2 ก.ค. 2021 เวลา 10:15 • อาหาร
เพิ่มอาหารสมองด้วยข้อมูลประวัติอาหารแบบสั้นสั้นหน่อยไหมครับ? จากโพสที่แล้วที่สยามทำการค้าขายกับกวางตุ้ง ระหว่างกินอาหารเช้าผมก็นึกขึ้นมาได้เรื่องหนึ่ง เอทำไมภาษาอังกฤษเรียกซอสมะเขือเทศว่า Ketchup (เคทฉับ) ทำไมไมีเรียก Tomato Sauce ทับศัพท์ มันมีที่มาจากมณฑลกวางตุ้ง ศูนย์รวมอาหารอร่อยครับ
ในฉลากก็เขียนเป็น Tomato Ketchup
เรื่องมีอยู่ช่วงอพยพของคนจีน อย่างแต้จิ๋วส่วนใหญ่มาไทย นอกนั้นก็มีแคะ ฮกเกี้ยนบ้าง ส่วนคนกวางตุ้งช่วงนั้นเกิดภาวะบ้านเมืองเกิดการอดอยาก ประกอบกับทวีปอเมริกาต้องการขุดเหมืองแร่และสร้างทางรถไฟจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก คนเหล่านี้จึ้งออกไปแสวงโชคเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มีวันหนึ่งระหว่างอยู่ในครัว พ่อครัวจีนและพ่อครัวอเมริกันคุยกันให้หยิบ Tomato Sauce 🥫 พ่อครัวจีนกวางตุ้งกับเรียกสิ่งนี้ทับศัพท์ว่า “แขจั๊บ” (แข-มะเขือเทศ // จั๊บ-เหมือก) พ่อครัวอเมริกันเข้าใจว่าเจ้าสิ่งนี้เรียกว่า เคทฉับ จากแขจั๊บในวันนั้นเรียกเพี้ยนเป็น เคดฉับ Ketchup เป็นการกลืนทางวัฒนธรรมและนิยมใช้ในที่สุด อ๋อไหมครับ!!
บางยี่ห้อเรียก Ketchup บางอันเรียก Tomato Sauce อาจจะแตกต่างตรง ketchup ใช้น้ำส้มสายชู แต่ Tomato Sauce ไม่ใช้ครับ
ถึงบรรทัดนี้ทุกท่านคงสงสัย เค้าไม่มีศัพท์หรอ จะบอกว่ามะเขือเทศเป็นผักที่เพิ่งได้รับความนิยมไม่นาน และศัพท์หลายคำของจีนก็เรียกเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Long Time No See (Hao jiu mei jian) ก็มาจากคนจีนที่หัดพูดอังกฤษ โดยใช้คำศัพท์ผิดๆ แต่กลับเป็นคำที่เรียกในปัจจุบัน ส่วนในประเทศไทยบ้านเรา เป็นร้อยเป็นพันคำที่เราเรียกทำศัพท์จากภาษาจีน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นทางศัพท์จีนแต้จิ๋ว (1,400 ล้านคน คนจีนพูดแต้จิ๋วในมณฑลกวางตุ้งมีประมาณ 30-40 ล้านคน) คำอะไรบ้างล่ะ? ชา,กาแฟ, เก้าอี้, ปาท่องโก๋ รวมถึงชื่อเมืองต่างๆในประเทศไทย ปักกิ่ง,เซี่ยงไฮั อ๋อไหมครับ
ปล. ถ้าคุณมีโอกาสไปเมืองจีน บอกคนจีนว่าเคยไปปักกิ่ง เค้านี่เกาหัวเลยนะครับ เพราะจีนกลางเรียกว่า Beijing (เป่ยจิง) ภาษาแต้จิ๋วก็เหมือนชนกลุ่มน้อย ใช้น้อยมากๆ แต่เผอิญที่อพยพมาที่ไทยส่วนใหญ่กว่า 50-60 % เป็นคนแต้จิ๋วนั่นเอง อ่อ… เล่าไปอ๋อไปขอจบบทความสั้นๆ ไม่หนักเหมือนที่ผ่านๆมา เข้ากับสถานการณ์ช่วงนี้ รักษาสุขภาพด้วยนะครับ อ่อ…ฝากกดติดตามด้วยนะ
ชูใจ เล่าไปอ๋อไป
โฆษณา