4 ก.ค. 2021 เวลา 06:21 • สิ่งแวดล้อม
หน้าฝนเป็นอีกฤดูที่พืชพรรณพาออกดอกกันบานสะพรั่งกันทั้งป่า มีทั้งไม้เล็กไม้ใหญ่พร้อมโชว์สีสันสวยงามทักทายนักเดินทางและนักท่องเที่ยวผู้ที่ได้มาสัมผัสกับธรรมชาติหน้าฝน 🌦
…วันนี้จึงอยากให้ผู้ที่รักกล้วยไม้ได้รู้จักชนิดนี้กันครับ
พรรณไม้น่ารู้ วันนี้พามารู้จักกับกล้วยไม้ดิน (Terrestrial orchid) ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า
“ลิ้นมังกร” Habenaria rhodocheila Hance
PHOTO BY THOTSAPORN
ด้วยลักษณะของกลีบปากหรือ Lip (ที่เห็นเป็นสีๆ) เป็นแฉกคล้ายลักษณะของลิ้นมังกร จึงเป็นที่มาของชื่อละครับ
กล้วยไม้ชนิดนี้มีสีสันสวยงาม ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ชอบขึ้นอยู่บริเวณที่มีความชื้น อยู่บนดินที่มีซากใบไม้ทับถม พบเกาะตามก้อนหินบ้าง
พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งในแต่ละภาคหรือแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะของสี รูปร่าง ที่แตกต่างกัน เช่น แดง เหลือง ส้ม ชมพู
PHOTO BY THOTSAPORN
PHOTO BY THOTSAPORN
PHOTO BY THOTSAPORN
PHOTO BY THOTSAPORN
สีสันสวยงามกันใช่ไหมละครับ ด้วยสีสันที่โดดเด่นและมีกลิ่นหอม จึงเป็นตัวช่วยให้ผีเสื้อกลุ่มหางติ่งมาดูดกินน้ำหวานที่อยู่ในหลอดสีน้ำตาลยาวๆ ใต้กลีบดอก ซึ่งจะช่วยผสมเกสร (Pollinator) นั่นเอง
PHOTO BY THOTSAPORN
เมื่อได้รับการผสม จะติดฝัก และฝักแก่จะแตก เพื่อโปรยเมล็ดลงดินและงอกเป็นต้นกล้าต้นใหม่จนถึงต้นที่สมบูรณ์พร้อมออกดอก ใช้เวลา 3 ปี ซึ่งใช้เวลานานมากๆครับ
เมื่อสิ้นสุดฤดูออกดอก ลิ้นมังกรจะมีการพักตัว (dormancy) หรือเราเรียกว่า ลงหัว ยุบหัว ไม่มีใบ แต่จะมีลำต้นสะสมอาหารใต้ดิน เพื่อรอฤดูกาลที่เหมาะสมในปีต่อไป
ต้นอ่อนที่งอกจากหัวเดิมปีที่แล้ว PHOTO BY THOTSAPORN
ปัจจุบันเป็นกล้วยไม้ที่นิยมมาปลูกเลี้ยงในกระถาง แต่ก็ยังไม่การเพาะขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก จึงมีความน่าเป็นห่วงที่จะถูกนำออกจากป่า เป็นการรบกวนประชากรและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
เราควรช่วยกันอนุรักษ์กล้วยไม้สวยๆงามๆ ให้คงอยู่กับธรรมชาติบ้านเราต่อไปกันดีกว่าเนอะ โดยใช้ความรู้ความเข้าใจจากข้อมูลที่เราได้นำเสนอให้ทุกท่านในวันนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ 💚

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา