Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Learning Never Ends
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2021 เวลา 00:51 • สุขภาพ
7 สัญญาณอันตราย หลังฉีดวัคซีนโควิด 19
Learning Never Ends
ณ ขณะนี้ประเทศไทยของเราก็เริ่มฉีดวัคซีนโควิด 19 กันแล้วนะคะ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อที่ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ ลดอาการรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตค่ะ
แต่หลังการฉีดวัคซีนเนี่ย การสังเกตุอาการหลังฉีดเป็นสิ่งสำคัญมากๆนะคะ ซึ่งโดยปกติก็จะมีอาการไม่รุนแรง เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ อาจจะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีดวัคซีน หรือว่ากลับบ้านไปแล้วอาจจะมีอาการไข้ต่ำๆ ปวดเนื้อปวดตัวได้ค่ะ
แต่แอดเชื่อว่า หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า แล้วถ้าหากมันมีอาการแพ้ที่รุนแรง มันจะมีอาการแบบไหนบ้าง ? วันนี้แอดเลยจะมาแนะนำ 7 อาการเตือนหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ว่าอาการแบบไหนที่แพ้รุนแรงกันนะคะ
💥 หน้ามืด เป็นลม
freepik
สำหรับใครที่แข็งแรงดี ไม่เคยมีอาการวูบ เป็นลมหรือว่าหน้ามืดมาก่อน แล้วจู่ๆหลังจากฉีดวัคซีนแล้วมีอาการหน้ามืด เป็นลม ให้คิดเอาไว้เลยว่า อาจจะเป็นอาการแพ้รุนแรง เพราะว่าเวลาที่เรามีอาการแพ้รุนแรง ก็อาจจะทำให้ ความดันของเราตก พอความดันเราตก ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง จึงมักทำให้เรามีอาการวูบหรือมีอาการหน้ามืดได้ค่ะ
ดังนั้นใครที่กลับมาหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ลองสังเกตุอาการ หากมีอาการหน้ามืด มีอาการวูบ ให้รีบกลับมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจและรักษาต่อไปค่ะ
💥 แน่นหน้าอก
freepik
ใครที่มีอาการแน่นหน้าอกมากๆเหมือนมีอะไรมาทับที่หน้าอกเรา หรือว่าเหมือนมีอะไรมารัดที่หน้าอกเรา แล้วเมื่อทำการพักแล้ว ไม่ว่าจะนั่งหรือนอนพัก ก็ไม่หายหรือไม่ดีขึ้น และอาการแน่นหน้าอกเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจาก 15 - 20 นาที อาการก็ยังไม่ดีขึ้น
2
หรือว่าอาจจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการใจสั่น เหงื่อแตก ถ้ามีอาการเหล่านี้ แอดแนะนำว่าให้รีบมาโรงพยาบาลทันทีเลยนะคะ เพราะคุณอาจจะมีอาการแพ้ที่รุนแรงแล้วก็ได้จะได้รีบทำการรักษาต่อไปค่ะ
💥 หอบ เหนื่อย หายใจมีเสียงวี๊ด
freepik
เมื่อเรามีอาการแพ้วัคซีนแบบรุนแรง จะส่งผลทำให้หลอดลมในปอดของเราตีบ แคบลง เมื่อหลอดลมในปอดตีบแคบลง ก็จะส่งผลทำให้ลมหรือออกซิเจนเข้าไปในปอดน้อยลง จึงจะทำให้เรามีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น
และจะสังเกตุได้เลยว่า เวลาที่เราหายใจ หากหลอดลมตีบมากๆ มันจะมีเสียงวี๊ดออกมา ถ้ามีอาการแบบนี้ให้รีบสงสัยไว้ก่อนว่า คุณอาจจะแพ้วัคซีนแบบรุนแรงได้ ให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีอย่ารอช้านะคะ
เมื่อคุณไปถึงโรงพยาบาล คุณจะได้รับการฉีดยาแก้แพ้แล้วจะทำให้เราหอบเหนื่อยลดลงได้ค่ะ
💥 ผื่นขึ้น
freepik
หากใครที่ฉีดวัคซีนแล้วกลับบ้านไปแล้วมีอาการผื่นขึ้น เป็นผื่นแดงๆ เป็นปื้นๆ เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวยุบ มีอาการคันมากๆ ถ้ามีอาการแบบนี้เป็นอาการแพ้แน่ๆค่ะ ให้รีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
เพราะว่าหลังจากการมีผื่น อาจจะมีอาการรุนแรงอย่างอื่นตามมาได้ ดังนั้นถ้าเราไม่มั่นใจให้รีบมาโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจและรักษาต่อไปค่ะ
💥 หน้าบวม ปากบวม
ใครที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว จู่ๆตื่นเช้ามาแล้วมีอาการหน้าบวม ปากบวม อาการแบบนี้ก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกเราว่าคุณอาจจะแพ้วัคซีนแล้วนะคะ หากมีอาการแบบนี้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันทีค่ะ
💥 คลื่นไส้ อาเจียน
freepik
หากใครที่จู่ๆก็มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากๆ หลายๆรอบโดยไม่มีสาเหตุ ไม่ได้ทานอาหารที่ไม่สุก หรือว่าไม่ได้ทานอาหารทะเล ไม่ได้ทานอาหารอะไรที่เป็นของแสลง
แต่จู่ๆหลังจากฉีดวัคซีนกลับไปแล้วมีอาการเหล่านี้ ทานยาแก้คลื่นไส้ก็ไม่หาย หรืออาจจะมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น มีผื่นขึ้น หรือมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย แบบนี้ควรรีบมาโรงพยาบาลทันทีนะคะ
💥 อ่อนแรง ชาครึ่งซีก
freepik
สาเหตุนี้อาจจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าคุณมีลิ่มเลือดอุดตันในสมองแล้ว ก่อนอื่นเลยต้องขออธิบายก่อนว่า สมองของเราจะมีอยู่ 2 ฝั่งด้วยกัน โดยสมองฝั่งขวาของเราจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย และสมองฝั่งซ้ายของเราก็จะไปควบคุมการทำงานของร่างกายซีกขวานั่นเองค่ะ
เมื่อมีลิ่มเลือดไปอุดตันทำให้เส้นเลือดตีบ หรือตันขึ้นมา มันจะส่งผลให้ร่างกายของเราอ่อนแรงไปครึ่งซีก หรือมีอาการชาครึ่งซีก หากใครที่มีอาการหล่านี้ ให้คิดเอาไว้เลยว่าคุณอาจจะมีลิ่มเลือดอุดตันในสมองแล้วก็ได้ ให้รีบมาโรงพยาบาลทันทีเลยนะคะ
เพราะว่าผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด 19 มีลิ่มเลือดอุดตันในสมองได้ค่ะ
หากใครหลังจากกลับจากฉีดวัคซีนมาแล้ว มีอาการเหล่านี้ ไม่จำเป็นว่าต้องมีทุกข้อนะคะ แค่มีข้อใดข้อหนึ่งใน 7 สัญญาณนี้ หรือถ้าหากคุณมีอาการแปลกๆ หรือไม่มั่นใจว่าตนเองมีอาการแพ้หรือไม่ ให้รีบมาโรงพยาบาลทันทีเลยนะคะ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการตรวจและรักษาต่อไปค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หมอหมี เมาท์มอย / นพ.นิมิตร์ ศิริธนากิจ แพทย์เฉพาะทางอายุรกรรม
1
9 บันทึก
21
17
26
9
21
17
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย