5 ก.ค. 2021 เวลา 05:34 • การเกษตร
"ธาตุอาหารของพืช"
ธาตุอาหารพืช | เกษตรโตวันโตคืน
ธาตุอาหารหรือสารอาหารของที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่มีใครทราบแท้จริงว่าใครเป็นคนค้นพบ แต่เคยมีหลักฐานที่ได้บันทึกไว้ตั้งแต่ 2500 ปีก่อนคริสตศักราชว่ามีการยอมรับถึงความอุดมสมบูรณ์ของชนิดดินน้ำไหลทรายมูล (ดินตะกอน) ที่ลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และยูเฟรติส (Euphrates)
ต่อมานักวิทยาศาสตร์มากมายก็ยังพยายามหาปัจจัยสำคัญว่าแท้จริงแล้วอะไรกันแน่ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด โดยต่อมา Justus Von Leibig ได้มีการรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายเกี่ยวกับแร่ธาตุอาหารที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตไว้อย่างเป็นระบบ
พืชจะดูดซับแร่ธาตุอาหารจำนวนเล็กน้อยรวมกว่า 90 ชนิดแต่มีเพียง 16 ชนิดเท่านั้นที่มีความจำเป็น ซึ่ง คาร์บอน (C), ไฮโดรเจน (H), และออกซิเจน (O) พืชสามารถได้รับจากน้ำและอากาศโดยธรรมชาติ ที่เหลืออีก 13 ธาตุยังมีการจำแนกตามความจำเป็นคร่าวๆอีก 3 ประเภทได้แก่
• ธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และโพแทสเซียม (K)
• ธาตุอาหารรอง คือ แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S)
• ธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) คือ เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โบรอน (B), คลอรีน (Cl) และโมลิบดินัม (Mo)
ทว่า จริงๆแล้วธาตุอาหารทุกตัวมีความสำคัญกับพืชเท่าๆกันหมด เพียงแต่บางชนิดมีปริมาณความต้องการใช้ในจำนวนที่มากกว่าเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการประกอบในผลิตผล บางชนิดเพียงแค่ถูกนำมาใช้ในระบบฮอร์โมนหรือเนื้อเยื่อของพืช (ใช้น้อยแแต่ก็ต้องใช้) จึงสรุปได้ว่า หากขาดตัวใดตัวหนึ่งไปก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งสิ้น
แหล่งที่มา:
แร่ธาตุอาหารพืชสวน (ดร.สัมฤทธิ์)
โฆษณา