6 ก.ค. 2021 เวลา 00:49 • สุขภาพ
วัคซีนโควิด 19 " ตัวหลักของไทย ( Sinovac & AstraZeneca) " เอาอยู่หรือไม่? เมื่อโควิดสายพันธุ์เดลต้ากำลังระบาด
1
Learning Never Ends
อย่างที่ทุกคนทราบว่าสถานการณ์ในตอนนี้ การระบาดของโควิด 19 ในบ้านเรายังไม่ดีขึ้น แต่ที่น่ากังวลกว่านั้นก็ คือ มีการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์มากขึ้นด้วย นั่นคือ สายพันธุ์เดลต้า หรืออินเดีย มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดหนักในไทยเร็วๆนี้
แถมยังมีสายพันธุ์เบต้า ( Beta ) หรือแอฟริกาใต้ที่ระบาดหนักในพื้นที่ภาคใต้อีกด้วยค่ะ วันนี้แอดเลยจะมาบอกเกี่ยวกับสายพันธุ์ของโควิด 19 ที่กำลังระบาดอยู่ในบ้านเราตอนนี้ ว่ามันมีสายพันธุ์อะไรกันบ้าง ? และวัคซีนที่คนไทยเรากำลังจะฉีดกันนี้ มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ? และ จะป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่ ? วันนี้แอดมีคำตอบค่ะ
🎯 เชื้อโควิด 19 ที่กำลังระบาดอยู่ในบ้านเราตอนนี้ มีสายพันธุ์อะไรบ้าง ? 🎯
ประเทศไทยเรายังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 3,000 กว่ารายแทบทุกวันเลย แต่รู้กันไหมคะว่า เชื้อไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดกันอยู่ตอนนี้ แทบจะไม่มีสายพันธุ์ Original แล้ว แต่กลายเป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์เกือบทั้งหมด
เพราะข้อมูลล่าสุดจากการสุ่มตรวจ พบว่าผู้ติดเชื้อ 70% อยู่ในไทยตอนนี้เนี่ย ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) หรืออังกฤษค่ะ 22% ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า หรืออินเดีย และอีก 3% คือสายพันธุ์เบต้า ( beta) หรือแอฟริกาใต้ค่ะ (นี่ขนาดไทยเราปิดประเทศกันอยู่นะ)
🍃🍃🍃
ในบทความนี้แอดจะขอเน้นเล่าไปที่เจ้าสายพันธุ์เดลต้านะคะ หรือชื่อเก่าของมันก็คือ สายพันธุ์อินเดียนั่นแหล่ะค่ะ ส่วนสาเหตุที่เราต้องมาพูดถึงมันเนี่ย ก็เพราะว่าสายพันธุ์เดลต้า มีแนวโน้มที่จะระบาดหนักในไทย ตัวเลข % ที่บอกไปด้านบนเมื่อกี้ คือ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า 22% ใช่ไหมคะ ?
แต่ถ้าย้อนไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตอนนั้นพบเพียง 9.8 % ที่ผ่านมาสายพันธุ์เดลต้าก็พุ่งขึ้นมาเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดอย่างหนัก ใน 3 ประเทศแล้วค่ะ ก็คือ สหราชอาณาจักร โปรตุเกส และรัสเซีย ที่สำคัญก็คือ องค์การอนามัยโลก ( WHO ) ก็ออกมาบอกว่า
" สายพันธุ์เดลต้ากระจายไปกว่า 80 ประเทศ ทั่วโลกแล้วค่ะ " และกำลังจะเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยเรา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ออกมาบอกว่า
" สายพันธุ์เดลต้า กระจายไปกว่า 13 จังหวัดทั่วประเทศแล้วตอนนี้ ซึ่งกระจุกตัวมากที่สุด อยู่ใน กทม. ราว 400 คนค่ะ "
และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ยังได้คาดการณ์ไว้ด้วยว่า  " ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนี้ สายพันธุ์เดลต้าจะกลายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดหนักในไทย แทนสายพันธุ์อัลฟ่าค่ะ
ความน่ากังวลของเจ้าตัวเดลต้าเนี่ย นอกจากมันสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วแล้ว WHO ยังได้ออกมาบอกค่ะว่า มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า
" ผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า อาจมีอาการรุนแรงขึ้นด้วย " แต่ก็ยังมีงานวิจัยยืนยันเรื่องนี้ไม่มากพอค่ะ
🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵
🎯 วัคซีนโควิด 19 " ตัวหลักของไทย ( Sinovac & AstraZeneca) " เอาอยู่หรือไม่? 🎯
มาถึงจุดนี้หลายๆคนก็คงอาจจะมีคำถามในใจใช่ไหมล่ะคะ วัคซีนที่เราฉีดไปหรือว่าวัคซีนที่เรากำลังจะไปฉีด มันจะสามารถป้องกันเจ้าตัวไวรัสเดลต้าได้หรือไม่ ?
ก่อนอื่นขอเดาก่อนเลยว่า  ทุกคนที่กำลังอ่านอยู่และฉีดวัคซีนไปแล้วเนี่ย ไม่ AstraZeneca ก็คงจะเป็น Sinovac  ใช่ไหมคะ ?  เพราะว่าวัคซีนทางเลือกอื่นๆก็ยังเป็นส่วนน้อยอยู่ ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า วัคซีนที่รัฐบาลไทยจัดหามาส่วนใหญ่ก็ คือ
AstraZeneca ตอนนี้จองไป 61  ล้านโดส
Sinovac  19.5 ล้านโดส
pfizer  20 ล้านโดส
Jonhson&Johnson 5 ล้านโดส
1
และ สบค. ก็เปิดเผยว่า ภาครัฐกำลังจะเลือกจัดหาวัคซีน Sinovac เพิ่มอีก 28 ล้านโดส และ วัคซีนอื่นๆอีก 22 ล้านโดส
👇👇👇 AstraZeneca
งั้นลองมาดูกันค่ะว่า วัคซีน 2 ตัวหลักของไทยเราจะสามารถต่อสู้กับสายพันธุ์เดลต้าได้หรือไม่ ?
💉💉💉 มากันที่  AstraZeneca กันก่อนนะคะ งานวิจัยจากสถาบันปาสเตอร์ (The Pasteur Institute) ฝรั่งเศส ก็พบว่า  " ผู้ที่ฉีด AstraZeneca ไป เข็มเดียวเนี่ย แทบจะไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้เลยค่ะ
1
มาที่ข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขของอังกฤษ ก็ออกมาระบุในทำนองเดียวกันว่า  " คนที่ฉีด AstraZeneca ไปเข็มเดียวเนี่ย สามารถป้องกันได้เพียง 33% เท่านั้น "  ส่วนถ้าหากฉีดครบทั้ง 2 เข็มแล้ว ก็จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัส สายพันธุ์เดลต้าได้ 60%
ก็ถือว่า % ลดลงถ้าเทียบกับ ประสิทธิภาพในการต้านไวรัสกลายพันธุ์อย่างสายพันธุ์อัลฟ่า อังกฤษ ที่สามารถต้านได้ถึง 66 %  แต่ว่า การป้องกันการป่วยรุนแรงเนี่ยก็ยังคงสามารถป้องกันได้ถึง 92 % ค่ะ ใกล้เคียงกับประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์อื่นๆ
สรุปง่ายๆ ก็คือ วัคซีน AstraZeneca ก็พอจะต้านไวรัสสายพันธุ์เดลต้าได้บ้าง แต่ว่าต้องฉีดครบ 2 เข็มก่อนค่ะ
👇👇👇 Sinovac
💉💉💉 มากันที่ Sinovac กันบ้างค่ะ ต้องบอกก่อนเลยว่า ผลการวิจัยเกี่ยวกับ Sinovac ต่อการต้านสายพันธุ์เดลต้าเนี่ย ยังมีไม่มากนักค่ะ
ในไทยก็มี ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพศาสตร์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ Biotech และนักไวรัสวิทยา
1
ดร.อนันต์ได้บอกว่า เขาได้นำเอาซีรั่ม จำนวน 23 ตัวอย่าง จากแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Sinovac แล้วครบ 2 เข็ม และมีระยะเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกัน 1 เดือน ไปทดสอบกับส่วนของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า
ปรากฏว่า ดร.อนันต์บอกอย่างนี้ค่ะว่า เดลต้าสามารถหนีภูมิของ Sinovac 2 เข็มได้มากพอสมควรเลยทีเดียว พูดง่ายๆก็คือ " เอาไม่อยู่ค่ะ "
แต่ ดร.อนันต์ ก็บอกนะคะว่า ผลการทดลองของเค้าอาจจะมีความผิดพลาดได้ เพราะว่าใช้ตัวอย่างจำนวนไม่มาก เลยอยากให้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมค่ะ และยังบอกอีกด้วยค่ะว่า  " ใจลึกๆผมหวังว่าข้อมูลจะไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่ข่าวลือเท่าไหร่ ถ้าผลออกมาแบบนี้จริงๆ " นอกจากนี้ยังมีคุณหมออีกหลายๆคนนะคะที่เริ่มออกมาแสดงความกังวลถึงประสิทธิภาพต่อการรับมือไวรัสกลายพันธุ์ของวัคซีนที่ไทยเรามีค่ะ
🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵
คราวนี้เรามาลองดูประเทศที่เค้าฉีด sinovac กันบ้าง อย่างเช่น ประเทศชิลี มีจำนวนประชากรราว 20 ล้านคน น้อยกว่าไทยประมาณ 3 เท่า วัคซีนที่ประเทศชิลีเลือกใช้ 93% ก็คือ Sinovac นี่แหล่ะค่ะ BBC ระบุไว้ว่า 75% ของจำนวนประชากรชิลี ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มแล้ว
ส่วนคนที่ได้รับครบ 2 เข็ม ครอบคลุมกว่า 58% ของจำนวนประชากร แต่รู้ไหมคะว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันของชิลี ยังคงสูงราว 5-6 พันคนต่อวัน มีผู้เสียชีวิตราวๆ  100 คนต่อวัน และเตียงที่รองรับผู้ป่วยฉุกเฉินอยู่ในภาวะที่ไกล้เต็ม
การกลับมาระบาด ก็เพราะว่าการผ่อนคลายมาตรการของรัฐและการใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพไม่สูง ทำให้ทางการชิลีต้องประกาศล็อคดาวน์เมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งค่ะ
อีกกรณีนึงที่น่าสนใจค่ะ เพิ่งเกิดเมื่อสัปดาห์ก่อน จากสำนักงานข่าวรอยเตอร์ได้บอกว่า  บุคลากรทางการแพทย์ในอินโดนีเซีย 350 คน ติดเชื้อโควิด ซึ่งเกือบทั้งหมดได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็มแล้ว โดยสายพันธุ์ที่ระบาดหนักที่นั่น ก็คือ สายพันธุ์เดลต้านี่แหล่ะค่ะ
ยังไงก็ตามนะคะ บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่แล้ว ประมาณ 90% ไม่มีอาการค่ะ สามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ แต่ว่าก็มีบางคนค่ะที่มีอาการไข้สูงหรือออกซิเจนต่ำ จนต้องเข้าโรงพยาบาล
แต่ว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดก็ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าวัคซีน Sinovac จะสามารถป้องกันไวรัส กลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้าได้มากแค่ไหน
🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵
แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือวัคซีน ชนิด mRNA มีผลงานวิจัยยืนยันว่าสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ชนิดนี้ได้ค่อนข้างดี อย่างวัคซีน Pfizer ถ้าฉีดครบ 2 เข็ม ก็สามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการได้ถึง 88%  และสามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ถึง 96%
ส่วน Moderna แม้ยังไม่มีผลการวิจัยนะคะ แต่ก็คาดว่าจะมีผลไกล้เคียงกับวัคซีน Pfizer เนื่องจากเป็นชนิดเดียวกัน
นอกจากสายพันธุ์เดลต้าที่เป็นเรื่องที่น่ากังวลแล้ว ตอนนี้ในไทยเราก็ยังมีสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกา ที่กำลังระบาดไปกว่า 12 จังหวัดภาคใต้
อีกด้วยค่ะ
เมื่อวัคซีนเชื้อตาย อาจยังมองไม่เห็นทางออกที่สดใสมากนัก การเร่งนำเข้าวัคซีนชนิด mRNA อาจจะเป็นเกราะป้องกันที่ดีกว่าก็ได้ค่ะ
🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Workpoint today
โฆษณา