Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
2 ก.ค. 2021 เวลา 05:10 • ไลฟ์สไตล์
ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” ศิลปะบนแก้วกาแฟนม มีต้นกำเนิดมาจากใคร ?
มาเริ่มต้นกันที่ “ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” คืออะไรกันก่อน ?
ลาเต้ (Latte) เป็น เป็นภาษาอิตาเลียน แปลว่า นม
อาร์ต (Art) ก็คือ ศิลปะ ตรงตัว
ส่วนกาแฟนม ที่เราคุ้นเคยกัน จะเรียกว่า “คาเฟ่ ลาเต้ (Caffe Latte)”
คาเฟ่ ลาเต้ คือ กาแฟเอสเปรสโซ ผสมกับ นมร้อน โดยมีอัตราประมาณ 1:3
(Latte อ่านออกเสียงที่ถูก จะอ่านว่า ลัต-เต่ะ)
พอมาประสมกัน “ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” จึงเป็นชื่อเรียกของ ศิลปะบนเมนูกาแฟนม ที่เกิดจากการแต่งหน้าฟองนมบนแก้วกาแฟ นั่นเอง
“ลาเต้อาร์ต (Latte Art)”
ซึ่งหัวใจที่สำคัญของ ลาเต้อาร์ต ก็มีด้วยกัน 2 อย่าง คือ
- เครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซ
- คุณภาพของฟองนม ที่ตีจนแตกฟองสวย (หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ Micro-foam)
ส่วนชื่อวิธีการทำ ลาเต้อาร์ต มี 2 ขั้นตอนหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
1. การเทอิสระ (Free Pouring) คือ การเริ่มต้นเทนม ที่อาศัยความชำนาญและความนิ่งของบาริสต้า จาก Pitcher ลงถ้วยกาแฟ
2. การแกะ (Etching) คือ การแกะ วาด สร้างสรรค์ลวดลายของการเทฟองนม บนถ้วยกาแฟ
แต่...ทั้งนี้ พวกเราขออนุญาตไม่พูดเจาะลึกเข้าไปถึงเรื่องวิธีการทำนะ
เพราะขอสารภาพตรงนี้ก่อนว่า พวกเราเอง ก็ยังไม่สามารถทำลาเต้อาร์ต ให้ออกมาสวยงามได้ดีเท่าไร แถมยังออกจะเงอะงะงึกงั่ก ไปเสียด้วยซ้ำ เพียงแต่แค่มีความชอบที่อยากจะทำสนุก ๆ เท่านั้นเอง 🙂
เอาเป็นว่า หากเพื่อน ๆ ท่านไหน มีสูตรหรือเทคนิคดี ๆ ก็มาแชร์ มาสอน ให้พวกเราและเพื่อน ๆ ท่านอื่น ใต้คอนเมนต์ได้เลยนะจ้า
งั้นในวันนี้พวกเรา InfoStory จะขอมาเล่าเรื่องราวต้นกำเนิดของ “ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” สั้น ๆ แทน ละกันนะ !
“ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” มีต้นกำเนิดมาจากใครกันละ ?
ก็ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ. 1980-1990 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุคที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงของศิลปะร่วมสมัยต่าง ๆ เช่น เพลง ดนตรี งานศิลปะต่างๆ จนไปถึง เทรนด์ของการดื่มกาแฟใส่นม และ การเริ่มต้นพัฒนานวัตกรรมการชงกาแฟ ที่เน้นทั้งรสชาติและความสวยงาม
1
ลาเต้อาร์ต มีจุดเริ่มต้นใน เมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา
จากร้านกาแฟและโรงเรียนฝึกหัดบาริสต้า ทีมีชื่อว่า “Espresso Vivace” ของคุณ David Schomer
Espresso Vivace in Seattle, USA
เรื่องราวนี้ อาจฟังดูง่ายดายมาก หากคุณ David Schomer เป็นบาริสต้า หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำกาแฟมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่จ้า !
จุดที่ทำให้เรื่องราวน่าสนใจขึ้นมาก็คือ คุณ David Schomer เรียนจบมหาวิทยาลัย จากสาขามานุษยวิทยา และ ไปเรียนต่อตามความชอบส่วนตัวของนั่นคือการเรียนสาขาเครื่องดนตรี Flute
ก่อนที่ชีวิตของเขาจะไม่ได้ถูกเขียนให้ทำตามความฝัน
ผันกลายมาเป็นช่างซ่อมเครื่องบิน อยู่ที่กองทัพอากาศของสหรัฐและบริษัทโบอิ้ง
ในช่วงชีวิตหลังการลาออกจากงานประจำอย่างช่างซ่อมเครื่องบินแล้ว
คุณ David Schomer ก็ได้เริ่มหันมาหารายได้ จากการทำตามความชอบของอีกอย่างหนึ่ง
นั่นคือ การทำกาแฟ
ซึ่งนั่นทำให้ เขาได้เริ่มต้นทำธุรกิจกาแฟ ในปี ค.ศ. 1988
คุณ David Schomer
หลังจากที่เขาเปิดร้านกาแฟไปได้ไม่นาน (และแน่นอนว่า ไม่ค่อยได้กำไรเท่าไร)
จึงทำให้เขารู้ตัวเองว่า เขาไม่ได้ต้องการหารายได้ หากำไร จากการทำกาแฟ
แต่เขาน่ะ ชื่นชอบและหลงไหลการทำกาแฟใส่นม ซึ่ง เขาได้เปรียบเอาไว้ว่าเป็นดั่งงาน “ศิลปะ”
ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับตอนที่เขาเพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ จาก สาขามานุษยวิทยา และ สาขาดนตรี (Flute)
เพราะการทำกาแฟใส่นม แบบนี้ มันคือความละเอียดอ่อน
ความละเอียดอ่อนที่สวยงามนี้ มันเป็นมากกว่าแค่ การสร้างหน้าตาของฟองนมที่ถูกตีจนแตกฟองสวย และวาดจนเกิดเป็นลวดลายสวยงาม อย่างเช่น รูปหัวใจ หรือ รูปใบเฟิร์น
แต่คุณ David ยังมองไปถึงเรื่องของการรักษาอุณหภูมิของน้ำ เพื่อดึงเอาความหวานของกาแฟเอสเพรซโซ่ออกมาได้อีกด้วย
จากเรื่องราวทั้งหมดตรงนี้ ยังเป็นการสร้างมูลค่าและความประทับใจเพิ่ม
ในกับการเสิร์ฟกาแฟในแต่ละแก้ว ให้กับลูกค้าของเขาด้วย เช่นกัน
นั่นจึงทำให้ เรื่องราวการแต่งลวดลายฟองนมบนกาแฟ ของคุณ David Schomer ได้ถูกเรียกว่า
“ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” และ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในช่วงปี ค.ศ. 1990 จนถึงปัจจุบัน
คุณ David Schomer กำลังตีฟองนม
ผ่านไปแล้ว กับเรื่องราวการกำเนิดลาเต้อาร์ต ของคุณ “David Schomer” ที่สหรัฐอเมริกา
แต่.. แต่ว่า…
จากที่พวกเราไปนั่งค้นหามาอีก ก็พบอีกหนึ่งหน้าการบันทึกของผู้ให้กำเนิด “ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” ที่ผู้คนไม่ค่อยจะพูดถึงเท่าไรนัก
ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ เรื่องราวนี้ ยังไม่มีสิทธิเรียกได้ว่าเป็น ลาเต้อาร์ต อย่างเต็มปากเต็มคำ นั่นเอง
จากหน้าบันทึกนี้ ระบุไว้ว่า “วิธีการทำ ลาเต้อาร์ต เนี่ย มันกำเนิดมาจากดินแดนแห่งกาแฟ ประเทศอิตาลี ตะหากละ ! !”
เอ๊า ! แล้วเรื่องราวนี้มันเป็นอย่างไรอีกละ ?
เรื่องราวการอ้างอิงนี้ ก็ได้กล่าวไกลไปถึงช่วงปี ค.ศ. 1900
ที่มาจากชาวอิตาลี ผู้คิดค้นเครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซเครื่องแรกในอิตาลี และ ยังเป็นผู้ที่เริ่มคิดวิธีการทำกาแฟนม ด้วยสูตรของการนำกาแฟช็อตเอสเปรสโซใส่นม และ เติมด้วยฟองนมที่ตีจนแตกละเอียดเป็นฟองสวยงาม (Micro-foam)
ชาวอิตาลีท่านนี้ มีนามว่า “Luigi Bezzera” จากเมืองมิลาน
เครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซเครื่องแรกในอิตาลี
แต่อย่างไรก็ดี เรื่องราวสูตรการคิดค้นของคุณ Luigi ก็ไม่ได้ถูกแพร่ขยายต่อ
โดยผู้คนชาวอิตาลีในสมัยนั้น ไม่ได้มองว่านี่คือศิลปะ แต่มองแค่ว่า
“นี่มันก็แค่ กาแฟนม (Caffe Latte) เท่านั้นเอง”
ก่อนที่ในเวลาต่อมา เรื่องราวของการทำลวดลายฟองนมกาแฟ สูตรนี้
จะได้ถูกบันทึกไว้โดย คุณ Angelo Moriondo ชาวอิตาลีจากเมืองตูริน
(ซึ่งก็เหมือนจะยังไม่ได้เรียกหรือถูกบันทึกว่า ลาเต้อาร์ต นะ)
คุณ “Luigi Bezzera”
อย่างไรก็ดีนะ ผู้คนทั้งโลก ก็รู้จักคำนิยามของ “ลาเต้อาร์ต (Latte Art)”
ผ่านชื่อและเรื่องราวของการคิดค้นโดยคุณ “David Schomer”
ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้คนทั้งโลก กล่าวถึงเช่นนั้น
ในมุมมองของพวกเรา ก็คือ
วิธีการและช่องทางการเผยแพร่ ของคุณ David ทำออกมาได้ค่อนข้างดี
กล่าวคือ เขาสื่อสารเป็น
เขาที่ทั้งเป็นคิดค้น ทดลอง จนไปถึง สื่อสาร สอน และ เผยแพร่วิธีการทำได้แบบง่าย นั่นเอง
นั่นรวมไปถึง สถานบันการสอนฝึกหัดบาริสต้าอย่าง “Espresso Vivace” อีกด้วยนะ
(เพื่อน ๆ คงแบบ เอ้อ อ้าว นั่นสิเนอะ เกือบลืมไปเลย)
คุณ David Schomer กำลังติวเข้มาริสต้ามือใหม่
ขอแถมเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวข้องกับลาเต้อาร์ต เป็นความรู้รอบตัวให้เพื่อน ๆ นิดนึง เพราะเราอ่านเรื่องราวเส้นทางชีวิตของคุณ “David Schomer” ตรงนี้แล้ว ก็แอบคุ้น ๆ นะ !
ซึ่งขอยิงเป็นคำถามละกัน
เพื่อน ๆ พอทราบไหมว่าเรื่องราวของนักดนตรีที่ผันตัวมาทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกาแฟ
ยังมีแบรนด์อะไรอีกบ้างนะ ?
