Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
2 ก.ค. 2021 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
ย้อนกลับไป 33 ปี คือ วันที่ 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531 หลายคนเคยได้ยิน พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ครับ แต่เชื่อเหลือเกินว่าน้อยคนจะทราบว่า พระราชพิธีดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 2531 ครับ
พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก (Ceremonial Rajamangala) เป็นพระราชพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์
พระราชพิธีดังกล่าว ในปัจจุบันมีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นครับ
ครั้งแรก พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2451
เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี ซึ่งยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์สองพระองค์ของกรุงศรีอยุธยา คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ครั้งที่สอง พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในรัชกาลที่ 9 พุทธศักราช 2531 (Rajamangala Celebrations Reign.9 2th july 1988) เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่เคยครองราชย์ยาวนานที่สุด นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531 เป็นเวลา 42 ปี 23 วัน
แสตมป์รัชมังคลาภิเษก 2531
พระราชพิธีนี้ รัฐบาลสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และ ประชาชนชาวไทย ร่วมกันจัดขึ้น ดังปรากฏเป็นเหตุการณ์ กำหนดการจัดงานในระหว่างวันที่ 2, 3 และ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531 รวมทั้งสิ้น 3 วัน
ตราสัญลักษณ์ งานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
ตราสัญลักษณ์ งานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประดิษฐานอยู่กึ่งกลาง และมี เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกรชัยพฤกษ์ พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี และฉลองพระบาทเชิงงอน ประกอบอยู่โดยรอบ พร้อมฉัตร 7 ชั้น ประดับอยู่ซ้ายและขวา มีแพรแถบจารึกอักษรข้อความว่า “พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑”
ในวาระพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2531 นี้ ได้จัดจัดพิมพ์ดวงตราไปรษณียากรที่ระลึกออกมาด้วยกัน 3 ชุดดังนี้ครับ
ชุดพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ชุดที่ 1
วันแรกจำหน่าย 2 กรกฎาคม 2531
พิมพ์ที่ Société Nouvelle Cartor Sarl, France
ขนาดฟันแสตมป์ : 13 ครึ่ง
ขนาด : 45x27 มิลลิเมตร
วิธีการพิมพ์ : ลิโธกราฟี่
พิมพ์ออกมาชนิดราคา 2 บาท จำนวน 6,000,000 ดวง
ราคาประเมิน ยังไม่ใช้ดวงละ 60 บาท หากใช้แล้ว 8 บาท
แสตมป์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ชุดที่ 1
ภาพบนดวงแสตมป์
พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดบรมขัตติยราชภูษิตากรณ์พร้อมพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
2
ชุดพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ชุดที่ 2
วันแรกจำหน่าย 2 กรกฎาคม 2531
พิมพ์ที่ The Government Printing Bureau, Ministry of Finance, Japan
ขนาดฟันแสตมป์ : 13 ครึ่ง
ขนาด : 48x33 มิลลิเมตร และ 33x48 มิลลิเมตร
วิธีการพิมพ์ : โฟโตกราวูร์
ทั้งชุดพิมพ์ออกมาชนิดราคา 2 บาท แบบละ 4,000,000 ดวง
ราคาประเมิน ยังไม่ใช้ดวงละ 12 บาท หากใช้แล้ว 6 บาท
แสตมป์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ชุดที่ 2
บนดวงแสตมป์ เป็นภาพเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์อันเป็นเครื่องราชูปโภคประกอบพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์
พระมหาพิชัยมงกุฎ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเพชรม็ดใหญ่ที่เรียกว่า "มหาวิเชียรมณี" มาประดับที่ส่วนยอดของมงกุฎ
พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงขรรค์โบราณฝีมือช่างขอมพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้ทำด้ามและฝักด้วยทองลงยาประดับมณี
ธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ ทำด้วยไม้ชัยพฤกย์ทุ้มทองคำ
พระวาลวิชนี คือ พัดทำด้วยใบตาลปิดทองมีด้ามและเครื่องประกอบเป็นทองคำลงยาพร้อมแส้จามรี
ฉลองพระบาททำด้วยทองคำสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 สันนิษฐานว่าใช้เฉพาะพีธีบรมราชาภิเษก
ชุดพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ชุดที่ 3
เยี่ยมชม
blockdit.com
[เรื่องราวจากของเก็บ] พระที่นั่งหรือพระราชอาสน์
พระที่นั่งหรือพระราชอาสน์
ที่มาข้อมูล
https://th.m.wikipedia.org/wiki/พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก_พ.ศ._2531
1 บันทึก
11
16
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ในหลวง “ภูมิพล”
1
11
16
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย