2 ก.ค. 2021 เวลา 01:01 • การศึกษา
ทำไม “ถูกไล่ออก” = “ผัดปลาหมึก”⁉️
ในภาษาจีน สำนวนที่ว่า ‘ถูกไล่ออก’ หรือ ‘การถูกให้ออกจากงาน’ คือ 炒鱿鱼 แปลตรงๆได้ว่า ‘ผัดปลาหมึก’
1
📌炒 (chǎo) อ่านว่า ‘ฉ่าว’ แปลว่า ‘ผัด’
📌鱿鱼🦑 (yóuyú) อ่านว่า ‘โหยว หยวี’ แปลว่า ‘ปลาหมึก’
💘ว่าไงนะ มันเกี่ยวอะไรกันนะ💘
ในสังคมการทำงานของจีนสมัยก่อน จะค่อนข้างเป็นสังคมแบบกดขี่ข่มเหง ลูกน้องต้องฟังเจ้านาย ไม่มีสิทธิ์หืออือกับเจ้านายนะ🤨
1
เพราะฉะนั้น ในกรณีที่ถูกไล่ออกหรือถูกให้ออกจากงาน จะไม่มีสิทธิ์ยื่นอุทรณ์ที่ศาลได้
นึกภาพคนจีนในสมัยก่อน มาจากชนบทเพื่อมาหางานทำในเมือง ข้าวของส่วนใหญ่ที่เอามาก็ต้องหนีไม่พ้น ที่นอน หมอนมุ้ง เสื่อ เพราะบางบริษัท ไม่มีที่พักให้กับพนักงาน
เวลาคนถูกให้ออก ก็ต้องเก็บของกลับบ้านกันใช่มั้ยคะ
เวลาเก็บของ ก็ต้องเก็บที่นอน ม้วนเสื่อกลับบ้าน
จนมีสำนวนจีนขึ้นมาคือ 卷铺盖 (juǎn pǔ gài) อ่านว่า ‘จ๋วน ผู่ ไก้’ แปลตรงๆว่า ‘ม้วนเสื่อ’ หรือ ‘ถูกให้ออก’ นั่นเองค่า
1
จริงๆก็เหมือนภาษาไทยนะ ‘ม้วนเสื่อกลับบ้าน’ งี้🧳
แต่ไปๆมาๆ คนก็มีความรู้สึกว่า จะพูดว่า ‘ไล่ออก’ หรือ ‘เลิกจ้าง’ ก็ดูจะรุนแรงไป มันค่อนข้าง sensitive ต่อจิตใจ💔คนเลยหาคำเปรียบเทียบใหม่
จนมีคนค้นพบว่า เวลาเราผัดปลาหมึก เมื่อปลาหมึกโดนความร้อนหรือกำลังจะสุก มันจะค่อยๆม้วนตัวเข้าหากัน ตัดภาพมาคล้ายๆกับอารมณ์ ม้วนเสื่อ
1
ตั้งแต่นั้นมาคนก็เลยเปรียบเปรย การที่ถูกไล่ออกว่า ‘ผัดปลาหมึก’ นั่นเอง
สุดท้ายนี้ หวังว่าทุกคนจะไม่โดนผัด 炒鱿鱼 กันนะคะ❤️
ฝากกด react กด share หรือ comment เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ❤️🧡💛💚💙💜
ขอบคุณค่ะ🙏
โฆษณา