แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ ที่เป็นอันตรายต่อผิว แน่นอนว่าผู้บริโภคพยายามมองหาวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป ซึ่งแบรนด์สามารถโฟกัสปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วรวบรวมปัญหาเหล่านี้มาใช้เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาทบทวนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของตนเองเสียใหม่ โดยแบรนด์ควรจะลองพิจารณาเรื่องส่วนผสมที่จะมาเป็นตัวเอกในการหาทางออกให้กับปัญหาของผู้บริโภค”
ในขณะที่วิธีแก้ปัญหาผิวพรรณแบบเดิมๆ กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งว่า จะมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นกับผิวพรรณได้จริงหรือไม่ ส่วนผสมเสริมการทำงานที่ได้รับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ให้สามารถเติมเต็มช่องว่างของปัญหาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ความงามยุคใหม่มากยิ่งขึ้น นายพงศ์พีระ กล่าว
* ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยจำนวน 2,000 คน อายุ 18+
สามารถติดตาม PR Matter จากช่องทางอื่นๆ ได้ที่
Instagram :
https://www.instagram.com/prmatter
Twitter :
https://www.twitter.com/thaiprmatter
Youtube :
https://www.youtube.com/prmatter
Blockdit :
https://www.blockdit.com/prmatter
Facebook :
https://www.facebook.com/prmatter
Website :
https://www.prmatter.com
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ผลวิจัยการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค 2021
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย