6 ก.ค. 2021 เวลา 05:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิเคราะห์ดีล CPN ซื้อ “SF” ใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์?
สรุปแล้วเป็นเรื่องจริงจนได้ หลังจากที่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวลือว่าทาง บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF กำลังเนื้อหอม มีหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยให้ความสนใจเข้าซื้อหุ้น ด้วยการไปสู่ขอหุ้นในสัดส่วน 29.58% จากทางบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR เช่น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN และบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC
1
โดยบทสรุปของดีลนี้ก็เป็นทางฝั่ง CPN ที่ได้หุ้นของ SF ซึ่งนางสาวอัมพาวีร์ ชมภูพงษ์เกษม เลขานุการ ระบุว่า คณะกรรมการบริษัท มีมติให้เข้าทำสัญญาเข้าซื้อหุ้นสามัญของ SF จาก MAJOR โดย CPN จะเข้าซื้อหุ้น SF ต่อจาก MAJOR ทั้งหมด 647,158,471 หุ้น หรือ 30.36% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ SF ในราคาซื้อขายหุ้นละ 12.00 บาท คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 7,765,901,652 บาท และจะลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้นลงนามแล้วเสร็จ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ส.ค.64
1
นอกจากนี้ภายหลังการเข้าทำธุรกรรมการซื้อหุ้นเสร็จสิ้น CPN ทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของ SF (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ในราคาเดียวกันกับราคาซื้อขายตามสัญญาซื้อขายหุ้นที่ราคาหุ้นละ 12.00 บาท ภายในวงเงินประมาณ 17,817 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการทำธุรกรรมดังกล่าวรวมกันที่ 25,583 ล้านบาท
สำหรับแหล่งเงินทุนที่ CPN จะใช้ในครั้งนี้มาจาก เงินทุนจากการกู้ยืม ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากการซื้อ SF คือ ส่งเสริมศักยภาพทางการเงินและเพิ่มฐานกระแสเงินสดให้แก่บริษัทฯ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว และ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ รวมถึงการเข้าลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อช่วยให้อัตราการเติบโตทางธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
1
CPN ลงทุนสร้างอาณาจักรเพิ่ม
.
คุณ​ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ เปิดเผยว่า ดีลการลงทุนครั้งสำคัญของ CPN ในครั้งนี้มีความน่าสนใจ เนื่องด้วยทาง CPN นั้นมีแผนที่จะเสริมความแข็งแกร่งจะขยายการลงทุนในบริเวณพื้นที่โซนบางนา ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีโครงการเซ็นทรัลบางนาอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับ CPNได้
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในอนาคตจะมีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของทางฝั่ง SF ซึ่งเชื่อว่าทาง CPN ก็อยากที่จะมีส่วนร่วมในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่บริเวณโซนบางนา โดยขนาดของการลงทุนจะใกล้เคียงกับโครงการเมกาบางนา
นอกจากนี้มองว่าถึงแม้จะเป็นการลงทุนขนาดใหญ่มูลค่าหลักหมื่นล้านบาท แต่เชื่อว่าด้วยฐานทุนที่ทาง CPN มีเพียงพอที่จะใช้ในการลงทุนครั้งนี้ รวมถึงยังมีกรอบวงเงินกู้ที่จะสามารถกู้เงิน หรือการออก และเสนอขายหุ้นกู้เพิ่มเติมเพื่อมาใช้ในการลงทุนครั้งนี้ได้อย่างเพียงพอโดยที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องเพิ่มทุน
ขณะเดียวกันดีลการซื้อหุ้น SF ในครั้งนี้ จะเป็นดีกับทางฝั่งผู้ขายอย่าง MAJOR ด้วยเช่นกัน เพราะในช่วงปีที่ผ่านมาและในไตรมาส 1 /64 ผลประกอบการของ MAJOR มีผลขาดทุน เพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มีผลกระทบต่อบริษัทโดยตรง ดังนั้นดีลการขายหุ้นในครั้งนี้จะเป็นการช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับทาง MAJOR ภายใต้สถานการณ์โควิด19 ที่ยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่
Win-Win Deal ...CPN
.
