2 ก.ค. 2021 เวลา 04:49 • ประวัติศาสตร์
เล่าไปอ๋อไป ตอน “กษัตริย์เจ้าสัว”
 
เป็นยังไงกันบ้างครับ? ธุรกิจหวยที่ลุ้นตอนบ่ายแก่ๆ เข้าเป้าไหมครับ ร่ำรวยอย่างกับเจ้าสัว💰หรือแยกย้ายกันทำงานต่อไป🤪 พูดถึงเจ้าสัว ท่านผู้อ่านนึกถึงใครครับ หากเอ่ยคำนี้ คือไม่พ้นเจ้าสัวซีพี เจ้าสัวเซ็นทรัล ประมาณนี้แน่ เอ…แล้วคำนี้มีที่มาจากไหนนะ เป็นคำไทยหรือเปล่า เล่าไปอ๋อไปขอสาขาไขปัญหานี้ครับ!!!
1
ขอบคุณเครดิตภาพผู้จัดการออนไลน์ : mgronline.com
“เจ้าสัว คำนี้มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่เรียกว่า “จ่อ-ซัว” จ่อ: ที่นั่ง ซัว : ภูเขา เปรียบเทียบว่านั่งอยู่บนกองเงินกองกองทองบนภูเขา มักใช้กับเศรษฐีที่มีเชื้อสายจีนเป็นหลัก อาทิ เจ้าสัวธนินท์-CP. หรือเจ้าสัวชิน โสภณพานิช-ธนาคารกรุงเทพ และอื่นๆ จ่อซัวเรียกเพี้ยนเป็นเจ๊สัว และเจ้าสัว ในที่สุด อ๋อไหมครับ!!! …อ๋อ เจ๊สัวใช่ละครับอ่านไม่ผิด ในสมัยรัชกาลที่สอง เจ๊สัวเนียมหรือพระศรีทรงยศ ได้พัฒนาที่ดินตรอกเจ๊สัวเนียม ตลาดที่พ่อค้าจีนให้ความนิยมสูงสุดในกรุงเทพฯ ตลอดสองร้อยกว่าปี ต่อมาเรียกตรอกนี้ว่าตลาดเก่านั่นเอง…อ๋อ
แม่นแล้วครับ!!! คำนี้เรียกตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์และเป็นคำที่พระพุทธเลิศลาศฯรัชกาลที่2 เรียกขนามนามพระนั่งเกล้าสมัยช่วยราชการแผ่นดินอยู่บ่อยๆ แซวว่าเป็นเจ้าสัว!!!! ครับคำนี้ท่านเรียกโอรสของท่านเพราะกษัตริย์พระนั่งเกล้าในเวลานั้นช่วยทำการค้าขาย และได้ผลกำไร นำเงินทองเข้าแผ่นดินเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าทั้งค้าขายและจิ้มก้อง* ด้วยความโดดเด่นทางการค้าเรียกได้ว่าในสมัยพระองค์ มีการบันทึกว่ามีเรือที่ไปค้าขายถึง 89 ลำในรอบ 10 ปีกับทางจีน ทั้งเมืองกวางตุ้ง,หนิงปอ,เซี่ยงไฮ้และบางครั้งไปถึงปักกิ่ง ซึ่งตรงทางสมัยพระเจ้าเตากวงของราชหมิงชิง โดยไทยนำสินค้าที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการคือ ข้าว,น้ำตาล,ไม้ที่ใช้สำหรับต่อเรือ ขากลับก็จะนำชา,ผ้าไหม ชามสังคโลก เรียกว่าค้าขายแบบนี้เรียกว่าวิน-วิน สร้างรายได้ในท้องพระคลังขนาดที่ว่า สะสมไว้ข้างพระที่บรรทม และได้เอ่ยว่าเงินถุงแดงนี้อาจจะได้ใช้ในภายภาคหน้า
ภาพเงินถุงแดงที่สะสมโดยกษัตริย์เจ้าสัว ขอบคุณภาพจาก : ไทยรัฐออนไลน์
และเป็นจริงอย่างที่กษัตริย์เจ้าสัวได้ทำนายไว้ เงินนี้นำออกมาใช้ในสมัย 2 รัชกาลถัดมา รัชกาลที่ห้าใช้ในการจ่ายค่าเบี้ยปรับในวิกฤตร.ศ.112 กับฝรั่งเศส ไว้ติดตามกันนะครับ
เรือสำเภา วัดยานนาวา : ผู้จัดการออนไลน์
เกร็ดน่ารู้
✅ 💰 เงินถุงแดงที่สะสมในสมัยพระองค์ท่านมีถึง 40,000 ชั่ง โดย 10,000 ชั่งนำมาบูรณะวัดและสร้างเพิ่มเติมในเกาะรัตนโกสินทร์ อาทิ วัดราชโอรส,วัดราชนัดดา,โลหะปราสาท และสร้างเรือสำเภาจำลองไว้ที่วัดยานนาวา โดยแจ้งว่าสร้างให้คนรุ่นหลังได้ดูไว้ เพราะภายหน้าเรือจะเป็นรูปแบบใหม่เป็นเรือกลไฟ มีโอกาสไปหาชมกันนะครับ (วัดยานนาวา-บางรัก)
✅ พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ที่วัดโพธิ์ก็สร้างในสมัยพระองค์ถือเป็นพระนอนที่ยาวที่สุดในประเทศในสมัยนั้น เป็นที่ต้อนรับราชอาคันตุกะ
1
✅ จิ้มก้องคือทางไทยเดินทางไปส่งของไปราชบรรณาการราชวงศ์จีน คล้ายกับการแสดงความเป็นมิตร นอบน้อมระหว่างสยามประเทศกับจีน
✅ นอนจากคำว่าเจ้าสัวเป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว คำว่า “เถ้าแก่” ก็เช่นกัน แต้จิ๋วเรียกว่า เถ่าแก่ (หัว+บ้าน) หมายถึงเจ้าของกิจการที่มีฐานะ ….อ๋อ และคำหลายๆคำล้วนมาจากแต้จิ๋วทั้งนั้น แอดมินขอยกตัวอย่างนะครับ เรียกว่าทุกท่านจะอ๋อ..อ๋อและอ๋อ ปาท่องโก๋, บ๊ะจ่าง, ปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้,หวย,เปาปุ้นจิ้น เป็นต้น ไว้ๆแอดมินจะขยายความเรื่องพวกนี้ในบทถัดๆไปนะครับ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน😊
กดไลท์ แชร์และฝากติดตามด้วยครับ❤️
โฆษณา