30 มิ.ย. 2021 เวลา 15:11 • สุขภาพ
หมอเหี้ย – เลือดบุ๋ยบุ๋ย ไอเทมพิชิตโควิด – โรคอุบัติใหม่ !?
หมอต้น - รศ.ดร.นสพ.จิตรกมล ธนศักดิ์ เจ้าของฉายา “หมอเหี้ย”
อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลิกนิกและการสาธารณสุข
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ต่อยอดวิจัยคุณสมบัติทางยาจากเลือดตัวเงินตัวทอง
เพื่อยับยั้งไวรัสโควิด – 19 และโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ ในอนาคต
พร้อมทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล และสวก. –
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน)
ทุ่มงบวิจัยเจาะไวรัสโดยเฉพาะ
FB. Jitkamol Thanasak
ปิ๊งไอเดีย !! เขียนวิจัยขอทุนได้เพราะคำว่า “มีแน่ ๆ”
หลังค้นพบความพิเศษของเลือดตัวเงินตัวทอง – เหี้ย – บุ๋ย ๆ
ที่ซีรัม (serum) ของเขาไม่เพียงต้านแบคทีเรีย ต้านมะเร็งได้
แต่มีโปรตีนบางชนิด !? ที่ต้องหาให้เจอว่าชนิดนั้นมันคืออะไร
เจาะลึกถึงระดับโมเลกุลนั้น ๆ ออกมาให้ได้
ส่วนเรื่องโควิด พบว่ามันมีอะไรบางอย่าง ??
ต้องศึกษาก่อนว่า ไวรัสนั้นอาจจะเป็นโควิด ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่
หยุดการเจริญเติบโตเพราะบางอย่าง ??
อย่าเพิ่งดีใจว่าเราจะได้ยาต้านโควิดฝีมือนักวิจัยไทยในเร็ววัน
เพราะมันมีสเต็ปของมัน
การวิจัยโควิด – โรคอุบัติใหม่ฯ เดินมาได้เพียงก้าวแรก
โดยตั้งเป้าไว้ 3 ปี หมายความว่า ยังไม่ได้เป็นยากิน
หรือยาฉีดได้ แต่สามารถบอกว่าฆ่าเชื้อตัวนั้น ตัวนี้ได้
จะหยิบอันไหนไปทำยาก็ต้องต่อยอดอีกที
“หมอต้น” เชื่อมั่นว่าการใช้ประโยชน์ของเลือด – ซีรัมบุ๋ย ๆ
มีบางอย่างเป็นยาได้แน่ เพียงแต่ว่ายาชนิดนั้นจะหยุดอยู่ที่แบคทีเรีย
มะเร็ง หรือไวรัสอาจจะเป็นโควิด ไข้หวัดนก หรือไข้หวัดใหญ่
ด้วยหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นความหวังใหม่
“ผมต้องค้นพบก่อน ค่อย ๆ ติดตามไปด้วยกัน ตนมี
ความตั้งใจที่ให้โครงการวิจัยนี้สำเร็จอยู่แล้ว ถ้าเราเจอ
ความเป็นได้ของสารบางอย่างยับยั้งไวรัสได้
จะออกมาบอกอีกทีว่าเจอแล้ว !! เราไม่ได้ตอบว่าเป็นโควิด
มันอาจจะได้ยาต้านไวรัสกลาง ๆ ขึ้นมาสักตัว และอาจถูกหยิบ
มาใช้เป็นครั้งแรก ”
หมอเหี้ย - บุ๋ยบุ๋ย ความบังเอิญหรือพรมลิขิต !!
“บุ๋ยๆๆ เป็นคำเรียกตัวเงินตัวทองหรือเหี้ยในมหิดล
เวลาเรียก..มันดูลื่นดี”
เมื่อ 6 ปีก่อน ขณะนั่งทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย ได้รับโทรศัพท์
แจ้งว่า พบบุ๋ย ๆ ไม่รู้เป็นอะไร หงายลอยอยู่ในน้ำภายในมอ.
โดยส่วนตัวไม่ค่อยมีความรู้ตรงนี้ แถมกลัวไม่กล้าจับสัตว์ประเภทนี้
ขนาดจิ้งจกยังกล้าไม่จับ และคิดว่าเดี๋ยวคงมีสัตว์แพทย์คนอื่นไปช่วย
 
แต่ก็ยังมีคนโทรมาแจ้งอีก ตัดสินใจขับรถไปดู แล้วให้ รปภ.
เอาขึ้นมาจากน้ำ จังหวะอุ้มมาปล่อยบนพื้น !! บุ๋ย ๆ ดิ้นสะบัด
ตอนนั้นกลัวมากแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร !?
จับลงไป !! ความรู้เหมือนคนกระโดดบันจี้จัมป์ครั้งแรก
“ผมสัมผัสเขาได้ก็หายกลัว” ตัดสินใจเอามารักษาที่
คณะสัตวแพทย์ ตั้งชื่อให้ว่า “จูเนียร์”
โดยเหตุการณ์วันนั้นมีคนเอาไปโพสต์ลงโซเชียล แล้วนักข่าว
ก็มาทำข่าวพร้อมตั้งฉายา “หมอเหี้ย” ให้เสร็จสรรพ
“ผมมองขำ ๆ ฮา ๆ เข้าใจว่านี่คือสัตวแพทย์ หมอรักษาเหี้ยเท่านั้นเอง”
 
ปัญหาการรักษา “จูเนียร์” เกิดขึ้นทันที !?
เพราะไม่มีค่าอ้างอิงทางเลือด ทางภูมิคุ้มกัน จนเป็นที่มา
ของการศึกษาระบบภูมิคุ้มกันตัวเงินตัวทอง เพื่อนำมาเป็น
ข้อมูลพื้นฐานมารักษา “จูเนียร์”
ภายใต้สมมติฐานเบื้องต้นว่า “ถ้าตัวเงินตัวทองมีชีวิตอยู่ใน
ที่สกปรก กินซากสัตว์ที่บางตัวเป็นโรค แต่เขาสามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ได้ กำจัดเชื้อนั้นได้ ปกติเขาทนจะตาย
แต่ถ้าเขาป่วย แสดงว่าต้องมีอะไร ”
 
“จูเนียร์” ใช้เวลารักษาอยู่ 3 เดือน ดูแลใกล้ชิดกันเป็นอย่างดี
ก่อนปล่อยคืนกลับสู่คลองในมหาวิทยาลัยเหมือนเดิม
แต่ไม่จบแค่นั้น !!
ความพิเศษของภูมิคุ้มกันตัวเงินตัวทอง ทำให้เล็งเห็นถึง
ความหวังในการต่อยอดทางการแพทย์ในมนุษย์ได้
นำมาสู่การขยายผลโครงการวิจัยอย่างจริงจัง เมื่อปลายปี 2562
พอเข้าปี 63 โควิด – 19 มาพอดี การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยับยั้ง
ไวรัสโควิด – 19 และโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ ในอนาคตจึงเริ่มต้นขึ้น
 
