5 ก.ค. 2021 เวลา 00:39 • สุขภาพ
ลัทธิชาตินิยมวัคซีน เกมการเมืองโลกบนความปวดร้าวของมวลมนุษยชาติ
4
ผ่านไป 6 เดือนในการรณรงค์ฉีดวัคซีนครั้งใหญ่ที่สุดนประวัติศาสตร์โลก แต่ต้องบอกว่ามันเต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียมอย่างยิ่ง มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้น ที่ได้รับวัคซีนปริมาณถึง 3 ใน 4 ของปริมาณวัคซีนที่มีมากกว่า 2 พันล้านโดสทั่วโลก
4
ลัทธิชาตินิยมวัคซีน เกมการเมืองโลกบนความปวดร้าวของมวลมนุษยชาติ
และมันได้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิชาตินิยมวัคซีน” ซึ่งประเทศต่าง ๆ จัดลำดับความสำคัญของความต้องการภายในประเทศเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะประเทศที่มีความมั่งคั่งไม่กี่ประเทศที่อ้างสิทธิ์ในส่วนแบ่งวัคซีนสำหรับของประเทศตนเอง
1
แน่นอนว่าการแข่งขันระหว่างรัฐต่าง ๆ เพื่อพัฒนาวัคซีน และการทูตด้านวัคซีน ชาติยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้ใช้ความสามารถของตนในการจัดหา ผลิต และจำหน่ายวัคซีน เป็นตัวชี้วัดอำนาจรัฐของตัวเองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2
ประเทศมหาอำนาจส่วนใหญ่ อาศัยการลงทุนในการผลิตวัคซีนและสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนวัคซีนทั้งหมด ที่วางแผนที่จะผลิตได้ในปี 2021 ได้รับการจับจองโดยกลุ่มประเทศร่ำรวย อย่าง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนเพียง 14% ของประชากรโลกเพียงเท่านั้น
3
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวมานานแล้วว่า การระบาดใหญ่จะสิ่งสุดลงเมื่อทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และ WHO ก็หวังว่าจะมีประชากรโลก 20% ได้รับการฉีดวัคซีนภายในสิ้นปี 2021
4
แต่ดูเหมือนเป้าหมายนี้ จะไกลเกินเอื้อม เพราะประชากรกว่า 88% ของโลกยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลย และการส่งมอบวัคซีนให้กับประชากรโลกจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนนั้น ถูกขัดขวางจากเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ และ ลัทธิชาตินิยมวัคซีน
4
องค์การอนามัยโลก ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ลัทธิชาตินิยมวัคซีน ดังกล่าว โดยไม่คำนึงถึงความรุนแรงและการแพร่กระจายของโรคติดต่อ จะไม่เพียงแค่ ยืดอายุการแพร่ระบาดเท่านั้น แต่ยังถือเป็นความล้มเหลวทางศีลธรรมอีกด้วย
1
ในโลกอุดมคติ ดูเหมือนวัคซีนนั้นจะถูกแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกันในทุก ๆ ประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีประเทศใดถูกกีดกันจากการเข้าถึงวัคซีนเพื่อช่วยเหลือชีวิตมนุษย์เหล่านี้ ซึ่งมันเป็นเป้าหมายของ COVAX ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศมีสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม
4
COVAX พันธมิตรระดับนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศมีสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม (CR:Reliefweb)
แต่ต้องบอกว่าโลกแห่งความเป็นจริงนั้น มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย มีประเทศมากกว่า 180 แห่งซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้สูงได้ลงนามเข้าร่วมในโครงการดังกล่าว
จำนวนโดสที่ผลิตมาทั้งหมดนั้นถูกสงวนไว้โดยประเทศที่ร่ำรวยไม่กี่ประเทศ และไม่สามารถถึงเป้าหมายในการจัดหาปริมาณที่เพียงพอในการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 20% ของประชากรแต่ละประเทศที่มีการเข้าร่วม
2
ซึ่งจนถึงปัจจุบัน การบริจาควัคซีนแบบทวิภาคส่วนใหญ่นั้นมีปริมาณเพียง 200,000 โดส หรือ น้อยกว่า ซึ่งสามารถปกป้องผู้คนได้อย่างมากก็แค่ 100,000 ชีวิตเพียงเท่านั้น
แต่ประเทศเล็ก ๆ หลายแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคริบเบียน และ มหาสมุทรอินเดีย ได้รับวัคซีนเพียงพอสำหรับประชากรมากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ในทางตรงกันข้ามประเทศที่มีประชากรมากกว่า ได้รับวัคซีนเพียงพอสำหรับประชากรเพียงแค่ 1% เท่านั้น
2
และต้องบอกว่าประเทศต่าง ๆ ก็ไม่ได้รับวัคซีนตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแต่อย่างใด แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่แท้จริงจะสูงกว่าที่บันทึกไว้ในหลาย ๆ ประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย
1
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการตรวจต่ำ แต่กลับได้รับการบริจาคเกินจำนวนผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น ใน เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และ อัฟกานิสถาน ล้วนได้รับบริจาคตั้งแต่ 1.2 ถึง 2.2 ล้านโดส แม้จะมีรายงานผู้ป่วย COVID-19 ค่อนข้างน้อยก็ตามที
2
และเมื่อพิจารณาถึงการจัดสรรปริมาณวัคซีนตามภูมิภาค การแจกจ่ายยิ่งไม่เท่าเทียมกัน ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียได้รับบริจาคไปกว่า 55.59 % แม้จะมีผู้ป่วยยืนยันเพียงแค่ 20.73 %
2
ในทางตรงกันข้าม ละตินอเมริกา และ ยุโรปตะวันออก ซึ่งยังประสบปัญหาการแพร่ระบาดจำนวนมาก กลับได้รับวัคซีนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น อาร์เจนตินา โคลอมเบีย และแอฟริกาใต้ คิดเป็น 4.83% ของผู้ป่วยทั่วโลก แต่ให้วัคซีนเพียงแค่ 1.22% ของปริมาณวัคซีนทั้งหมดเพียงเท่านั้น
แล้วปัจจัยอะไรเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนการบริจาคและแจกจ่ายวัคซีนกันแน่?
1
ต้องบอกว่า ทั้ง จีน อินเดีย อิสราเอล และ รัสเซีย ซึ่งเป็น 4 ประเทศที่ใช้แนวทางระดับโลกในการทูตด้านวัคซีน กล่าวคือ มีการจัดหาวัคซีนให้กับประเทศอย่างน้อย 10 ประเทศในสามทวีป หรือ มากกว่านั้น โดยได้ดำเนินการที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ระดับชาติและยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของพวกเขา
1
ซึ่งจาก 72 ประเทศที่จีนให้คำมั่นสัญญาในเรื่องการบริจาควัคซีนนั้น เข้าร่วมในโครงการ Belt and Road Initiative ซึ่งเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่มีความทะเยอทะยานซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มอิทธิพลของจีน พัฒนาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ และเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าใน 139 ประเทศ
6
ประเทศที่เข้าร่วมในโครงการ Belt and Road Initiative ของจีนได้รับสิทธิ์แจกวัคซีนก่อน (CR:wikipedia.org)
รวมถึงแรงจูงใจที่เป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งสำหรับการบริจาคของจีน ก็คือ การสร้างความมั่นใจ หรือจูงใจให้ประเทศเหล่านั้น สนับสนุนจีน ในเรื่อง นโยบายจีนเดียว รวมถึงเรื่องปัญหาทั้งใน ฮ่องกง ไต้หวัน ทิเบต และซินเจียง รวมถึงในทะเลแคริบเบียน
2
หลังจากที่ ประเทศ กายอานา และ โดมินิกา ยอมรับการบริจาค พวกเขาได้ยืนยันคำมั่นสัญญาต่อ “นโยบายจีนเดียว” ในขณะที่ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามหลายประเทศ เช่น อียิปต์ และ คีร์กีซสถาน ได้ให้การสนับสนุนจุดยืนของจีนในซินเจียง และได้รับการบริจาควัคซีนแล้ว
อินเดีย ซึ่งแม้จะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก แม้มีความพยายามแข่งขันกับจีนในเรื่องการบริจาค แต่ปัญหาการแพร่ระบาดภายในประเทศก็ทำให้การส่งต่อวัคซีนนั้นหยุดชะงัก
2
อย่างไรก็ดี การบริจาคของอินเดียก็ไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ทุกประเทศอย่างเท่าเทียม สามในสี่ของการบริจาคของพวกเขา หรือราว ๆ 8.2 ล้านโดส ส่งไปยัง 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้เท่านั้น ส่วนอื่น ๆ ของโลก อินเดียบริจาคเฉลี่ยเพียง 70,000 โดสต่อประเทศเพียงเท่านั้น
2
นายกรัฐมนตรีของอินเดียอย่าง Modi ได้เน้นย้ำที่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อตอบโต้อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีนในภูมิภาคดังกล่าว และนอกเหนือจากนั้น อินเดียวกำหนดเป้าหมายประเทศที่สามารถแข่งขันกับปักกิ่ง ในประเทศแถบแอฟริกา และ แคริบเบียน หรือ ประเทศในเครือจักรภพ
ส่วนการทูตวัคซีนของอิสราเอล ได้มีความพยายามต่อเนื่อง โดยมีการโฟกัสไปที่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาและยุโรป
ส่วนรัสเซีย แม้จะประกาศให้วัคซีนของตนเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดในโลก และพยายามอย่างยิ่งที่จะ promote วัคซีนดังกล่าวในต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้สนใจในเรื่องการบริจาคมากนัก
2
มอสโก เลือกใช้ข้อตกลงการซื้อและอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบทวิภาคี โดยกล่าวว่า พวกเขาต้องการข้อตกลงทวิภาคี มากกว่า COVAX และ เสนอการบริจาคเล็กน้อยให้กับเพียงไม่กี่ประเทศ
การบริจาคของรัสเซียส่วนใหญ่อยู่ในปริมาณที่น้อยกว่า 20,000 โดส ซึ่งหลายประเทศเหล่านี้ ได้รับตัวอย่างฟรี และกำลังพิจารณาจัดซื้อวัคซีนของรัสเซียอยู่แล้ว ตัวอย่าง เช่น ใน อาร์เมเนีย เบลารุส เลบานอน มอลโดวา นิการากัว และ เวียดนาม
2
ส่วนฝั่งของอเมริกา แน่นอนว่า พวกเขามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง Pfizer และ Moderna และกำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่พิสูจน์แล้วว่า เหนือกว่า วัคซีนชนิดอื่น ๆ
นั่นเองที่กลายเป็นอำนาจต่อรองที่สำคัญของอเมริกาเอง เพราะ การพัฒนาวัคซีนในช่วงเริ่มต้นนั้น ได้รับการอุดหนุนเงินจากรัฐบาลสหรํบอเมริกาจำนวนมหาศาล
และเคสที่เกิดขึ้นกับ พันธมิตรที่สำคัญของอเมริกาอย่างไต้หวันนั้น ก็น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
1
“ประเด็นความช่วยเหลือด้านวัคซีนป้องกัน COVID-19 นี้แสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของตนเองก่อนเสมอ” คำกล่าวจาก Xin Qiang รองผู้อำนวยการ Center of US Studies ที่ Fudan University กล่าวกับ Global Times
2
ชาวไต้หวันน้อยกว่า 1% ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งทำให้เป็นประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนน้อยที่สุดในเอเชีย ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย The New York Times อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 จำนวนมาก และจำกัดการส่งออกวัตถุดิบวัคซีน ซึ่งการกระทำเหล่านี้ สะท้อนถึงนโยบาย “American First” อย่างเต็มที่
5
ในปี 2020 เพียงปีเดียว สหรัฐฯ ได้ขายอาวุธมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์ให้แก่เกาะไต้หวัน แต่ความกระตือรือร้นของสหรัฐฯ ในการนำเสนอวัคซีนป้องกัน COVID-19 แก่ไต้หวันนั้นน้อยกว่าความกระตือรือร้นในการขายอาวุธให้ไต้หวันมาก
5
แน่นอนว่า การทตูวัคซีน ของสหรัฐอเมริกานั้นถูกผูกเงื่อนปม ไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เกมการเมืองระหว่างประเทศ ในการจัดลำดับความสำคัญของปริมาณวัคซีนที่จะมีการแจกจ่าย
เมื่อไล่ดูรายชื่อประเทศที่ได้รับวัคซีนก่อน คงไม่แปลกใจ ตัวอย่างเช่น ฟิลิปปินส์ ที่เป็นพันธมิตรมาอย่างช้านาน และ ยังเป็นประเทศที่มีปัญหากับจีน ในเรื่องน่านน้ำทะเลจีนใต้ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของยุทธศาสตร์ล้อมจีนของสหรัฐ หรือ มาเลเซียที่มีปัญหาในเรื่องประเด็นเดียวกันกับประเทศจีน
1
หรือ ประเทศ อย่างอาร์เจนตินา ที่ ได้ตกเป็นเป้าหมายของความพยายามของจีนที่จะเข้ามามีบทบาท ก็ได้รับจัดอันดับความสำคัญขึ้นมาก่อนจากสหรัฐอเมริกา ตามแนวทางการแข่งขันในการทูดด้านวัคซีนของสหรัฐฯ ที่จะต้องมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์หลักของสหรัฐฯ นั่นคือ การสนับสนุนระเบียบโลกใหม่ ที่มีสหรัฐเป็นผู้นำนั่นเอง
1
บทสรุป
ในเวลาที่ประชากรโลกจำนวนมากกำลังเจ็บปวดรวดร้าว กับสถานการณ์โรกระบาดที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้นง่าย ๆ แต่ดูเหมือนประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ จะดูไม่ได้สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากนัก
2
แน่นอนว่า พวกเขาก็ลงทุนไปจำนวนมากมายมหาศาล ที่ทำให้สามารถผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพออกมา และตอนนี้มันก็ได้เป็นเกมของพวกเขา ที่เป็นต่อ จาก demand ที่มีอยู่จำนวนมหาศาล กับ supply ที่มีอยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้น
2
ฉะนั้น มันไม่ได้เป็นเรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด ว่า ทำไม การที่จะได้รับวัคซีนจากประเทศเหล่านี้ มันไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขได้แบบการเจรจาแบบธุรกิจ ต่อ ธุรกิจ เหมือนอย่างที่เราเข้าใจกัน ที่สามารถ สั่งซื้อ จ่ายเงิน แล้วจะจบกันได้แบบง่าย ๆ
3
เพราะตอนนี้ มันได้กลายเป็นเรื่องเกมการเมืองระหว่างประเทศ รวมถึงยุทธศาสตร์ ที่สำคัญของประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ ซึ่งการจะได้วัคซีน เร็ว หรือ ช้า หรือ ฟรี นั้น มันไม่ใช่แค่เพียงเรื่องเงินตรา แต่มันขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังเลือกเดิน ที่มันกำลังส่งผลต่อประเทศมหาอำนาจเหล่านี้นั่นเองครับผม
3
The original article appeared here https://www.tharadhol.com/vaccine-nationalism/
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
=========================
ร่วมสนับสนุน ด.ดล Blog และ Geek Forever Podcast
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิต Content ดี ๆ ให้กับท่าน
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog ผ่าน Line OA เพียงคลิก :
=========================
ฟัง PodCast เรื่องเกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ที่ Geek Forever’s Podcast
——————————————–
ฟังผ่าน Podbean :
——————————————–
ฟังผ่าน Apple Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Google Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Spotify :
——————————————–
ฟังผ่าน Youtube :
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา