4 ก.ค. 2021 เวลา 11:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กฏหมายอวกาศ (Space Law) คืออะไร ?? สนธิสัญญาการใช้อวกาศอย่างสันติคืออะไร มาดูกัน !!!
กฏหมายอวกาศ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ไกลตัวไปหน่อย เเต่รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าเเบกหามครับ
เเต่สำหรับบางคนนี้คือสิ่งน่าสนใจไม่ใช่น้อยครับ โดยเฉพาะคนที่ชอบดูหนังเเนวอวกาศหน่อยๆ
ในความเป็นจริงเเล้วกฏหมายอวกาศ หรือ Space Law จะเป็นอย่างไร ประะทศไทยเราจะมีความเกี่ยวข้องหรือไม่ มาดูกันครับ
1
เเน่นอนครับว่าอวกาศนั้น ไม่มีใครหรือประเทศใดประเทศหนึ่งบนโลกที่จะเป็นผู้ครอบครองทั้งหมด
ทุกประเทศมีเสรีภาพในการสำรวจ เเละใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในอวกาศอย่างเท่าเทียมกัน
จึงเป็นที่มาของ กฏหมายอวกาศ Space Law เพื่อให้ทุกประเทศปฏิบัติตามเพื่อความเสมอภาคกันในทุกๆ ด้าน
กฏหมายอวกาศถือเป็นกฏหมายที่มีลักษณะเป็น กฏหมายสาธารณะระหว่างประเทศ ประกอบด้วย สนธิสัญญา อนุสัญญา เเละข้อตกลงระหว่างประเทศ
ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 5 ฉบับด้วยกันนะครับ ได้เเก่
2
.
1. สนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้อวกาศภายนอกรวมทั้งดวงจันทร์ และเคหะในท้องฟ้าอื่นๆ ค.ศ.1967 (The Outer Space Treaty 1967)
เป็นสนธิสัญญาฉบับเเรกที่ว่าด้วยการใช้อวกาศ ดวงจันทร์เเละเทหะท้องฟ้า อย่างเสมอภาคเเละเท่าเทียมกันทุกประเทศอย่างมีเสรีภาพภายใต้กฏหมายฉบับนี้
หากประเทศใดกระทำผิดกฏหมายนี้ประเทศนั้นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งความผิดเเละค่าเสียหาย
.
2. ความตกลงว่าด้วยการช่วยชีวิตนักอวกาศ การส่งคืนนักอวกาศ และการคืนวัตถุที่ส่งออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1968 (Rescue Agreement 1968)
เป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับการให้ความร่วมมือต่างๆ ตามข้อตกลงที่กำหนดขึ้นนี้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือวัตถุอวกาศก็ตาม
.
3. อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ค.ศ. 1972 (Liability Convention 1972)
หากวัตถุอวกาศของประเทศใดที่สร้างขึ้นเกิดการตกหรืออื่นๆ ในประเทศอื่นทำให้เกิดความเสียหาย ประเทศผู้สร้างวัตถุนั้นจะต้องรับผิดชอบทั้งหมด
.
4. อนุสัญญาว่าด้วยการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ ค.ศ. 1975 (Registration Convention 1975)
ประเทศใดที่จะทำการสร้างเเละส่งวัตถุอวกาศขึ้นไปยังอวกาศก็ต้องมีการจดทะเบียนวัตถุนั้น โดยเเจ้งสำนักงานกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติ หรือ UNOOSA
.
5. ความตกลงว่าด้วยกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่น ค.ศ. 1979 (Moon Agreement 1979)
ดวงจันทร์ และเทหะในท้องฟ้าอื่น ๆ ในระบบสุริยะถือเป็นมรดกร่วมของมนุษยชาติ (Common Heritage of Mankind)
ซึ่งในปัจจุบันนะครับประเทศไทยของเราเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีจำนวน 2 ฉบับ ได้เเก้ฉบับที่ 1 เเละ 2 ตามกฏหมายข้างต้นครับ
3
ในอนาคตหากมีการค้นพบอะไรที่สำคัญ ก็อาจจะมีการเพิ่มเติมกฏหมายอวกาศนี้อีกเเน่นอนครับ
Reference | Nibedita Mohanta. How many satellites are orbiting the Earth in 2021 ?. Published on 28 May 2021. Accessed via https://www.geospatialworld.net
| ศาสตราจารย์ จาตุรนต์ ถิระวัฒน์,กฎหมายอวกาศ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540.
| GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา