2 ก.ค. 2021 เวลา 03:55 • สุขภาพ
การทดลองแบบ multicenter RCT ในบราซิล
Patrícia O. Guimarães และคณะจาก Hospital Israelita Albert Einstein ในประเทศบราซิลได้ศึกษาแบบ multicenter randomized controlled trial (mRCT) ชื่อ STOP-COVID เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา tofacitinib ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม Janus kinase (JAK) inhibitor ชนิดรับประทานเพื่อรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) และได้รายงานผลใน New England Journal of Medicine (ฉบับออนไลน์, 16 มิถุนายน 2021) ว่า tofacitinib ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตหรือภาวะระบบหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 ได้อย่างมีนัยสำคัญ 37% เมื่อเทียบกับยาหลอก
การสุ่มผู้ป่วย 289 รายจากสถานพยาบาล 15 แห่ง
cytokine storm ที่เกิดจากการผลิต cytokines ในเลือดมากเกินไป เช่น interleukin (IL) -6 และ tumor necrosis factor (TNF) -α อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของ COVID-19
ในทางกลับกัน tofacitinib ไม่เพียงแต่เลือกยับยั้งเฉพาะ JAK1 และ JAK3 จาก JAKs หลายชนิด ซึ่ง JAKs ทั้งสองเป็นหนึ่งใน tyrosine kinase แต่เลือกทำงานเฉพาะกับ JAK2 ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีผลในการปิดกั้นการส่งสัญญาณภายในเซลล์และยับยั้งการผลิต cytokine
นอกจากนี้ tofacitinib ยังยับยั้งการผลิต cytokine จาก helper T cell และมีผลในการควบคุมการทำงานของ interferon และ IL-6 ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome) ด้วยเหตุนี้ Guimarães และคณะจึงได้ศึกษาแบบ RCT ในครั้งนี้เพื่อพิสูจน์สมมติฐานว่า การให้ tofacitinib อาจช่วยชะลอความเสียหายจากการอักเสบของปอดในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจาก COVID-19
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือผู้ป่วยที่ตรงตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
(1) ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR)
(2) ได้รับการยืนยันผลการตรวจโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 ด้วย CT หรือ X-ray Imaging
(3) เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง
(4) อายุ 18 ปีขึ้นไป
โดยผู้ป่วยดังต่อไปนี้จะถูกคัดออกจากการศึกษา
(1) ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ invasive หรือ non-invasive หรือใช้ extracorporeal membrane oxygenation (ECMO) ในวันที่สุ่ม
(2) ผู้ป่วยที่มี thrombosis หรือมีประวัติเกิด thrombosis
(3) ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
(4) ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง
ในช่วงวันที่ 16 กันยายน - 13 ธันวาคม 2020 มีผู้ป่วยจากสถานพยาบาล 15 แห่งในประเทศบราซิลลงทะเบียนเข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งหมด 289 ราย (เพศหญิง 34.9% อายุเฉลี่ย 56 ปี) และได้รับการสุ่มแบ่งกลุ่มออกเป็น
(1) กลุ่ม tofacitinib: 144 ราย (กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ tofacitinib 10 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 14 วันหรือจนกว่าจะออกจากโรงพยาบาล)
(2) กลุ่มยาหลอก: 145 ราย
|------------------------------------------|
📌เกาะติดข่าวสาร และข้อมูล เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลด! https://bit.ly/3fZUcFe 📲
The all in 1 application for Healthcare professionals.
📰 Medical News, Journals & research summary
👨🏽‍🎓 CPE/CME/CMTE/CPD
🎥 Medical Talk VDO
📲 Download for free now!
💛ทุกดาวน์โหลดคือกำลังใจในการทำงาน ขอบคุณค่ะ💛
|------------------------------------------|
 
primary outcome คือการเสียชีวิตหรือการเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลวในช่วงการติดตามผล 28 วัน (ตรงตามเกณฑ์ระดับ 6 ถึง 8 ของ 8-point ordinal scale ของ National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIAID) ซึ่งประเมินสถานะทางคลินิก 8 ระดับ)
อุบัติการณ์การเสียชีวิตหรือภาวะระบบหายใจล้มเหลวคือ 18.1%
จากผลการวิเคราะห์ อุบัติการณ์การเสียชีวิตหรือภาวะระบบหายใจล้มเหลวในกลุ่มยาหลอกอยู่ที่ 29.0% ในขณะที่กลุ่ม tofacitinib อยู่ที่ 18.1% ซึ่งความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 37%
นอกจากนี้ อุบัติการณ์ของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุซึ่งเป็น secondary outcome คือ กลุ่มยาหลอก 5.5% และกลุ่ม tofacitinib 2.8% (hazard ratio (HR): 0.49, 95%CI: 0.15 - 1.63) ส่วน proportional odds ของคะแนน 8-point ordinal scale ที่แย่ลง ในกลุ่ม tofacitinib เทียบกับกลุ่มยาหลอกหลัง 14 วันเท่ากับ 0.60 (95%CI: 0.36 - 1.00) และหลัง 28 วันเท่ากับ 0.54 (95%CI: 0.27 - 1.06)
อุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงในกลุ่ม tofacitinib อยู่ที่ 14.1% และกลุ่มยาหลอกอยู่ที่ 12.0% ในกลุ่ม tofacitinib พบการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (deep vein thrombosis; DVT), กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction), หัวใจเต้นเร็วที่พบในหัวใจห้องล่าง (ventricular tachycardia) และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) อย่างละ 1 ราย ส่วนในกลุ่มยาหลอกพบการเกิด hemorrhagic stroke และ cardiogenic shock อย่างละ 1 ราย
จากข้อมูลข้างต้น Guimarães และคณะสรุปว่า “ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 ยา tofacitinib ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือภาวะระบบหายใจล้มเหลวใน 28 วันได้ดีกว่ายาหลอก” และเสริมว่า “อย่างไรก็ตามเนื่องจากการศึกษาไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะพบความแตกต่างของ secondary outcome เช่น อัตราการเสียชีวิต แต่ทิศทางของผลก็ดูจะโน้มเอียงไปทางยา tofacitinib”
ประสิทธิผลในการใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสยังไม่แน่ชัด
นอกจากนี้ Guimarães และคณะยังกล่าวถึงกลุ่มตัวอย่าง 89.3% ที่ได้รับการรักษาด้วย glucocorticoids ระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล โดยอธิบายว่า “RCT ในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มยา tofacitinib ในการรักษาแบบมาตรฐานรวมถึงการรักษาโดยใช้ glucocorticoids สำหรับผู้ป่วยในที่เป็น COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด clinical events ได้” อีกด้านหนึ่ง เนื่องจากระหว่าง RCT นี้ ยา remdesivir ซึ่งเป็นหนึ่งในการรักษามาตรฐานสำหรับ COVID-19 ใช้ในประเทศบราซิลไม่ได้ จึง “ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับประโยชน์ของการเพิ่มยา tofacitinib ในยาต้านไวรัสสูตรที่ผู้ป่วยใช้อยู่”
ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขากล่าวถึงการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ระยะเริ่มต้นว่า “จากหลักฐานในปัจจุบัน การรักษาด้วยยาต้านไวรัสน่าจะได้ผลมากที่สุดในผู้ป่วย COVID-19 ระยะเริ่มต้น” และ “เนื่องจากพบอาการทางคลินิกของการตอบสนองต่อการอักเสบที่มากเกินไปในระยะท้าย ๆ ของโรค ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาต้านการอักเสบแก่ผู้ป่วยในที่เป็น COVID-19 ระดับเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง”
เมื่อเดือนเมษายน 2021 ยา baricitinib ซึ่งเป็น JAK inhibitor ชนิดรับประทาน ได้รับการอนุมัติให้รักษาโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 ทางคณะวิจัยได้แสดงความคิดเห็นว่า “มีหลักฐานสนับสนุนว่า JAK inhibitor อาจเป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการรักษาผู้ป่วยในที่เป็นโรคปอดอักเสบจาก COVID-19 ที่ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ invasive” เนื่องจากการศึกษา ACTT-2 ซึ่งเป็น RCT และการศึกษา STOP-COVID ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการใช้ยา baricitinib ร่วมกับยา remdesivir
ดูข่าวเเละบทความทางการเเพทย์ทั้งหมดที่เรามี ฟรี! ได้ที่ >> https://bit.ly/3fZUcFe <<📲
MLT - Tofacitinib ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบจาก COVID-19
โฆษณา