เป็นความหวังพิชิตไวรัสร้าย !! สร้างความฮือฮาในสังคมและวงการแพทย์
“เราเจาะเลือดตัวเงินตัวทองบริเวณโคนหาง..การหาเส้นเลือด
ของสัตว์ประเภทนี้ยาก ไม่สามารถรัดแล้วเห็นเส้นเลือดได้เหมือน
สัตว์อื่น ๆ ต้องใช้ความชำนาญของสัตวแพทย์ รู้ตามสัมผัสของ
นิ้วเรา และการไปจับตัวเงินตัวทองที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองแต่ละที
ต้องขออนุญาตทุกครั้ง”
เชื่องน่ารักฉบับบุ๋ยบุ๋ย..รักษ์เขาเพื่อโลกของเรา !!
หลังจากปล่อย “จูเนียร์” ไปมันมีความสนุกอยู่อย่าง
“หมอต้น” จะไปยืนที่สะพานข้ามคลองแล้วผิวปาก
ด้วยเสียงคุ้นเคยเหมือนตอนให้อาหาร เขาจะว่ายมาทักทาย
ชูคอ เหมือนคุยกับเราแล้วจากไป
และเมื่อมีชาวต่างชาติมาเยี่ยมเยียนที่คณะสัตวแพทย์
ออกงานคู่โชว์สกิลคุยกับ “จูเนียร์” เรียกเสียงว้าววววว
“เขางงกันว่า หมอนี่พาไปที่คลองแล้วเรียกเหี้ยมาคุยได้”
1
แสดงว่าบุ๋ย ๆ มีสมองรับรู้และจดจำพอสมควร กอปรกับ
ตลอด 6 ปีที่ผ่านมาเฝ้าสังเกตพฤติกรรมบุ๋ย ๆ เจ้าสัตว์
เลื้อยคลานที่มีธรรมชาติความดุร้ายซ่อนอยู่ในตัว พบว่า
สัตว์ประเภทนี้พอได้คลุกคลีกับคนเป็นเระยะเวลาหนึ่ง
ความดุร้ายลดลงอย่างน่าแปลกใจ เห็นจากตอนที่เขาป่วยหนัก
แล้วรอดชีวิตด้วยสัตวแพทย์ ก่อนที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
เขาจะเชื่องทุกตัว..คอนเฟิร์ม!!
รวมถึงการเลี้ยง “วารานัส – ตระกูลเหี้ยในต่างประเทศ”
นิยมเลี้ยงกันตั้งแต่เด็ก ๆ จนขึ้นมือคือไม่กัดเจ้าของ เล่นด้วยกันได้
ช่วงฉายแววความดุร้ายของบุ๋ย ๆ เวลาหิวโซ อะไรมาขวาง
เขาก็ทำร้าย หรือไปไล่ให้จนมุม ทำร้ายเขา เลือดนักสู้
กระฉูดออกมาเป็นธรรมดา
“โลกนี้อาจจะมีเชื้อโรคร้ายแรงกว่าโควิด ถ้าสัตว์แต่ละชนิด
ติดโรคแล้วตาย และบางโรคติดต่อสู่คน แต่การมีสัตว์บางอย่าง
ไปเก็บกินซาก - ย่อย - ถ่ายมาเป็นปุ๋ยหรือเป็นประโยชน์ต่อ
สิ่งแวดล้อม เชื้อโรคก็ตาย หยุดการระบาดของโรคที่อาจเป็น
ภัยต่อคนได้”
ตามธรรมชาติของบุ๋ย ๆ เขากลัวคน !! แค่เราเดินเสียงดัง ๆ เขาก็วิ่งหนีแล้ว
FB. Dr.Jitkamol Project - by DR.T
บุ๋ย ๆ หลบหน่อย..ศิลปินมา!!
พักมือจากบุ๋ย ๆ “หมอต้น” ยังจัดเป็นศิลปินเพลงตัวจริง เสียงจริง
ในชื่อ “DR.T” เขียนเนื้อร้อง แต่งทำนอง ร้องเองเล่นเองเสร็จสรรพ
อาทิ คนรักสัตว์ – คืนวิวาห์ - เตี๋ยวเป็ด - สาดน้ำล้างใจ - เอาแต่ใจ -
กรีดแขน (ไม่ช่วยอะไร) - The Mask ที่เพิ่งปล่อยซิงเกิ้ลออกมา
เมื่อปีที่แล้ว
แถมโคฟเวอร์เพลงดังออกมาให้แฟนคลับได้หายคิดถึงเป็นพัก ๆ
ตามโอกาสบนช่องยูทูป corazon corazon, lookkonlek official
ในระหว่างที่พวกเรากำลังรอ !? รายงานผลความคืบหน้า
วิจัยคุณสมบัติทางยาจากเลือดตัวเงินตัวทอง เพื่อยับยั้งไวรัส
โควิด – 19 และโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ ในอนาคต
 
สลับเข้าไปผ่อนคลายกับผลงานเพลงและส่งกำลังให้
“หมอต้น – หมอเหี้ย - DR.T” กันเลย ////
อ่านจบคิดเห็นอย่างไร มีข้อเสนอแนะอะไร
สะกิดบอกกันนะคะ
ขอบคุณที่เข้ามาทักทายกัน ^_^
Credit :
กีรติ เอี่ยมโสภณ. คอลัมน์ Livestyle : เจาะทางรอดเลือดตัวเงิน
ตัวทองพิชิตโควิด –หมอเหี้ย-คอนเฟิร์มครั้งแรกของโลก!!.
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 มิ.ย. – 2 ก.ค.64, หน้า 25-29
#WhoChillDay #อ่านมาสรุปต่อ #ผู้จัดการสุดสัปดาห์
#โควิด #หมอเหี้ย #DR.T #เลือดตัวเงินตัวทองเหี้ยบุ๋ย
#ไอเทมพิชิตโควิด #จิตรกมลธนศักดิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา