1 ก.ค. 2021 เวลา 01:20 • ความงาม
“วิหารไกรลาศ" ถือเป็นจุดสูงสุดของยุคเจาะหินในสถาปัตยกรรมอินเดีย สร้างมากว่าพันปี
ไกรลาศมนเทียร (Kailāśa) หรือ ไกรลาศนาถมนเทียร (Kailāśanātha) เป็นมนเทียรเจาะหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในหมู่ถ้ำเอลโลรา รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย มณเฑียรนี้เป็นลักษณะการเจาะเข้าไปในหินใหญ่ก้อนเดี่ยว (เมกาลิธ) เข้าไปในหน้าผาหิน และเป็นหนึ่งในมนเทียรถ้ำที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดด้วยขนาดที่ใหญ่โตของมณเฑียร, สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมของมณเฑียร และเป็น "จุดสูงสุดของยุคเจาะหินของสถาปัตยกรรมอินเดีย" ส่วนบนของหอตรงกลางในโครงสร้างหลักมีความสูง 32.6 เมตรจากพื้นด้านล่าง
ไกรลาศมนเทียรเป็นมณเฑียรถ้ำในถ้ำหมายเลข 16 จาก 34 ถ้ำในหมู่ถ้ำเอลโลรา ที่สร้างโดยเจาะเข้าไปในหน้าผาหินบะซอลต์[4] การเจาะถ้ำส่วนใหญ่สร้างขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์ราษฏรกูฏ พระเจ้ากฤษณาที่หนึ่ง (ครองราชย์ช่วงปีค.ศ. 756 – 773) และบางส่วนที่มีการสร้างต่อจนสำเร็จในภายหลัง มนเทียรต่าง ๆ สร้างขึ้นโดยปรากฏลักษณะของสถาปัตยกรรมปัลลวะ และจาลุกยะ นอกจากประติมากรรมและงานแกะสลักที่วิจิตรแล้ว ยังพบร่องรอยของจิตกรรมฝาผนังที่งดงามหลงเหลือจาง ๆ ในบางส่วน
#วิเคราะห์ประวัติศาสตร์
.
.
Wikipedia, themysteriousworld
โฆษณา