Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thairath Online - ไทยรัฐออนไลน์
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 ก.ค. 2021 เวลา 05:20 • สุขภาพ
โควิดเดลตา-เดลตาพลัส ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ เปิดแผนรับมือในอินเดีย
4
"Greatest Threat"
1
"ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"
คำจำกัดความสั้นๆ แต่แฝงเร้นไปด้วยความน่าหวาดหวั่นจากปากของ "แอนโทนี เฟาซี" (Anthony Fauci) ผอ.สถาบันโรคติดต่อและภูมิแพ้แห่งชาติสหรัฐฯ และหัวหน้าที่ปรึกษาด้านการแพทย์ประจำทำเนียบขาว ต่อภัยคุกคามที่มีชื่อรหัส B.1.617.2 หรือ "ไวรัสสายพันธุ์เดลตา" (อินเดีย)
2
และ "เจ้าภัยคุกคามที่แสนยิ่งใหญ่นี้" ยังทำเอานายแพทย์แอนโทนี เฟาซี ยอมรับด้วยว่า "อาจส่งผลกระทบต่อความพยายามของสหรัฐอเมริกาในการจำกัดการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ให้หมดไปจากประเทศ"
✤ แล้วสายพันธุ์เดลตาอันตรายมากแค่ไหน?
"ประชาชนยังไม่ควรรู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว พวกเราทุกคนยังต้องป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากาก ล้างมือ และเข้มงวดกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมต่อไป นั่นเป็นเพราะวัคซีนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่เชื้อในพื้นที่ชุมชนได้!" ดร.มารีแองเจลา ซีเมา (Mariangela Simao) ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยอมรับหลังสายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบเป็นครั้งแรกเมื่อช่วงปลายปี 2020 ปัจจุบันได้แพร่ระบาดไปใน 92 ประเทศทั่วโลกแล้ว ณ เวลานี้
10
แถมหนึ่งในจำนวนนั้น คือ ประเทศอิสราเอล ประเทศที่มีค่าเฉลี่ยจำนวนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครบ 2 เข็มมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก (หากเทียบสัดส่วนจำนวนประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีน)
6
โดยรายงานอย่างเป็นทางการของกระทรวงสาธารณสุขอิสราเอล พบว่า มากกว่า 90% ของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศ เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา นอกจากนี้ อิทธิฤทธิ์ของมันยังทำให้ผู้ติดเชื้อรายวันของอิสราเอลที่เคยอยู่ในระดับ "หลักสิบ" มาเกือบตลอดเดือนมิถุนายน
1
จู่ๆ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ตัวเลขผู้ติดเชื้อก็พุ่งทะลุเกิน 200 คน! อีกด้วย (ล่าสุด 29 มิ.ย. 64 อิสราเอลมีผู้ติดเชื้อรายวัน 290 คน)
3
*หมายเหตุ: ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด เป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตให้ฉีดวัคซีน
1
เป็นเหตุให้รัฐบาลอิสราเอลต้องรีบออกมาตรการบังคับให้ชาวอิสราเอลกลับมาสวมหน้ากากในที่สาธารณะ (อีกครั้ง) รวมถึงพิจารณาระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่อาจจะต้องเพิ่มมากขึ้น หลังเพิ่งผ่อนปรนมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมที่อยู่ในภาวะล็อกดาวน์มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ในช่วงการแพร่ระบาดที่ผ่านมา
5
อย่างไรก็ดี ดร.ไมค์ ไรอัน (Mike Ryan) ผู้อำนวยการบริหารโปรแกรมฉุกเฉินด้านสาธารณสุขขององค์การอนามัยโลก กลับให้คำจำกัดความที่แลดู "น่าสะพรึงกลัว" มากกว่าบรรทัดด้านบนที่ "คุณ" เพิ่งผ่านสายตามาเมื่อสักครู่ว่า
"แม้จะยังไม่มีข้อมูลมากพอที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจน แต่ข้อมูลจากการวิจัย ณ ปัจจุบัน บ่งชี้ว่า สายพันธ์ุเดลตา สามารถก่อให้เกิดอาการได้มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งนั่นเท่ากับผู้ติดเชื้อโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีร่างกายอ่อนแอ (มีโรคร่วม) มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะป่วยอย่างรุนแรงถึงขั้นนอนในโรงพยาบาล และเสียชีวิตได้ในกรณีที่ติดเชื้อ"
1
หรือ...หากอ่านมาถึงบรรทัดนี้ "คุณ" ยังนึกภาพไม่ออกว่า สายพันธุ์เดลตาน่าหวาดหวั่นขนาดไหน "เรา" ลองไปรับฟังความเห็นจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ CDC ที่กำลังเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของเจ้าไวรัสสายพันธุ์นี้กันดู
2
"พบการติดเชื้อของผู้ป่วยใหม่รายวัน จากเชื้อสายพันธุ์เดลตาในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% และในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาจากเดิมที่มีสัดส่วนการติดเชื้อเพียง 10% เมื่อช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และจากการศึกษาล่าสุด สายพันธุ์เดลตาสามารถแพร่กระจายเชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ถึง 40-60% หนำซ้ำยังติดต่อกันได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมที่กำเนิดมาจากประเทศจีนอีกด้วย"
2
*หมายเหตุ: ล่าสุด ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2564 สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อรายวัน 11,427 คน เสียชีวิต 294 ศพ (แต่โดยรวมแล้วสถานการณ์เริ่มดีขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้าที่จะมีการระดมฉีดวัคซีน ซึ่งเคยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดถึง 305,079 คน ในเดือนมกราคม)
5
และแทบไม่ต่างสถานการณ์ในสหรัฐฯ เมื่อสายพันธุ์เดลตาได้เข้าไปอาละวาดในสหราชอาณาจักร ดินแดนที่กำลังเริ่มมีสถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ หลังการระดมฉีดวัคซีนอย่างหนักหน่วง
1
ล่าสุด มีรายงานว่า ยอดผู้ติดเชื้อรายวันในสหราชอาณาจักรเกินกว่า 60% เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา และปัจจุบัน สายพันธุ์เดลตาได้ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสูงกว่าสายพันธุ์อัลฟาที่ถูกพบในสหราชอาณาจักรก่อนหน้านี้ไปเรียบร้อยแล้วด้วย
1
*หมายเหตุ: ล่าสุด ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2564 สหราชอาณาจักรมีผู้ติดเชื้อรายวัน 20,479 คน เสียชีวิต 23 ศพ (แต่โดยรวมแล้วสถานการณ์เริ่มดีขึ้นหลังมีการระดมฉีดวัคซีนขนานใหญ่ เพราะในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันเคยสูงสุดถึง 67,803 คน)
✤ แล้วสถานการณ์การแพร่ระบาดสายพันธุ์เดลตาในประเทศอินเดียเป็นอย่างไร?
1
ก่อนที่ "เรา" จะไปกันต่อ...หากใครยังไม่ทราบ ปัจจุบันอินเดียใช้...
1. วัคซีนโควิชีลด์ (Covishield) หรือวัคซีนที่อยู่ภายใต้ใบอนุญาตจากบริษัทแอสตราเซเนกา ซึ่งอินเดียเป็นฐานการผลิตใหญ่
2
2. วัคซีนโควาซิน (Covaxin) ที่อินเดียพัฒนาขึ้นเอง
3. วัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V) ของสถาบันกามาเลยา (Gamaleya Institute) แห่งประเทศรัสเซีย
โดยทั้ง 3 ชนิดนี้ถูกใช้เป็นหลักในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดโควิด-19 ภายในประเทศของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่ามีสายพันธุ์เดลตาอาละวาดอยู่อย่างหนัก
2
*หมายเหตุ: อินเดียเพิ่งอนุมัติใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉินชนิดที่ 4 คือ วัคซีนของบริษัทโมเดอร์นาไปเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา!
2
โดยหากนับตั้งแต่การแพร่ระบาดระลอกล่าสุดในประเทศอินเดีย เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อรายวันที่เคยทะยานเป็นยอดแหลมสูงถึง 414,433 คน ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 และที่ยอดผู้เสียชีวิตรายวันสูงสุดอยู่ที่ 4,896 ศพ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2564
แต่หลังจากการเร่งระดมฉีดวัคซีนชนิดปูพรมทั่วประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตรายวันได้ค่อยๆ ลดลงตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา โดยสิ้นสุดวันที่ 29 มิถุนายน 2564 อินเดียมีผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่ 45,699 คน หรือลดลงเกือบ 11 เท่า! จากยอดการติดเชื้อรายวันสูงสุด ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 816 คนนั้น เท่ากับลดลงไปเกือบ 16 เท่า! จากยอดผู้เสียชีวิตสูงสุด
2
✤ อะไรคือ กุญแจสำคัญในการจำกัดวงการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตาในประเทศอินเดีย?
ตามรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศอินเดียในรอบสัปดาห์ล่าสุด ฉบับที่ 74 ขององค์การอนามัยโลก (สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 64)
อินเดียฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับพลเมืองไปแล้ว 274,013,600 คน และในรอบ 24 ชั่วโมงล่าสุด (ตามรายงานฉบับนี้) ฉีดไปได้มากถึง 2,742,630 คน!
ในขณะที่ ชาวอินเดียที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 อยู่ที่ 58,840,927 คน และในรอบ 24 ชั่วโมงล่าสุด (ตามรายงานฉบับนี้) ฉีดไปได้มากถึง 909,353 คน!
ทำให้รวมแล้วมีชาวอินเดียได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มไปแล้วทั้งสิ้น 332,854,527 คน จากจำนวนประชากร 1,300 ล้านคน ในขณะที่ ยอดการฉีดวัคซีนในรอบ 24 ชั่วโมงล่าสุด (ตามรายงานฉบับนี้) อยู่ที่ 3,651,983 คน!
2
อย่างไรก็ดี แม้ว่าหากนำมาคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนประชากรจะเท่ากับว่ามีชาวอินเดียที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกเพียงประมาณ 22% ส่วนผู้ที่ได้รับครบทั้ง 2 เข็มจะอยู่ที่เพียงประมาณ 4% ของจำนวนประชากรกว่า 1,300 ล้านคนเท่านั้น แต่จำนวนการฉีดวัคซีนต่อวันกลับเป็นอะไรที่น่าเหลือเชื่อเป็นอย่างยิ่ง
2
เพราะล่าสุด รัฐบาลอินเดียได้สั่งเพิ่มการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนจาก 3 ล้านโดสต่อวัน เป็น 6 ล้านโดสต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อให้เท่าทันกับการแพร่ระบาดแล้ว
✤ วัคซีนที่อินเดียใช้ในโลกจริง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหนกับสายพันธุ์เดลตา?
2
ดร.ซุมยา สวามินาธาน (Soumya Swaminathan) นักวิทยาศาสตร์อินเดียประจำองค์การอนามัยโลก ให้สัมภาษณ์กับ เดอะอินเดีย เอ็กซ์เพลส (The Indian Express) ว่า การฉีดวัคซีนโควิชีลด์ (Covishield) หรือวัคซีนที่อยู่ภายใต้ใบอนุญาตจากบริษัทแอสตราเซเนกาเพียงเข็มเดียว ให้ประสิทธิภาพในการต้านทาน หรือการต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากฤทธิ์ของสายพันธุ์เดลตาได้มากกว่า 70%
1
ในขณะที่ สื่อในประเทศอินเดียหลายแห่งรายงานโดยอ้างผลการวิเคราะห์ของ สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือ NIH ที่ระบุว่า วัคซีนโควาซิน ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท ภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) ร่วมกับสถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติอินเดีย หรือ NIV (National Institute of Virology)
และสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งประเทศอินเดีย หรือ ICMR (Indian Council of Medical Research) นั้น จากผลการศึกษาซีรั่มในเลือดของคนที่ได้รับวัคซีนโควาซินครบ 2 เข็ม แสดงให้เห็นว่า วัคซีนได้ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถต่อต้านเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 สายพันธุ์ B.1.1.7 (อัลฟา) และ B.1.617.2 (เดลตา) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยวัคซีนโควาซิน ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดโรคของ SARS-CoV-2 แต่ชิ้นส่วนนี้ยังสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อไวรัส โดยผลการทดลองทางคลินิกในระยะที่ 2 บ่งชี้ชัดเจนว่า วัคซีนมีความปลอดภัยและร่างกายสามารถทนได้โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อวัคซีน ในขณะที่ ผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 น่าจะเสร็จสิ้นและพร้อมใช้งานได้ในปลายปีนี้
*หมายเหตุ: อินเดียอนุมัติใช้วัคซีนโควาซินในกรณีฉุกเฉินตั้งแต่หลังเสร็จสิ้นการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2
1
ด้าน นายบัลรัม ภควา (Balram Bhargava) ผู้อำนวยการสภาวิจัยทางการแพทย์อินเดีย (Indian Council of Medical Research) หรือ ICMR ยืนยันว่า วัคซีนโควาซินมีประสิทธิภาพในการต้านทานได้ทั้งสายพันธุ์อัลฟาและเดลตา นอกจากนี้ หากเทียบเคียงกับวัคซีนโมเดอร์นา และวัคซีนไฟเซอร์แล้ว
1
สำหรับสายพันธุ์อัลฟา ทำให้ระดับแอนติบอดีลดลงเมื่อเทียบกับเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมในคนที่ฉีดโควาซิน 2.5 เท่า ส่วนในคนที่ฉีดวัคซีนโมเดอร์นา และวัคซีนไฟเซอร์ลดลง 2 เท่า
1
ส่วนสายพันธุ์เดลตา ทำให้ระดับแอนติบอดีลดลงเมื่อเทียบกับเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมในคนที่ฉีดวัคซีนโควาซิน 3 เท่า ส่วนในคนที่ฉีดวัคซีนโมเดอร์นา และวัคซีนไฟเซอร์ลดลง 7 เท่า
1
❅ ภัยคุกคามตัวใหม่ "เดลตาพลัส" (Delta Plus)?
ณ เวลานี้ นักวิทยาศาสตร์อินเดียกำลังเฝ้าจับตาภัยคุกคามตัวใหม่ที่มีชื่อว่า B.1.617.2.1 หรือ "เดลตาพลัส" (Delta Plus) อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นกังวลว่า มันอาจแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่า "สายพันธุ์เดลตา" ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดคลื่นการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 บนดินแดนภารตะ และกำลังทำให้หลายๆ ประเทศต้องพบกับฝันร้ายในเวลานี้
1
❅ อะไรคือ สายพันธุ์เดลตาพลัส และมันน่ากังวลมากแค่ไหน?
เดลตาพลัส เป็นผลมาจากการที่สายพันธุ์เดลตากลายพันธุ์ในโปรตีนส่วนหนาม (Spike Protein) ที่เกิดขึ้นเหมือนกับโปรตีนส่วนหนามซึ่งพบใน B.1.351 หรือ สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้)
โดย ณ ปัจจุบัน (สิ้นสุด 29 มิ.ย. 64) มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเดลตาพลัสที่ได้รับการยืนยันแล้วประมาณ 200 คน และเสียชีวิตแล้ว 1 ศพ ใน 11 ประเทศ ประกอบด้วย แคนาดา อินเดีย ญี่ปุ่น เนปาล โปแลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และตุรกี
1
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก หรือในประเทศอินเดียเอง ก็ยังไม่สามารถระบุให้ชัดเจนลงไปได้ว่า "สายพันธุ์เดลตาพลัส" จะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้รุนแรงและรวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เท่าที่มีการพบในปัจจุบันหรือไม่?
หากแต่สิ่งที่ต้องไม่ลืม คือ จนถึงปัจจุบัน ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้ปัจจุบันมีสายพันธุ์ต่างๆ ถึงประมาณ 160 สายพันธุ์ทั่วโลกเข้าให้แล้ว และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ...
"การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ โดยมากจะทำให้ไวรัสโคโรนาสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ รวมถึงมักจะทำให้สามารถแพร่กระจายเชื้อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้รวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย และสายพันธุ์เดลตานั้น องค์การอนามัยโลกยอมรับว่า เป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายเชื้อได้มากที่สุดชนิดหนึ่งเสียด้วย"
ฉะนั้น นับจากนี้เป็นต้นไป ชาวโลกคงจะต้องเฝ้ารอรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของ "สายพันธุ์เดลตาพลัส" อย่างใกล้ชิด ชนิดไม่ให้คลาดสายตา!
1
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
กราฟิก: Jutaphun Sooksamphun
อ่านเพิ่มเติม
thairath.co.th
โควิดเดลตา-เดลตาพลัส ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ เปิดแผนรับมือในอินเดีย
สายพันธุ์เก่ายังไม่ทันจาง ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่มาซ้ำอีก โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา-เดลตาพลัส กับแผนรับมือของอินเดีย
32 บันทึก
48
89
32
48
89
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย