5 ก.ค. 2021 เวลา 13:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รวมกลุ่มกองทุน Index ..ลงทุนได้ทุกตลาดทั่วโลก พร้อมค่าธรรมเนียม🌏
[จักรวาลกองทุนดัชนี อีกทางเลือกของการลงทุน]
วันนี้ #เด็กการเงิน จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Index Fund (กองทุนดัชนีหุ้น) ทั่วโลก ที่เราสามารถลงทุนได้ผ่านกองทุนในไทย เปรียบเสมือนเราลงทุนได้ในทุกตลาดของโลกผ่านกองทุนรวม!! โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปเปิดพอร์ทหุ้นต่างประเทศ แค่มีบัญชีกองทุนรวมก็ได้แล้ว แถมค่าธรรมเนียมยังถูกอีกด้วย
เวอร์ชั่นนี้เป็นเวอร์ชั่น upgrade แสดงค่าธรรมเนียมครบ
กองทุน Passive Fund ที่ล้อตามผลตอบแทน (Total Return) ของ Index เหล่านี้ มีเป้าหมายทำให้ได้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียง Index ที่สุด ต่างจากกองทุนแบบ Active ที่มีเป้าหมายในการเอาชนะIndex เหล่านี้ให้ได้ ซึ่งหลายครั้งกองทุน Active เอาชนะไม่ได้อยู่เหมือนกันนะ (ถ้าเอาให้แฟร์ ก็มีกองทุน active ที่ดีสม่ำเสมอ เช่นกัน) ดังนั้นกองทุนประเภทนี้จึงเหมาะกับคนที่ต้องการผลตอบแทนใกล้เคียงตลาดที่สุด ซึ่งความเสี่ยงได้ถูกกระจายออกไปเพราะมีการกระจุกตัวในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งต่ำ และความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับตลาดที่เราลงทุนเท่านั้น
👟ข้อดีของกองทุน Index ดีอย่างไร?
1. ผลตอบแทนเคลื่อนไหวไปพร้อมดัชนี ไม่ต้องพึ่งพาผู้จัดการกองทุนในการเลือกหุ้น เลือกหุ้นให้ได้เท่ากับน้ำหนักของตลาด ณ ขณะนั้น
2. มีค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ถูก เปรียบเสมือน Low Cost Airline ผลตอบแทนถึงเป้าหมายได้ โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง
กองทุน Index ที่มีอยู่ตลาด มักจะลงทุนผ่านกองทุน ETF ที่เทรดอิงกับดัชนีนั้นๆโดยตรง กองทุน Index ที่ให้เราเลือกซื้อได้ มีดังนี้
1. MSCI World Index 🌏
ดัชนีรวมหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เช่น USA ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น
ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง 13.36% ต่อปี
2. MSCI All Country World Index (ACWI) 🌏
ดัชนีรวมหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market)
ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง 13.21% ต่อปี
3. Emerging Markets กลุ่มตลาดประเทศเกิดใหม่ 🌏 ประกอบด้วย
3.1 MSCI Emerging Markets Index
ดัชนีรวมหุ้นประเทศเกิดใหม่ เช่น จีน, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, อินเดีย และบราซิลเป็นต้น (พี่ไทยอยู่ในนี้ด้วยนะ)
ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง 12.07% ต่อปี
3.2 Latin America
ดัชนี Latin America 40 รวมหุ้นใหญ่ของละตินอเมริกา 40 ตัวแรก รวม บ. ขนาดใหญ่ ใน Mexico, Brazil และ Argentina
ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง 4.62% ต่อปี
3.3 B.R.I.C. Countries
ดัชนีรวมกลุ่ม บ. ในกลุ่มประเทศ B.R.I.C. คือ Brazil, Russia, India และ China
ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง 20.34% ต่อปี
4. MSCI AC Asia Pacific Ex. Japan Index 🌏
ดัชนีรวมหุ้นในเอเชียแปซิฟิค ยกเว้นญี่ปุ่น
ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง 13.42% ต่อปี
5. ตลาดหุ้น USA 🇺🇸
