ในยามที่ร่างกายแข็งแรง ถือเป็นความโชคดีของทุกคน แต่จะมีกี่คน ที่สนใจจะทำประกันชีวิตเพื่อป้องกันความเสี่ยง โดยคนส่วนใหญ่มองว่า ยังไม่จำเป็น แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุมากขึ้น สุขภาพแย่ลง จนมีโรคประจำตัว การรับประกันภัยมีข้อจำกัดมากขึ้น รับประกันภัยแต่... ต้องจ่ายค่าประกันภัยสูงกว่าปกติ แต่อย่างที่ทุกท่านทราบแนวโน้มการระบาดของโรคภัยมีสูงขึ้นและค่าใช้จ่ายในการรักษาก็มากขึ้น ดั้งนั้น ทางที่ดีเราควรรักษาสุขภาพให้ดีค่ะ หรือทำประกันภัยเพื่อโอนย้ายความเสี่ยงเหล่านี้ให้บริษัทประกันช่วยรับผิดชอบในตอนที่เราแข็งแรง นั่นดีที่สุด แต่หากเลยช่วงเวลาดีๆ แบบนั้นไปแล้ว เราควรทำอย่างไร? วันนี้เราได้หยิบยก 🚨🚨โรคที่มีโอกาสส่งผลต่อความเจ็บป่วยต่อร่างกายมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ⏩ โรคเบาหวาน ⏩ โรคความดัน และ⏩ เนื้องอก ซึ่งจำเป็นต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่หลายๆ คนก็เตรียมพร้อมมากพอ ที่จะสามารถลดความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวเองได้ ซึ่งประกันสุขภาพเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดี แต่เมื่อคิดจะทำประกันสุขภาพก็มักจะเกิดคำถามว่า "ถ้าเรามีโรคประจำตัวและโรคข้างต้น อยู่แล้วจะสามารถทำประกันชีวิตประกันสุขภาพได้ไหม? แล้วจะต้องดำเนินการทำอย่างไรบ้าง?" วันนี้ทางเรามีคำตอบมาให้ค่ะ…
.
🔹 คนมีโรคประจำตัวทำประกันได้ไหม ?
ในการทำประกันสุขภาพเป็นที่ทราบกันดีว่าประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองโรคที่เกิดขึ้นก่อนการซื้อประกัน แต่หากเกิดโรคขึ้นภายหลังประกันจะให้ความคุ้มครองทันที เช่น ก่อนซื้อประกันเป็นโรคเบาหวานมาก่อน ประกันก็จะปฏิเสธการคุ้มครองโรคเบาหวาน แต่หากเกิดโรคหัวใจขึ้นมาภายหลังประกันจะให้ความคุ้มครอง
ในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ก้อนเนื้อ ในการซื้อประกันจำเป็นต้องชี้แจงสุขภาพของตนเองกับบริษัทประกันภัยตามความเป็นจริง ซึ่งบริษัทจะใช้ข้อมูลที่เราชี้แจงมาเป็นข้อพิจารณาเหล่านี้เพื่ออนุมัติหรือเสนอข้อเสนอเพิ่มเติมให้เรา
.
🔹 🔹 เอกสารยื่นชี้แจงโรคประจำตัวที่ใช้ในการสมัครประกัน
โรคความดันโลหิต (Hypertension)
1. ตรวจสุขภาพกับแพทย์แต่งตั้งของบริษัท
2. ยื่นประวัติการรักษาและประวัติการรับยารักษาความดันโลหิตสูง
3. สมุดประจำตัวผู้ป่วย
4. แบบสอบถามเรื่องความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน (Diabetes)
1. ตรวจสุขภาพกับแพทย์แต่งตั้งของบริษัท
2. เตรียมประวัติการรักษาจากโรงพยาบาล
3. สมุดประจำตัวผู้ป่วย
4. ตอบแบบสอบถามเรื่องโรคเบาหวาน
เนื้องอก (Tumor)
1. นำส่งผลการตรวจชิ้นเนื้องอก
2. ประวัติการรักษาจากโรงพยาบาล
3. แบบสอบถามเรื่องเนื้องอก
.
🔹 ข้อเสนอสำหรับการพิจารณารับประกัน
1. สามารถอนุมัติได้แต่สัญญาหลักจำเป็นต้องเพิ่มเบี้ยประกัน เพิ่มความคุ้มครองไปถึงโรคที่เป็นมาก่อนการซื้อประกันที่แจ้งให้ทรางบริษัททราบ ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 20-100% ขึ้นอยู่กับความรุนแรง การควบคุมและภาวะแทรกซ้อนของโรค สำหรับสัญญาเพิ่มเติมจะพิจารณาเป็นรายบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรง การควบคุมและภาวะแทรกซ้อนของโรคเช่นเดียวกัน
2. สามารถอนุมัติได้โดยมีข้อยกเว้นบางโรค ซึ่งต้องดูว่าเราเป็นโรคที่ยกเว้นหรือไม่
3. สามารถอนุมัติได้ แต่ต้องขยายเวลาการรับประกันออกไป ในกรณีที่ผู้ซื้อประกันทำการรักษาอยู่ เช่น การผ่าตัด ต้องพ้นระยะไปก่อนเพื่อรอแสดงผล โดยอย่างต่ำอยู่ที่ 5 ปี เพื่อเป็นการป้องกัน หากเกิดปัญหาหลังซื้อประกันจากการรักษา บริษัทจะต้องชำระค่าสินไหมมากกว่าเบี้ยที่ได้รับ
4. ปฏิเสธการรับประกัน ผู้ซื้อประกันอาจต้องหันไปพึ่งพาประกันสังคมแทน
ความรุนแรง การควบคุมและภาวะแทรกซ้อนของโรค
.
อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันเอง ก็อยากให้ผู้เอาประกันภัยได้รับการประกันภัยอย่างเต็มที่และคุ้มครองมากที่สุด จึงแนะนำให้แจ้งแก่บริษัท เพื่อรับทราบการรักษาทั้งหมด โดยไม่ปกปิดและไม่ทำประกันภัย กับตัวแทนที่ปกปิดข้อมูล ทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์และเกิดผลเสียต่อวงการประกันภัย ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการทำประกันของผู้ที่มีโรคประจำตัวที่นำมาฝากในวันนี้ และสิ่งสำคัญ เราจำเป็นต้องชี้แจงโรคที่เราเป็นตามความเป็นจริงและอ่านเงื่อนไขหรือข้อเสนอที่ทางบริษัทเสนอให้ให้ดีก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา เมื่อต้องการใช้ความคุ้มครองแต่ไม่ได้รับความคุ้มครองในภายหลัง ทำให้เสียเบี้ยประกันไปโดยใช่เหตุนั่นเองค่ะ
แหล่งข้อมูลจาก : rabbitfinance_9 Tails, frank
.
⭕️ ER Consulting Group เราคือทีมงานมืออาชีพ บริการดูแลและให้คำปรึกษา การวางแผนการเงิน สุขภาพ ภาษีส่วนบุคคลและนิติบุคคล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ⭕️
สนใจปรึกษาด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน
ติดต่อทีมงาน ER Consulting Group ได้เลย!!
🔹 โทร 094-4517465