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด มองว่ากรณีที่ CPN ประกาศซื้อหุ้น SF สัดส่วน 30.36% จาก MAJOR ราคาหุ้นละ 12.00 บาท คิดเป็นมูลค่า 7,765.9 พันล้านบาท คาดแล้วเสร็จภายใน 30 ส.ค. 2564 และหลังจากนั้นต้องทำ Tender Offer หุ้นส่วนที่เหลือของ SF จำนวน 1,484.762 ล้านหุ้น หรือ 69.64% ในราคาเดียวกันที่ 12.00 บาท ภายในวงเงิน 17,817 ล้านบาท (ยังไม่ระบุระยะเวลาในการทำ Tender Offer) สำหรับแหล่งเงินทุนในธุรกรรมครั้งนี้มาจากกระแสเงินสดภายในและเงินกู้ยืม
อย่างไรก็ตามแม้การลงทุนครั้งนี้ที่ราคา 12 บาท สูงกว่าราคาปัจจุบันของ SF ที่ 11.60 บาท และราคา Book Value สิ้นไตรมาส 1/64 ที่ 7 บาท (หรือคิดเป็น PBV 1.7 เท่า ยังต่ำ PBV ของ CPN ที่ 3.2 เท่า) รวมมูลค่าทั้งสิ้น 2.58 หมื่นล้านบาท (หาก Tender Offer 100%) เทียบเป็น 11.5% ของมูลค่าสินทรัพย์สิ้นไตรมาส 1/64 ถือเป็นมูลค่าลงทุนที่สูง และทั้งหมดมาจากการแหล่งเงินกู้ แต่ CPN มีความพร้อมในการลงทุน พิจารณาจาก Net Gearing สิ้นไตรมาส 1/64 ต่ำที่ 0.5 เท่า คาดแผนลงทุนครั้งนี้ไม่นำไปสู่การเพิ่มทุนและกระทบเงินปันผล
สำหรับความสนใจของ CPN ในการลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากมองถึงศักยภาพในสินทรัพย์ของ SF ที่จะช่วยขยายพอร์ตโครงการศูนย์การค้าใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยให้น้ำหนักไปยัง Super Region Mall 2 แห่ง คือ เซ็นทรัล เวสต์เกต และ เมกะบางนา ซึ่งทั้ง 2 แห่งถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังต่อยอดการลงทุนร่วมกับอีเกีย ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกของโลก รวมถึงยังสามารถเติมเต็มพอร์ต Community Mall และที่ดินรอการพัฒนาในทำเลศักยภาพสูงทั้ง CBD ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด
โดยฝ่ายวิจัยยังไม่ได้รวมการดำเนินงานของ SF ไว้ในประมาณการ เพื่อรอความชัดเจนหลังการทำ Tender Offer และการประชุมนักวิเคราะห์ แต่อย่างไรก็ดีหากพิจารณาผลประกอบการของ SF (อิงงบการเงินตามวิธีราคาทุน จากหมายเหตุประกอบงบ) พบว่า SF มีรายได้ราว 1-1.5 พันล้านบาท/ปี และกำไรปกติ 400-600 ล้านบาท (ในส่วนนี้กว่า 80% มาจากส่วนแบ่งกำไร เมกะ บางนา เฉลี่ย 400-500 ล้านบาทต่อปี) เทียบเป็นสัดส่วนต่อรายได้และกำไรปกติของ CPN ราว 4% และ 5% ตามลำดับ ไม่ได้มีนัยฯ ต่อประมาณการ CPN ที่มีกำไรระดับ 1 หมื่นล้านบาท แต่เชื่อว่าการลงทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตธุรกิจศูนย์การค้าของ CPN มากขึ้น คงแนะนำซื้อ CPN ที่ราคามูลค่าเหมาะสม 58.00 บาท
1
มองดีลนี้ช่วยต่อลมหายใจ MAJOR
.
บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ประเมินว่า การขายหุ้น SF ของ MAJOR ถืออยู่ทั้งหมด 647.16 ล้านหุ้น และราคาขายที่ 12.00 บาท/หุ้น บริษัทจะได้รับเงินสดประมาณ 7.8 พันล้านบาทซึ่งคาดว่าธุรกรรมจะเสร็จเรียบร้อยภายในเดือนสิงหาคม 2564 โดย MAJOR แจ้งว่าเงินสดที่ได้จากการขายหุ้น SF จะนำไป 1) ทยอยชำระคืนหนี้ 5.3 พันล้านบาทตามกำหนดชำระหนี้ 2) สำรองไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 2.2 พันล้านบาท 3) ลงทุนขยายธุรกิจ 265 ล้านบาท โดยบริษัทแจ้งว่าจะมีบันทึกกำไรจากการขายหุ้น SF หลักหักภาษีเป็นจำนวน 2.8 พันล้านบาท
แนวโน้มผลการดำเนินงานของธุรกิจหลักใน ไตรมาส 2 – ไตรมาส 3 ยังไม่สดใส
เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยกลับมารุนแรงขึ้นอีกครั้งตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน 2564 ทำให้ยังคงมีการปิดโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพ และอีก 20 จังหวัด ในขณะที่โรงภาพยนตร์ในจังหวัดอื่นๆ น่าจะมีจำนวนผู้ชมน้อยเพราะผู้คนพยายามหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เราจึงคาดว่าผลการดำเนินงานจากธุรกิจหลักจะยังไม่ดีใน ไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ซึ่งจะกดดันผลการดำเนินงานจากธุรกิจหลักของ MAJOR ในปี 2564
1
บล.กรุงศรี มองว่า การที่ MAJOR แจ้งกับ การประกาศดีลนี้สร้างความประหลาดใจให้เราและตลาดไม่มากทั้งในแง่ดีลและราคาขาย เรามองดีลนี้เป็นดีลที่ดีของ MAJOR จากสถานการณ์ปัจจุบัน เราเชื่อว่าเหตุผลในการขายหุ้นของ MAJOR คือ1) SF ไม่ใช่พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของ MAJOR ในการขยายกิจการ เนื่องจากการขยายของ SF เน้นไปในพื้นที่ต่างจังหวัดมากกว่ากรุงเทพฯ เนื่องจากมีจำนวนจอภาพยนตร์น้อย
1
ดังนั้นพันธมิตรหลักในปัจจุบันเป็น BigC, Lotus, และกลุ่ม Central; 2) บริษัทสามารถสร้างกำไรจากการขายหุ้น; 3) จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ Covid-19 เป็นเรื่องที่ดีกว่าหาก MAJOR อยู่ในสภาพปลอดหนี้และสำรองสภาพคล่องด้วยการถือเงินสด ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุน บริษัทจะเสียส่วนแบ่งกำไร600ล้านบาท ต่อปีจาก SF แต่สามารถประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยประมาณ 150ลบ. จากการจ่ายคืนหนี้ ทำให้กำไรปี 2022 ลดลง 37% เราจะทบทวนประมาณการของเราอีกครั้งหนึ่ง
เราคงคำแนะนำ ถือ ของหุ้นและราคาเป้าหมายที่สูงขึ้นที่ 25บาท เพื่อสะท้อนกำไร 3บาทต่อหุ้นจากการขายหุ้น SF คำแนะนำ ถือ ของเราเป็นผลจากราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาได้สะท้อนปัจจัยบวก รวมถึงการขายหุ้น SF จึงไม่เหลืออัพไซด์ต่อราคาเป้าหมาย
1
ติดตามอัพเดตความรู้ทางการเงิน-การลงทุนได้ที่
.
Facebook : Wealthy Thai
โฆษณา