2 ก.ค. 2021 เวลา 15:37 • ดนตรี เพลง
[รีวิวอัลบั้ม] Hall of Fame - Polo G
เข้าสู่วิถีคนดัง
[รีวิวอัลบั้ม] Hall of Fame - Polo G
-ผมมองว่าไอ้เด็กหนุ่มแห่งเมืองชิคาโก้ Taurus Tremani Bartlett (a.k.a.Polo G) เป็นแร็ปเปอร์โรงเรียนใหม่ที่มาพร้อมกับ intention ที่ดี ไม่เน้นหวือหวาแฟชั่นเท่ากับแร็ปเปอร์รุ่นราวคราวเดียวกัน เขามาสายเพื่อชีวิตวัยรุ่นที่ผ่านชีวิตชาวแก๊งค์มาอย่างโชกโชนแล้วเล่าออกมาด้วยความรู้สึกรำลึกมากกว่าที่จะเน้นไปทางอันตราย ถ้าได้ฟัง 2 อัลบั้มที่ผ่านมา โทนเพลงของ Polo G จะหลีกเลี่ยงโทน Gangsta อันพลุ่งพล่านมากสุดเท่าที่ทำได้ เป็นแร็ปเปอร์สาย Lyricist ที่นานๆครั้งจะเห็นทีในหมู่แร็ปเปอร์โรงเรียนใหม่ แร็พสไตล์ melodic flow อัดแน่นไปด้วยความรู้สึกปลงๆของคนที่ผ่านช่วงชีวิตอันโหดร้ายของจริง ขนาดปกอัลบั้ม Die a Legend เขาเอารูปเพื่อนสนิทของเขาที่จากไปขึ้นบนหน้าปกประหนึ่งสัญลักษณ์คนบนฟ้าหากลองสังเกตดู
-อัลบั้มลำดับที่ 2 The GOAT ที่ชื่ออัลบั้มออกแนวมั่นหน้า บูสต์อีโก้มากๆ แต่อารมณ์ของเพลงส่วนใหญ่เต็มไปด้วยอ่อนน้อม ผสมความปลงเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ conscious rap ที่เข้มข้นมากขึ้น มีบลัฟบ้างนิดหน่อย แต่ไม่มาก เป็นในเชิงเพิ่มความมั่นใจเสียมากกว่า จากการพิสูจน์ความเป็น The GOAT สาวกฮิปฮอปเห็นพ้องต้องกันว่า หนทางของ Polo G มีแววไปได้ดี พอเรียกความเชื่อมั่นมากขึ้นเรื่อยๆ นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้กระแสของอัลบั้มชุดล่าสุด Hall of Fame มาแรงจนได้อันดับ 1 ใน Billboard 200 แซงหน้า Migos ที่ปล่อย Culture III ชนในวีคเดียวกันด้วย ไม่ริอาจเปรียบเทียบ ว่า ทำไม Migos ที่ดังในวงกว้างมากกว่ากลับต้องพ่ายให้กับไอ้หนุ่มวัย 22 ปีคนนี้ได้ล่ะ ? ภายใต้คัลเจอร์การฟังเพลงแบบสตรีมมิ่งเต็มไปด้วยทางเลือกหลากหลาย การแข่งขันผลิตผลงานย่อมมีสูงอยู่แล้ว สกิลหรือเอกลักษณ์ไม่จัดจ้านพอ ถูกปัดให้ตกขอบได้ ใครได้ชัยก็เท่ากับการที่ศิลปินคนนั้นแม่งต้องมีซัมติง อีกอย่างสมัยนี้คนฟังดันแยกแยะออกซะด้วยว่าใครของจริง ซึ่ง Polo G ก็มีคาแรคเตอร์ที่เรียลจนทุกคนต้องยอมหันมาฟังได้ด้วย
-ถ้าลองไล่อัลบั้มที่ผ่านมา เหมือนเราได้เส้นทางชีวิตของแร็ปเปอร์วัยเพียงแค่ 22 แบบ step by step ของแร็ปเปอร์สร้างเนื้อสร้างตัวจริงๆ Die a Legend เป็นการพยายามหลุดพ้นถึงวิถีชีวิตชาวแก๊งค์ที่อันตรายจนสูญเสียคนรอบข้างไปทีละคน The GOAT คล้ายๆไอ้หนุ่มเกิดใหม่ในวงจรใหม่ที่มอบชีวิตที่ดีกว่า ทั้งนี้ก็ยังระลึกถึงกำพืดตัวเองอยู่เสมอ Hall of Fame เข้าสู่หนทางแร็ปสตาร์ผู้มีชื่อเสียงอย่างจริงจัง ต่อให้ยังไม่เข้าหอเกียรติยศ แต่เขารับรู้ได้แล้วว่าความไปได้ไกลของเขาถือเป็นชัยชนะอันหอมหวานไปแล้ว โดยไม่ต้องเข้าหอเกียรติยศก็ได้
-การเลือกเพลงปล่อยซิงเกิ้ลนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเป็นการเกริ่นนำคร่าวๆว่าจะเล่าชีวิตไปในทางไหน สังเกตจากซิงเกิ้ลที่ได้อันดับ 1 ใน Billboard Hot 100 อย่าง RAPSTAR เป็นความชัดเจนของการประกาศความสำเร็จว่า ต่อจากนี้กูจะยึดการเป็นแร็ปสตาร์เป็นที่ตั้งแล้วนะ copped a BMW, new deposit, I picked up another bag / Like fuck it, I'ma count while I'm in it / I hear planes flyin', crowds screamin', money counters, chains clangin' / Shit, I guess that's how it sound when you winnin' ในท่อนฮุกสื่อถึงความสำเร็จของไอ้เด็กหนุ่ม chi-town ที่ได้ทั้ง BMW นั่งนับเงินเพลินๆ ได้ยินเสียงเครื่องบินเจ็ท สร้อยคอกรุ๊งกริ้งได้ไพเราะขึ้น แสดงถึงชัยชนะของคนที่ถีบตัวเองจากมุมมืดๆได้ จุดน่าสังเกตอีกอย่างคือเอ็มวีเพลงนี้มีสัญลักษณ์ถ้วย รูปปั้นตัวเอง เป็นการสื่อ easter egg ที่ลิ้งค์กับปกอัลบั้มราวกับว่าเค้าวางแผนเพื่อการนี้โดยเฉพาะ พูดอย่างติดตลกเลยก็คือถ่ายเอ็มวีเสร็จปุ๊ป ถ่ายปกอัลบั้มแม่งเลย ไม่เปลืองต้นทุนค่าคอสตูมด้วย
-นั่นคือส่วนหนึ่งของประเด็นความสำเร็จที่ Polo หยิบยกมา flex แบบหอมปากหอมคอ จะมีอยู่ไม่กี่เพลงที่แทรกความเดือดเข้ามาอาทิเช่น GNF (OKOKOK) ที่โชว์แร็ปกระแทกกระทั้น ชนิดที่อยากจะเอาเพลงนี้ไปพ่นใส่ไอ้เหี้ยลุงคนนึง Boom และ Go Part 1 ที่มีโทนกระโชกโฮกฮาก Broken Guitar ที่เพิ่มบทบาทของรีฟกีตาร์ให้แลดูร็อคสตาร์ แต่ไม่โอนเอียงไปทาง emo มาก และยังมีเพลงสาย drill จัดอย่าง Clueless ที่ได้ Fivio Foreign และแร็ปเปอร์ผู้ล่วงลับที่ชื่อเสียงมลายหายไปง่ายๆอย่าง Pop Smoke ที่ได้ข่าวว่าแกอัดเพลงนี้เป็นเพลงท้ายๆก่อนเสียชีวิตด้วย
-ประเด็นส่วนใหญ่กว่า 70% อยู่ที่ความทรงจำอันเลวร้ายในอดีตที่ยังคงหยิบออกมาระลึกกันอยู่เรื่อยๆ ราวกับว่าแกคือแร็ปเปอร์ที่จมอยู่กับภาวะ PTSD และความรู้สึกผิดแบบ Survivor’s guilt แบบที่มูฟออนไม่ได้โโยง่าย ต่อให้ปัจจุบันจะมีความสุกสว่างในอนาคตก็ตาม ขนาดแทร็กเปิดอัลบั้มแรกอย่าง Painting Picture เขายังไม่คิดที่จะใส่ความสนุกกระแทกใส่คนฟังตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ยังคงระลึกถึงเพื่อนสนิทที่ชื่อ Edward ซึ่งกำลังจะมีอนาคตสดใสมีแววจะได้เป็นนักบาสจนโค้ชบอกว่า เขามีความคล้าย Kevin Durant แต่ชาตะขาดกลับโดนยิงเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 17 ปีเท่านั้น การตายของ Edward ดันเป็นแรงบันดาลใจในแทร็คสุดท้าย เดี๋ยวมา mention กัน
-แทร็คที่สาม No Return ต่อเนื่องจาก RAPSTAR ที่ว่าด้วยการยึดเป้าหมายชีวิตของการเป็นแร็ปสตาร์ แต่คราวนี้เขาขอยึดมั่นถึงการไม่ขอกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบเดิมตามที่ชื่อเพลงต้องการจะสื่อ มาในโทนจริงจัง โดดเด่นลวดลายสีไวโอลิน ยังมี The Kid LAROI มาจัดท่อนฮุกด้วย พร้อมรุ่นพี่ Lil Durk มาจัดแร็ปให้ Epidemic เป็นความปลงจากการสูญเสียเพื่อนร่วมแก๊งค์ในอดีตที่เกิดขึ้นจากภาวะที่ต้องกักตัว ทั้งนี้ Polo ก็ปฏิญาณตนไม่กลับไปใช้ชีวิตแสนอันตรายเพราะเห็นแก่ลูกชายของเขา ข่มใจสู้กับไลฟ์สไตล์ที่เป็นพิษใน Toxic ที่มีอยู่ท่อนนึงที่เขาระลึกถึง Juice WRLD ด้วยว่า การจากไปอย่างกระทันหันของเพื่อนจากภาวะ overdose ทำให้เขาตัดสินใจเลิกยา Legends never die, you the reason I stopped poppin’ Percs
-จุดน่าสังเกตอีกอย่างคือ ฟีทเจอร์นอกเหนือจากแขกรับเชิญอันคุ้นเคยตั้งแต่หลายแทร็คที่ผ่านมา ช่วงครึ่งหลังอัลบั้มเป็นช่วงแห่งการยัดแขกรับเชิญที่ดังกว่าในระดับเมนสตรีม มาสุมไว้ราวกับว่า Taurus อยากก้าวไปสู่จุดที่เมนสตรีมมากกว่านี้ เราจะได้เห็นโทนเพลงที่ลดความ tense ลงอย่างเห็นได้ชัด เห็นเนื้อหาที่เปลี่ยนผ่านจากการระบายเรื่องโหดร้ายของชาวแก๊ง มาเป็นความ suffer ของคนมีชื่อเสียง จนอยากจะหาอะไรมาปรนเปรอความสุข
-ไล่ตั้งแต่การอยากปาร์ตี้เฉลิมฉลองทั้งคืน ลืมความทุกข์ชั่วขณะในเพลง Party Lyfe ที่ได้ DaBaby มาร่วมแจม โชว์ความ flex และ Wealthy ณ ปัจจุบันจากที่เคยสูญเสียบางอย่างกับรุ่นพี่ Young Thug ในเพลง Losses การถามหามิตรภาพที่ยั่งยืนนอกเหนือจากชื่อเสียงเงินทองในเพลง Fame & Riches ร่วมด้วย Roddy Ricch ดวลแร็ปกับ Lil Wayne ด้วยบทสนทนารุ่นพี่รุ่นน้องในวงชาวแก๊งค์อย่าง GANG GANG และ For the Love of New York ที่เตรียมมากะเอาใจสายเมนสตรีมโดยเฉพาะด้วยการใช้ท่วงทำนองของ Dancehall และการอ้างอิงถึงบ้านเกิดของแขกรับเชิญ Nicki Minaj แบบออกนอกหน้า ทั้งๆที่เจ้าตัวก็ไม่ได้มาจาก New York ด้วย เหมือนเป็นการพรรณนาสไตล์คนนอกถิ่นเสียมากกว่า
-เอาจริงโทนเพลงของ Taurus ยังคงคาดเดาได้ง่าย เพราะเดินบีท Trap Piano เกือบทุกเพลง อย่างไรก็ดีท่วงทำนองลึกๆบางอย่างต่อการไม่สร้างงานเพลงที่เน้นความหวือหวาทั้งวาจาและทัศนคติก็เป็นได้ อย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่า สิ่งที่พรั่งพรูออกมาคือความ struggle ล้วนๆ พยายามไม่ยอมให้ความสำเร็จที่เข้ามากกลืนกินตัวเองได้โดยง่าย นับว่าเป็นความถ่อมตัวส่วนตัวที่เขาพอจะมีแนวโน้มเป็นแร็ปเปอร์ที่ดีได้
-ด้วยความที่แกเป็นสาย Lyricsist เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อัดแน่นด้วย verse แน่นๆ และมาทั้ง 20 แทร็คซะด้วย ดันกลายเป็นความล้นที่เป็นอุปสรรคในการตะลุยฟังอยู่เหมือนกัน ขนาดเพลง Zooted Freestyle ระบุอยู่ว่าเป็นฟรีสไตล แต่เอ็งใส่แร็ปเพลินประหนึ่งเป็นเพลงนึงเลยด้วยซ้ำ ตัวอย่างบางเพลงที่อุตส่าห์เชิญแขกรับเชิญมาอย่าง Losses และ Fame & Riches ผมกลับมองว่า ทั้ง Young Thug และ Roddy ยังไม่เติมเต็มขนาดนั้น บางทีประเด็นที่หยิบยกก็แทบจะซ้ำจากสิ่งที่ผ่านมาก็เป็นได้ ส่วนนี้เลยทำให้เป็นส่วนเกินไปโดยปริยาย ทั้งๆที่ Taurus เองก็โชว์เซนส์อาร์แอนด์บีได้เข้าท่าแล้วในเพลง So Real และเพลงเบรคอารมณ์ในลักษณะคล้ายคลึงกันอย่าง Heart of Giant ที่ทำออกได้เสนาะหูแลไพเราะล้ำหน้าไปก่อนแล้ว
-แน่นอนว่าสกิลของ Taurus อาจจะไม่หวือหวาหรือจัดจ้านมาก แต่เขาเป็นแร็ปเปอร์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเป้าประสงค์ และมีความหนักแน่นในอุดมการณ์พอสมควร ถ้าเริ่มล้าจากหลายแทร็คที่ผ่านมา อยากให้ลองฟังเพลงสุดท้าย Bloody Canvas เป็นการงัดไม้ตายโชว์สกิล storytelling ได้อย่างเดือดดาลและสะเทือนใจพอกัน ซึ่งเรื่องแต่งของแกได้แรงบันดาลใจมาจากการตายของเพื่อนที่ชื่อ Edward (จากที่กล่าวไว้ตอนรีวิวแทร็คเปิดอัลบั้ม) มีจุดร่วมเป็นวงจรแห่งความรุนแรง ในส่วนของดีเทล Taurus สมมติทั้งเหตุการณ์และตัวละครหลัก 3 คน คนแรกชื่อ Sed โตขึ้นมาในครอบครัวที่เป็นชาวแก๊งค์ โดนพ่อสอนให้จับปืนตั้งแต่อายุ 5 ขวบด้วยเหตุผล self-defend ปกป้องครอบครัว จนเติบโตเป็นวัยรุ่นที่ห้าวหาญ มีเพื่อนชื่อ Jacob ที่ชอบเล่นบาสมากกว่าไปตีป้อมอริ มีอยู่วันนึงที่อรินามว่า Rodney เล่นลอบกัด ยิง Jacob ตาย Sed เกิดความโกรธแค้น เอาคืน Rodney แบบเอาตาย สุดท้าย Sed ไม่รอดตำรวจ ถูกศาลตัดสินจำคุกเกือบครึ่งศตวรรษ
-จุดสังเกตสุดท้ายเกี่ยวโยงระหว่างเพลงแรกและเพลงสุดท้าย เหมือนเป็นการเปรียบเปรยกลายเลยก็ว่าได้ ถ้าหากแปลตามชื่อ เพลงแรกคือการวาดภาพฝันที่ออกจะสวยงาม จนกระทั่งมันกลายเป็นภาพวาดที่กลับไม่ได้ถูกสานฝันให้เป็นจริง เพราะตายเสียก่อน แทร็คสุดท้ายจึงเป็นการลบล้างภาพวาดอันสวยงามเหล่านั้นด้วยเลือดที่กระเด็นกระดอนจากวงวานของความรุนแรงในสังคมนั่นเอง จุดนี้ทำให้เราได้เห็น Taurus มีการวางแผนในการปูแนวทางจำพวกพยายามหลุดพ้นจากวงจรอุบาทว์ในอดีตมากพอสมควร ซึ่งเป็นสิ่งที่แร็ปเปอร์รุ่นใหม่น้อยคนจะมี แต่ Taurus กลับหนักแน่นในอุดมการณ์เหล่านี้
-ผมยังคงชอบ The GOAT มากที่สุด แต่ก็อัพเกรดจาก Die a Legend เยอะพอสมควรจนเทียบเท่าฮิปฮอปเมนสตรีมได้อย่างสมศักดิ์ศรีไอ้เด็กหนุ่ม Chi-Town ที่อุตส่าห์หอบความฝันและเรื่องเล่ามาเต็มกระเป๋า เอาออกมาสะท้อนความจริง ไม่ขายฝันไปเรื่อย ก็หวังว่าพอก้าวถึงจุดที่มีชื่อเสียงเต็มขั้นแล้ว จะไม่ถูกสิ่งยั่วยุกลืนกินเสียก่อน
ผมว่าเขาฉลาดพอที่จะไปได้ไกล
Top Tracks: Painting Pictures, RAPSTAR, No Return, Epidemic, GNF (OKOKOK), Go Part 1, Heart of Giant, So Real, Clueless, Bloody Canvas
Give 7/10
Thx 4 Readin’
See Y’all
โฆษณา