5 ก.ค. 2021 เวลา 08:18 • สุขภาพ
ว่าด้วยเรื่อง " อาการผีอำ "
ผีจริงหรือผีหลอกกก
Cr. The Nightmare by Henry Fuseli (1781)
อึดอัด ขยับตัวไม่ได้ ควบคุมร่างกายไม่ได้เลย และนั่นใครกำลังคล่อมตัวเราอยู่ ?!
▫️อาการผีอำ (Sleep Paralysis)
เป็นอาการอัมพาตทั้งตัวแบบเฉียบพลัน ไม่สามารถขยับตัวหรือพูดได้ รวมไปถึงมีอาการหายใจลำบาก รู้สึกเหมือนมีคนมาทับ ซึ่งมักจะเป็นในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่น จะเกิดขึ้นในช่วงเคลิ้มหลับและช่วงใกล้ตื่น
มักจะฝันร้าย เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงปริศนา
Cr . Skulking Spirits and Wicked Witches: The Science and Culture of Sleep Paralysis by Vanessa Garlepp (2021)
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับวัฏจักรการนอนหลับกันก่อน
▫️วัฏจักรการนอนหลับของคนเราแบ่งเป็น 2 ระดับ
- Rapid Eye Movement (REM) = ช่วงที่ยังหลับไม่สนิท สมองยังตอบสนองต่อสิ่งเร้า ยังทำงาน แต่ร่างกายไม่ทำงาน มักจะเกิดภาวะฝันในช่วงนี้
- Non Rapid Eye Movement (Non-REM) = ช่วงหลับลึก ระบบร่างกายจะผ่อนคลายและพักผ่อนเต็มที่ สมองตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบข้างช้าลง
ซึ่งทั้ง REM sleep และ Non-REM sleep จะวนเป็นวัฏจักรใช้ระยะเวลารอบละ 90 นาที ตลอดการนอนหลับทั้งคืน
อาการผีอำจะเกิดจากการถูกรบกวนของช่วง REM sleep เนื่องจากกล้ามเนื้อต่างๆได้ผ่อนคลายลงแต่เรายังคงฝันหรือรู้สึกตัวน้อยๆเพราะสมองของเรายังคงตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอยู่ จึงทำให้เราไม่สามารถควบคุมร่างกายของตนเองได้ชั่วขณะ และจะมีอาการหวาดกลัวเนื่องจากไม่สามารถควบคุมร่างกายให้ทำตามคำสั่งได้ ประกอบกับฝันร้่ายหรือจินตนาการในกลางคืน
สามารถอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์โดยง่ายว่า
‘ ร่างกายเข้าสู่สภาวะการหลับ แต่สมองยังคงตื่นอยู่ ทำให้รู้สึกขยับตัวไม่ได้ ‘
▫️ปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดผีอำได้
- นอนไม่พอ ซึ่งเกิดจากการนอนน้อย หรือนอนไม่หลับ
- เวลาการนอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เปลี่ยนกะทำงาน หรือประสบภาวะ Jet Lag
- ประสบปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง เช่น ความเครียด
- ประสบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับนอนหลับ เช่น โรคลมหลับ หรือเกิดตะคริวเวลาหลับตอนกลางคืน
- ใช้ยารักษาโรคบางอย่าง เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น
- การใช้ยาเสพติด
ทั้งนี้อาการผีอำไม่ใช่อาการผิดปกติแต่อาจทำให้เกิดความหวาดกลัวและความเครียดได้
Cr. www.sleepcycle.com
▫️ป้องกันการเกิดอาการผีอำ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- เลี่ยงดื่มชาหรือกาแฟก่อนเข้านอนประมาณ 2-3 ชั่วโมง
- เลี่ยงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และรับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน
- เลี่ยงออกกำลังกายก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- ทำตัวให้ผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบน้ำ ฟังดนตรีจังหวะเบา ๆ หรือดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ
- เลือกเตียงนอน หมอนหนุน และหมอนข้าง ที่ทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย
- ไม่ควรใช้ยานอนหลับบ่อยเกินไป เนื่องจากยังไม่ปรากฏผลการใช้ยาที่แน่ชัด อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ
- ควรพบแพทย์ในกรณีที่เกิดภาวะผีอำเป็นประจำ เพื่อช่วยให้หายจากภาวะดังกล่าวและนอนหลับได้ดีขึ้น
Ps1. ส่วนตัวผู้เขียนเองเป็นคนที่เผชิญหน้ากับอาการผีอำบ่อยพอสมควร (เพราะเวลานอนน้อย555) เทคนิคที่ใช้เมื่อรู้ตัวว่าโดนผีอำคือหลับไปเลย ขยับไม่ได้ก็ไม่ขยับละ เหนื่อย!
Ps2. การรับมือกับผีอำแนะนำให้ตั้งสติหายใจเข้า-ออกช้าๆ พยายามอย่าคิดเรื่องน่ากลัว และถ้าจำบทสวดมนต์ไม่ได้ก็อย่าสวด เพราะจะทำให้ลนสติแตก😂
** Reference

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา