1 ก.ค. 2021 เวลา 10:07 • ไลฟ์สไตล์
ถ้าสอนโควิดเเบบจริงๆจังๆในห้องเรียนไปเลยละ ?
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน blog ของผมทุกคน วันนี้มาแปลกหน่อยครับ 555 เเต่ยังคง concept ในการให้ความรู้เหมือนเดิม โดยเรื่องที่จะพูดกันในวันนี้ก็คือปัญหาเรื่อง
"โควิด 19 กับประเทศไทย"
ภาพวาด Jameson Simpson for TIME
ซึ่ง ณ วันที่ผูเขียนได้เขียน คือช่วงของการระบาดที่เรียกว่าเป็นระลอกที่ 4 ในเดือน ก.ค / 64 โดยประเทศไทยในช่วงเเรกนั้นได้รับเสียงชื้นชมอย่างล้นหลามอย่ามากในการคุมโควิด ตัดภาพมาตอนนี้ ทุกอย่างพังทลาย การใช้ชีวิต เศรษฐกิจ การศึกษา บลาๆ ทุกอย่างกลับตลาปัด เราเห็นภาพที่ผู้ป่วยโควิดล้น ร.พ. กันจนชินตา เเน่นอนปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของการบริหารงานที่ผิดพลาดของภาครัฐ เเต่วันนี้ผมขอไม่พูดถึงเรื่องนี้ เเต่อยากเสนอไอเดียให้ทุกท่านได้ช่วยกันคิด คือ
**ในเมื่อถ้ามันจะเลวร้ายถึงขนานี้เเล้วทำไมเราไม่เรียนรู้เเละเข้าใจมันจริงๆจังๆผ่านระบบการศึกษาไปเลยละ
ภาพ เมืองอู่ฮั่นต้นกำเนิดไวรัส COVID 19 by financial times
โดยเรื่องที่ผมอยากเสนอเเละชวนให้คิด ข้อตั้งเป็น 2 ประเด็นนะครับ เพื่อไม่ให้ยืดยาว
ประเด็นเเรก ทำไมเราไม่คุยเรื่องโควิดนี้ในนห้องเรียนเเบบจริงๆจังๆไปเลย
โดยคำว่าจริงจังในความหมายของผมคือ "การที่ภาคของการศึกษาออกเเบบการเรียนเเละชวนเด็กตั้งคำถามเกี่ยวกับ โควิด 19 โดยมีหัวข้อต่อไปนี้
- กรณีเราติดโควิด 19 ควรทำอย่างไร
- สภาพจิตใจ เเละการลำดับความคิดควรทำอย่างไร
- เราจะอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้ออย่างไร
- อาชีพหรือการดำรงชีวิตจะปรับอย่างไร
ซึ่งเรื่องเหล่านี้ผมคิดว่าเป็นคำถามที่น่าคิดเเละสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหมือนเป็นการสร้างองค์ความรู้ให้นักเรียนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือทางทฤษฎี เเละค่อยๆนำไปสู่ออกเเบบไปสู่การปฏิบัติครับ
ภาพประกอบ by scb.co.th/th/personal-banking/stories
ประเด็นที่ที่สอง ที่สำคัญมากๆก็คือ การให้ความร่วมมือกันของทั้ง ครู เเละนักเรียน รวมถึงผู้บริหาร ซึ่งในเรื่องที่ผมพูดนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จเลยหากไม่เกิดการร่วมมือกัน นำไปสู่การปฏิบัติครับ
ซึ่งหัวข้อที่ผมเขียนวันนี้ เป็นการเสนอความคิดโดยใช้เรื่องของการศึกษาเข้ามาอ้างอิงหลักการ อย่างน้อยเพื่อเป็นการตระหนักเเละการเรียนรู้ของเด็กๆรวมถึงคนรุ่นถัดไป อยา่งที่ผมกล่าวตั้งเเต่เเรกครับ
"หากความเป็นจริงที่เราเผชิญอยู่เเม่งโคตรเเย่เเละโสมม ทำไมเราไม่ปรับตัวเราให้เข้ากับมันซะเลยละครับ" 5555
โฆษณา