ติ่กต่อก ๆ …
โอเค เราว่าเราน่าจะถามกว้างไปอีกแล้ว แต่เชื่อว่ามีหลายคน น่าจะตอบกันได้
เฉลย คือ แบรนด์นั้น มีชื่อว่า “Blue Bottle Coffee” แบรนด์กาแฟมูลค่า 2.2 หมื่นล้านบาท
จากเมือง Oakland ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
“Blue Bottle Coffee”
โดยผู้ก่อตั้งแบรนด์กาแฟ ที่มีฉายาว่า “คลื่นลูกที่ 3” ของวงการกาแฟนี้
คือ ชาวอเมริกันนามว่า คุณ “W. James Freeman”
ซึ่งเดิมทีมีอาชีพเป็นนักดนตรีคลาริเน็ต แต่ว่าคลั่งไคล้การดื่มกาแฟ เอาเสียมาก ๆ
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่คุ้นเคยกับคำว่า “คลื่นลูกที่ 3” ของโลกกาแฟ
เอาง่าย ๆ มันหมายถึง ความพิถีพิถันในการชงกาแฟแบบ Slow Bar
หรือการชงกาแฟ ที่ใช้เวลานานกว่า 2 นาที
รวมไปถึงวิธีการชงกาแฟต่าง ๆ เช่น การดริป การสกัดเย็น หรือ Cold Brew
“Blue Bottle Coffee” และ Slow Bar Style
ตั้งแต่คลื่นลูกที่ 3 ของกาแฟได้ออกมา
จึงทำให้ เรื่องราวของการชงกาแฟ ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
(เท่าที่เราศึกษามา ก็อย่างน้อยแทรกซึมเข้าไปในวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ ของคนญี่ปุ่น ที่มีวัฒนธรรมที่เร่งรีบ ได้เลยละ)
อาจกล่าวได้ว่า กาแฟและร้านกาแฟ ได้กลายเป็นมากกว่าแค่ความชอบ หรือ การทำธุรกิจแบบเดิม ๆ เช่นการขายกาแฟที่เน้นความสะดวกไปซะแล้ว
เพราะเทรนด์การดื่มกาแฟ ที่เน้นไปที่คุณภาพและอรรถรสของกาแฟ กลับเป็นที่นิยมมากขึ้นในทันที
“ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” เอง
ก็เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะบนกาแฟนม ยอดนิยม ที่ถูกพัฒนาเทคนิค จนไปถึง เทคโนโลยีเครื่องทำกาแฟนม ที่จะช่วยให้ร้านกาแฟและบาริสต้า สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ อย่างไม่รู้จบ จนมาถึงปัจจุบันนี้
ความพิถีพิถัน ในการทำ “ลาเต้อาร์ต (Latte Art)”
“ลาเต้อาร์ต (Latte Art)” รูปหัวใจ
ก็จบกันไปเรียบร้อยกับเรื่องราวของ “ลาเต้อาร์ต (Latte Art)”
และขออภัยหากเราพาเพื่อน ๆ ออกทะเลไปกับเรื่อราวของ “Blue Bottle Coffee”
หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะได้รับสาระความรู้สบายสมอง ไปกับพวกเรา InfoStory เหมือนเช่นเคย
ช่วงนี้ก็ยังคงขอให้เพื่อน ๆ รักษาสุขภาพกันให้ดีด้วยนะ (ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเลย)
และพวกเราก็ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ให้ทุกคนฝ่าวิกฤติครั้งนี้ ไปด้วยกันได้ 🙂
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- หนังสือ “Coffee Bagpacker กาแฟเดินทาง” เขียนโดย คุณเอกศาสตร์ สรรพช่าง
https://bluemochathailand.com/how-to-make-latte-art/
https://www.coffeepressthailand.com/2020/08/31/latte-art/
https://en.wikipedia.org/wiki/Latte_art
https://www.ioriosgelato.com/.../the-history-and-mystery
...
https://www.baristainstitute.com/.../history-and-basics
...
https://thecoffeedesigner.com/.../the-history-of-latte-art/
https://www.longtunman.com/28793
4 บันทึก
1
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ส่องโลกของกาแฟ - Into the Coffee Universe
4
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย