5 ก.ค. 2021 เวลา 15:31 • ไลฟ์สไตล์
เราไม่เลือกสิ่งที่ "อัลกอริธีม" แนะนำให้เราได้มั้ย
ในปัจจุบันเราถูกเชิญชวนให้สมัครสมาชิกบริการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกบริการออนไลน์ ซุปเปอร์มาเก็ตในรูปแบบบัตรสะสมแต้ม โดยบริการต่างๆ เหล่านี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเรียนรู้พฤติกรรมและเก็บข้อมูลของเราตลอดเวลาที่เราใช้บริการ และยิ่งไปกว่านั้น บรรดาผู้ให้บริการทั้งหลายยังมีการแบ่งปันข้อมูลกัน ทำให้เราเหมือนถูกติดตามอยู่ตลอดเวลา
หลายคนคงเคยมีประสบการณ์เปิดดูรายสินค้าบางอย่างบนแอพขายของออนไลน์ แล้วพอสลับหน้าจอมาไถเฟซบุ๊ค ก็มีโฆษณาของสินค้าตัวเดียวกันจากแอพนั้นตามมาแสดงบนฟีดของเฟซบุ๊ค สลับมาในเรื่องของการรับชมเนื้อหาบันเทิงออนไลน์ ผู้ให้บริการก็พยายามเรียนรู้จดจำสิ่งที่เราดูอยู่บ่อยๆ และคอยที่จะแนะนำเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันให้เรารับชม จนบางทีเราก็รู้สึกเบื่อเพราะเนื้อหามันซ้ำๆ กัน
เทคนิคหนึ่งที่ถูกใช้ในการสรรหาสินค้า เนื้อหาต่างๆ มาคอยส่งผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนให้เรา นอกจากคอยจำว่าเราชอบเลือกดูสินค้าประเภทไหน หรือเนื้อหาคอนเท้นต์แบบใด นั่นก็คือ การหา "ร่างแฝด (Doppelgänger)" ของเราในโลกออนไลน์ โดย "อัลกอริธึม" จะทำการบันทึกความชอบจากข้อมูลพฤติกรรมของเราที่ให้ไว้กับบริการต่างๆ แล้วจะทำการหา "ร่างแฝด" ที่เหมือนเรา
จากนั้นก็ โป๊ะเชะ เวลาที่ "ร่างแฝด" ของเรามีพฤติกรรมอะไร "อัลกอริธึม" ก็จะนำสิ่งนั้นมาแนะนำให้เราทำตาม และแน่นอนว่าความเป็นไปได้ที่เราจะเลือกสิ่งที่ถูกนำเสนอนั้นค่อนข้างสูง อาจจะเป็นเพราะพื้นฐานความชอบระหว่างตัวเรากับ "ร่างแฝด" นั้นคล้ายคลึงกัน
มองในแง่ดี "อัลกอริธึม" ก็ช่วยเราแก้ปัญหาเรื่องความเบื่อได้ แต่หากมองอีกแง่กลายเป็นว่าเรากำลังถูกบงการให้เลือกสิ่งที่ "อัลกอริธึม" หามาให้นั้นหรือ วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นในทางเทคนิคที่พอจะทำได้ทันที ก็คือการ "ล๊อคเอ๊าท์" และเปิด "โหมดส่วนตัว" ซึ่งเป็นการทำให้ "อัลกอริธึม" นั้นไม่สามารถที่จะระบุตัวเราได้ และหวังว่า "อัลกอริธึม" จะเปลี่ยนโหมดกลับไปใช้วิธีการสุ่มสินค้า หรือเนื้อหาคอนเท้นต์ มาให้เราแทน
ทีนี้ตัวเลือกที่เราได้รับก็อาจจะฟังดูไม่เหมือนเป็นการยัดเยียดความชอบของ "ร่างแฝด" มาให้เรา จากตัวอย่างนี้คงพอทำให้พวกเราเห็นภาพในมิติที่ซับซ้อนขึ้นได้ว่า สิ่งที่เราชอบอาจจะไม่ใช่ความชอบของเราจริงๆ แต่เป็นความชอบของ "ร่างแฝด" ที่เราไม่รู้จักก็เป็นได้
#DataNutrition #DataLabelling #DataObesity
ขอบคุณภาพจาก Photo by Jørgen Håland on Unsplash
Photo by Jørgen Håland on Unsplash
โฆษณา