3 ก.ค. 2021 เวลา 01:23 • ความคิดเห็น
ปัญหาหนึ่งที่ผมพบเกี่ยวกับการศึกษาบ้านเราโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คือการพยายามสอนให้เด็กจดจำและทำโจทย์ได้ แต่แทบไม่เข้าใจอะไรเลยว่าแนวคิดพื้นฐาน (concept) คืออะไร?
ความจำเป็นสิ่งสำคัญ แต่มันควรถูกผลักดันไปให้ไกลจนถึงความเข้าใจด้วย ดังที่นักฟิสิกส์อย่างริชาร์ด ไฟน์แมน กล่าวไว้ว่า "เราสามารถท่องจำชื่อของนกในทุกๆภาษาได้ แต่การลงทุนลงแรงทำแบบนั้นไม่ได้ทำให้เราเข้าใจอะไรเกี่ยวกับนกตัวนั้นเลย"
1
อีกอย่างคือ เด็กมักจะเจอโจทย์ปัญหาโดยไม่รู้เลยว่ากำลังทำโจทย์เหล่านั้นไปทำไม พวกเขาเรียนรู้ขั้นตอนการทำโจทย์ไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้คำตอบ แล้วก็จบแค่นั้น จากนั้นก็ทำข้อใหม่ไปเรื่อยๆ คล้ายเครื่องจักร
1
ที่มา : https://images.app.goo.gl/Xfv3RCGtgAuL91JT9
มันอาจเปรียบได้กับการเอาตู้เย็นให้เด็ก แล้วสอนให้เด็กขันเกลียว เอาค้อนตอก ไปตามกระบวนการ โดยที่เด็กไม่รู้ตัวว่าเขาทำอะไรอยู่ เขากำลังซ่อมตู้เย็น หรือปรับปรุงมัน หรือแยกส่วนมัน หรือ พัฒนามันเป็นรถถังกันแน่ เอาจริงๆคือเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าชิ้นส่วนสำคัญในตู้เย็นคืออะไรบ้าง
1
- เราผลิตเด็กที่ท่องสูตรคณิตฟิสิกส์ได้มากมาย(จนเด็กฝรั่งตกตะลึงว่าท่องได้ไง) สามารถทำโจทย์ต่างๆได้ในพริบตา แต่กลับไม่ได้เข้าใจอะไรมากนัก
- เราบอกว่าอยากให้เด็กคิดเป็น แต่เราไม่ชอบให้เด็กซักถามมาก (ทั้งที่การซักถามสำคัญอย่างยิ่งต่อการคิดเป็น) เพราะบางทีเรากลัวจะตอบไม่ได้ รู้สึกว่าการตอบไม่ได้เป็นเรื่องหน้าแตกอะไรแบบนั้น
1
- เราอยากให้เด็กวิเคราะห์ปัญหาได้ แต่เราสอนทางลัดที่ไม่มีความเข้าใจใดๆเลยเด็ก แล้วเรียกทางนั้นว่าทางสู่ความสำเร็จ
1
ที่มา : https://www.coe.int/en/web/education/-/online-conference-on-education-for-democracy-in-schools
สุดท้ายเราจึงมีเด็กแค่ 2 แบบหลักๆคือ เด็กที่ทำโจทย์ได้ กับ ที่ทำโจทย์ไม่ได้ แต่ทั้งสองแบบ “แทบจะ” ไม่เข้าใจแนวคิดพื้นฐานของวิชาเลย ไม่เห็นภาพรวมกว้างๆของวิชา หรือ แม้แต่แนวคิดใหญ่ๆในวิชานั้นๆ
2
แน่นอนว่าเมื่อไม่มีฐานก็ไม่ต้องพูดถึงการต่อยอด
อาจวรงค์
2 ก.ค.2564
1
โฆษณา