5.1 S&P500 ตะกร้าหุ้น 500 ตัวแรกของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดใน USA
5.2 Dow Jones ตะกร้าหุ้น 30 ตัวแรกของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดใน USA
5.3 NASDAQ ดัชนีตลาด NASDAQ เน้นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
6. ตลาดหุ้นEU 🇪🇺
6.1 STOXX600 ดัชนีหุ้นของภูมิภาคEU รวมหุ้นขนาดใหญ่ 600 ตัว
6.2 STOXX50 จาก STOXX600 ย่อเหลือ 50 ตัวแรก
7. ตลาดหุ้น Germany 🇩🇪
มีอยู่หนึ่งดัชนีคือ DAX50 หรือหุ้นใหญ่ 50 ตัวแรก
8. ตลาดหุ้นญี่ปุ่น 🇯🇵
8.1 ดัชนิกเคอิ 225 จัดทำโดย บ. The Nikkei ตั้งแต่ปี 1950
8.2 ดัชนี Tokyo Stock Price (TOPIX) ของ Tokyo Stock Exchange โดยตรง
9. ตลาดหุ้นจีน 🇨🇳
9.1 ดัชนี Hangseng หุ้นฮ่องกง + หุ้นจีนเอชแชร์
9.2 ดัชนี CSI300 หุ้นเอแชร์ 300 ตัวแรก ในตลาดเซี่ยงไฮ้-เสิ่นเจิ้น
9.3 ดัชนี FTSE A50 หุ้นเอแชร์ขนาดใหญ่ 50 ตัวแรก
10. ตลาดหุ้นอินเดีย 🇮🇳
10.1 ดัชนี Nifty50 รวมหุ้น Large Cap 50 ตัวแรกใน National Stock Exchange
10.2 ดัชนี MSCI India ที่รวมหุ้นอินเดียทั้งประเทศ ราวๆ 90 ตัว
ปัจจุบันยังไม่มีดัชนี SENSEX ที่อยู่ในตลาด Bombay
11. ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ 🇰🇷
ที่มีในบ้านเราคือกองทุนที่ลงทุนใน ETF ตามดัชนี MSCI Korea 25/50
ที่มีSamsung เป็นเจ้าขอสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด ประมาณ 22% ในปัจจุบันยังไม่มีดัชนี KOSPI ให้ลงทุนครับ
เท่านี้ทุกคนก็มีคู่มือในการเลือกกองทุนIndex เพื่อจัดพอร์ทให้ตรงกับความต้องการของเราและยังสามารถนำไปเปรียบเทียบกับกองทุนแบบ Active ในกลุ่มประเทศ หรือภูมิภาคเดียวกันได้อีกด้วย
หากแอดตกหล่น กองทุน หรือ ดัชนีภูมิภาค หรือ ประเทศไหนไป แจ้งแอดด้วย 😁
--แถม--
ค่าธรรมเนียมของการลงทุน มี 3 ส่วนหลัก ๆ คือ:
1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม (ต่อปี) (Total Expense Ratio: TER)
1️⃣ การจัดการ (Management Fee): ค่าธรรมเนียมของการบริหารกองทุนของผู้จัดการกองทุน ซึ่งกองทุน Active จะมีค่าธรรมเนียมในส่วนนี้สูงกว่ากองทุน Passive และกองทุนหุ้นก็จะมีค่าธรรมเนียมในส่วนนี้สูงกว่ากองทุนตราสารหนี้/กองทุนตลาดเงิน
2️⃣ ผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee): ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งผู้ดูแลผลประโยชน์จะไม่ใช่หน่วยงานใน บลจ. นั้นๆ ดังนั้นนักลงทุนมั่นใจได้ว่าเงินลงทุนจะไม่สูญหายหรือถูกโกงอย่างแน่นอน โดยผู้ดูแลผลประโยชน์จะดูแลผลประโยชน์ของนักลงทุน และจะคอยตรวจเช็คว่า บลจ. คำนวณมูลค่าเงินลงทุนต่างๆ ถูกต้องหรือไม่ หรือเรียกได้ว่าเป็นผู้รับรองราคา NAV นั่นเอง
3️⃣ นายทะเบียน (Registrar Fee) ค่าธรรมเนียมนายทะเบียนซึ่งดูแลข้อมูลของนักลงทุนและข้อมูลการจ่ายปันผลต่างๆ
4️⃣ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Other Fee) เช่น ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าผู้สอบบัญชี เป็นต้น
2. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักลงทุน (Front-End Fee) ส่วนนี้นักลงทุนเสียตอนซื้อกองทุน
3. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักลงทุน (Back-End Fee) ส่วนนี้นักลงทุนเสียตอนขายกองทุน
อนึ่งผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นตัวการีนตีผลตอบแทนในอนาคต
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
โฆษณา