4 ก.ค. 2021 เวลา 10:08 • ประวัติศาสตร์
[วันนี้ในอดีต]
4 ก.ค. 2387 Bankok Recorder หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย
บางกอกรีกอเดอ (The Bangkok Recorder) หรือ หนังสือจดหมายเหตุ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเล่มแรก โดยตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2387-2388 และตีพิมพ์อีกครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2407-2411ซึ่งตีพิมพ์โดยหมอบรัดเลย์(Dr. Dan Beach Bradley, M.D.) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ในระยะแรกเริ่มออกฉบับรายเดือน แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน ฉบับแรกเผยแพร่ครั้งแรกในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 ซึ่งตรงกับวันชาติสหรัฐอเมริกา
โดยเนื้อหามีลักษณะเป็นตำรา ข่าวทั้งต่างประเทศและในประเทศ ในแต่ละฉบับมีข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการสาธารณสุข คำศัพท์สำนวนภาษาอังกฤษ พงศาวดารต่างชาติ ราคาสินค้า และเรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ อีกทั้งยังมีการนำเสนอ เป็นการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ (ตอนช่วง ร.3 วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล, ตอนช่วง ร.4 วิพากษ์วิจารณ์พระพุทธศาสนา ด้วยความที่เขานำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่กลายเป็นเขาเอาประเทศและศาสนามาข่มคนไทย ทำให้ ร.4 ทรงเขียนโต้ตอบหมอบรัดเลย์) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ จุดประสงค์ของหนังสือพิมพ์เล่มแรกฉบับนี้ หมอบรัดเลย์พยายามเน้นให้คนเห็นว่า "หนังสือพิมพ์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หมอพยายามชี้ให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์นั้นมีคุณต่อบ้านเมืองเป็นอันมาก เป็นแสงสว่างของบ้านเมือง คนชั่วเท่านั้นที่กลัวหนังสือพิมพ์ เพราะกลัวว่าหนังสือพิมพ์จะประจานความชั่วของตน"
หมอบรัดเลย์ประกาศเลิกพิมพ์หนังสือพิมพ์บางกอกรีกอเดอ ไว้ในเล่มที่ 2 ใบที่ 24 (วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410) โดยให้เหตุผลว่า เพราะขาดทุนและรัฐบาลไทยไม่สนับสนุนอย่างแต่ก่อน
อย่างไรก็ตามหนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอร์เดอร์ 16 ใบ (ฉบับ) ที่ตีพิมพ์ในรัชกาลที่ 3 ไม่เหลือต้นฉบับตกทอดมา และมี 24 ใบ (ฉบับ) ที่พิมพ์ในรัชกาลที่ 4 เนื่องจากฉบับที่หลงเหลืออยู่ก็มีเพียงบางฉบับที่เผยแพร่ในรัชกาลที่ 4 เท่านั้น กระทั่ง พ.ศ. 2528 ทายาทมิสเตอร์แฮมิลตัน คิง อดีตอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำราชสำนักสยาม ระหว่าง พ.ศ. 2441 – 2455 มอบเอกสารที่ท่านทูตแฮมิลตันสะสมไว้ ขาดไปเพียง 2 ใบ คือใบที่ 14 และใบที่ 15 จากเล่มที่ 2 ของฉบับที่ตีพิมพ์ในรัชกาลที่ 3 ให้เป็นสมบัติของไทย โดยปัจจุบันถูกเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี
บางกอกรีกอเดอ ถือเป็นปฐมบทการพิมพ์และการสื่อสารมวลชนในประเทศไทย เป็นการริเริ่มหนังสือพิมพ์แบบตะวันตกในประเทศไทย ทำให้มีการสื่อสารสองทางระหว่างผู้สื่อสารกับผู้รับสาร เช่น จดหมายร้องทุกข์ และเนื่องจากการตอบโต้ของรัชกาลที่ 4 ต่อเนื้อหาที่ให้ข่าวที่ผิด และการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของราชสำนักอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน ทำให้เกิดหนังสือเผยแพร่ข่าวสารของราชการ คือ "ราชกิจจานุเบกษา"
บางกอกรีกอเดอ ทำให้ภาษาไทยเริ่มมีการใช้ภาษาทำเนียบแนวใหม่ ได้แก่การเขียนข่าว เขียนสารคดี การเขียนหนังสือสำแดงการ ซึ่งเป็นที่มาของบทบรรณาธิการหรือคำนำของหนังสือปัจจุบัน หมอบรัดเลย์ยังให้ความรู้ด้านภาษาไทย เมื่อต้องการกล่าวถึงคำใหม่ ๆ จำเป็นต้องมีคำใหม่ ทำให้มีการทับศัพท์ การใช้คำภาษาไทยในความหมายใหม่ การสร้างคำศัพท์ การยืมคำ และการบัญญัติคำ เช่นคำว่า เปรสเตนต์ (president), กัมปะนี (company) เป็นต้น
ขอบขอบคุณแหล่งข้อมูล
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สามารถติดตามข่าวสารเรื่องแปลกใหม่ ประวัติศาสตร์โลก ตามเทรนได้ที่
โฆษณา