3 ก.ค. 2021 เวลา 00:41 • การศึกษา
Therapeutic Hypothermia - “Hypothermia versus Normothermia after Out-of-Hospital Cardiac Arrest (NEJM 2021)” ตอนที่ 2 ( ขยายความจาก trial และ จาก trial นี้ เราจะเอาไปใช้กับคนไข้ของเราได้อย่างไร ? )
*** ซึ่งเราต้องคุ้ยจาก ตัวเปเปอร์, ตัว Protocol, ตัว Supplementary Appendix ***
จากเปเปอร์ Hypothermia versus Normothermia after Out-of-Hospital Cardiac Arrest (NEJM 2021) พบว่า อัตราการเสียชีวิตที่ 6 เดือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองกลุ่ม และ functional outcome เมื่อดูในส่วน functional outcome ในกลุ่ม moderately severe disability หรือ worst ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองกลุ่ม
เขาเอาใครมาเข้า trial นี้บ้าง
Inclusion criteria
• Out-of-hospital cardiac arrest of a presumed cardiac or unknown cause
• Sustained Return of spontaneous circulation (ROSC) - defined as 20 minutes with
signs of circulation without the need for chest compressions.
• Unconsciousness defined as not being able to obey verbal commands (FOUR-score
motor response of <4) and no verbal response to pain after sustained ROSC.
• Eligible for intensive care without restrictions or limitations
• Inclusion within 180 minutes of ROSC
Exclusion criteria
• Unwitnessed cardiac arrest with an initial rhythm of asystole
• Temperature on admission <30°C.
• On Extracorporeal Membrane Oxygenation prior to ROSC
• Obvious or suspected pregnancy
• Intracranial bleeding
• Severe chronic obstructive pulmonary disorder (COPD) with long-term home oxygen therapy
เรามาขยายความ กลุ่ม Normothermia ใน protocol ว่า ทำอย่างไร
+ อุณหภูมิเป้าหมายอยู่ที่ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 37.5 c (การวัดอุณหภูมิ จะวัดจาก probe ใน bladder หรือ esophageal – intravascular probe)
+ แต่ถ้าอุณหภูมิแรกรับอยู่ที่ 30-33 c แนะนำให้ rewarm จนได้อุณหภูมิ 33 c แต่ถ้าไม่มากกว่า 33 c ไม่ต้อง rewarm จน normothermia (36.5 – 37.7 c)
+ ถ้าอุณหภูมิ เริ่มขึ้นแนะนำให้ใช้วิธี conservative หรือ ให้ยา anti-pyretics ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า หรือ เท่ากับ 37.8 c ให้ใช้ cooling surface หรือ intravascular temperature management device
+ การใช้ ระยะเวลาในการควบคุมอุณหภูมิ ใช้ระยะเวลา 72 ชั่วโมง นับจากเวลาที่เริ่มทำ
+ ประเมิน neurological prognosis : ระยะเวลา 96 ชั่วโมง นับจากเวลาที่เริ่มทำ
การให้ยา sedate : จะใช้ยา sedate เช่น propofol, midazolam, remifentanyl, fentanyl, dexmetromidine ในการ sedate คนไข้ให้ได้ RAAS ที่ -4 (no response to voice, but any movement to physical stimulation)
การให้ยาควบคุม shivering : จะประเมินโดยเขาใช้ BSAS score ที่ 0,1 ยาที่ใช้ ได้แก่ a. acetaminophen b. propofol-midazolam/dexmedetomidine and/or opiate c. neuromuscular blocking agent
(The Bedside Shivering Assessment Scale (BSAS)
0 None : No shivering
1 Mild : Shivering localized to neck/thorax, may be seen only as artifact on ECG or felt by palpation
2 Moderate : Intermittent involvement of the upper extremities ±thorax
3 Severe : Generalized shivering or sustained upper/lower extremity shivering )
Hypothermia versus Normothermia after Out-of-Hospital Cardiac Arrest (NEJM 2021) : https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2100591
เรียบเรียงโดย
นพ.วศิน จิริศานต์ (หนอนน้อยอ่านเปเปอร์)
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤต
โฆษณา