Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันนี้คะ 😁
•
ติดตาม
6 ก.ค. 2021 เวลา 07:08 • สุขภาพ
เคยได้ยินโครงการกลับบ้าน หมอรออยู่... ไหมคะ
โครงการ Back home....
ทราบไหมคะ โครงการนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร มาจากไหน....
จะเล่าให้ฟังนะคะ
ช่วงเวลาโควิด เราเห็นอาจารย์แพทย์หลายๆท่านทุ่มเททำงานมากมายค่ะ หลายคนอาจจะไม่ได้เปิดเผยให้สังคมส่วนใหญ่ได้รับรู้ แต่เราก็จะรู้และเห็นการทำงานกันเป็นระยะ
ด้วยความที่เห็นและมีโอกาสได้พูดคุยกับอาจารย์
ในเฟซบุ๊ก จะเห็นอาจารย์ท่านหนึ่ง ในหลายๆท่าน ทุ่มเทการทำงานเรื่องโควิดในภาคส่วนของแพทย์ และนักวิชาการ มากๆ
และมักจะเห็นอาจารย์พยายามที่จะสื่อสารกับสังคม ปรับความเข้าใจ ให้ความรู้ ให้หลักวิชาการ.... เราพูดกันในฐานะหมอนะคะ
เราวางเรื่องการเมืองออกไป.... เพราะถ้าเราอยากทำหน้าที่หมอ.... คิดและคุยแบบหมอในกระแสการเมือง อยู่กับการเมือง ...
อาจารย์เป็นฟันเฟืองเล็กๆของทีมสาธารณสุข ไม่ได้มีอำนาจเลือกหรือไม่เลือก ทำหรือไท่ทำอะไร ฉะนั้นจึงมีสภาพเหมือนหมอทุกๆค่ะว่า มีทรัพยากรอะไร เราใช้เท่าที่มี หาอะไรเองได้หา ทำอะไรได้ทำ เรียกร้องได้ก็เรียกร้อง อยากขอก็พยายามขอ และสุดท้ายคือ ทำทุกอย่างที่ควรทำ เท่าที่จะทำได้ตามกำลังเราที่มีแต่พยายามให้สุด....
กำลังพูดถึง นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่าค่ะ อาจารย์เป็นทั้งครู เป็นทั้งหมอ
อาจารย์เป็นหมอนักวิชาการ ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาจารย์เป็นอายุรแพทย์ระบบประสาท....
สมัยเรียนปีสี่ก็เป็นลูกศิษย์อาจารย์ค่ะ ตอนนี้ก็ยังมีอาจารย์เป็นคุณครูอยู่ ตอนไม่สบายก็มีอาจารย์มาเป็นหมอรักษาให้ค่ะ....
งานของอาจารย์...
ไม่น่าเกี่ยวกับโควิดเลยนะคะ 😅.... แต่เราจะเห็นอาจารย์มากขึ้นในช่วงที่มีการพยายามให้ความรู้เกี่ยสกับอาการข้างเคียงทางระบบประสาทจากวัคซีน อาจารย์เป็นหนึ่งคนที่พยายามชี้แจงตามข้อมูลทางวิชาการที่มีในช่วงเวลานั้นๆ....
และอาจารย์ก็มายุ่งกับโควิดมากๆ ชัดเจนตั้งแต่มันปะทุจนต้องตั้งรพ.สนามแล้วค่ะ อาจารย์บอกว่า....
ผมทำงานด้านโควิดเพราะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามขอนแก่น ซึ่งเป็นงานที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่พอออกจากห้องประชุม เพื่อเดินทางไปถึงสถานที่จัดตั้ง รพ สนาม ทุกคนที่คิดว่าตนเองต้องมีหน้าที่ต่างเดินทางมาอย่างพร้อมที่จะทำงาน และทุกคนประสานทีมงานของตนเองอย่างอัตโนมัติ และสามารถเนรมิต รพ สนามได้อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง
เป็นการเริ่มต้นที่ผมประทับใจอย่างมากในความทุ่มเทของทุกคนที่ตั้งใจจะช่วยแก้ปัญหาโควิดให้คนไข้ ต่อมาก็เป็นเรื่องงบประมาณ ซึ่งเริ่มจากไม่มีอะไรเลย ผมจึงเขียนบทความสั้นๆ ว่าเป็นความมหัศจรรย์ของทีมงานในการก่อตั้ง รพ สนาม และความจำเป็นในการจัดตั้ง รพ.สนาม และเปิดรับบริจาค คนก็บริจาคมามากพอสมควรจนสามารถใช้ซื้อสิ่งของต่างๆ ได้ในการใช้ทำงาน
คำบอกเล่าของอาจารย์ที่อาจารย์เล่าถึงตอนเปิดโรงพยาบาลสนามค่ะ....
สิ่งที่คุยกับอาจารย์คือ....เราสนใจสิ่งที่อาจารย์ทำ
เราชอบสิ่งที่อาจารย์พยายามทำ และผลักดัน เพราะเราคิดว่า มันต้องมีแบบนี้สิ...
พาคนไข้กลับบ้าน....
เราเห็นในกรุงเทพหนักมาก หมอทำงานหนักมาก
เราเห็นเพื่อนที่เป็นหมอในต่างจังหวัดบอกว่า.... ส่งคนไข้จากกรุงเทพมาให้พวกเราช่วยดูแลก็ได้.... เค้าเป็นหมอที่รพ.เล็กๆ อำเภอหนึ่งในจังหวัดมหาสารคามค่ะ... พวกเราหลายคนอยากช่วยกัน..... ถามว่ากลัวไหม
กลัวค่ะ ไม่อยากให้มันมาระเบิดในบ้านตัวเอง
แต่.... เค้าลำบากขนาดนี้ ช่วยได้อยากช่วย... .
เราอยากเห็นระบบการนำส่งคนไข้กลับบ้าน... เอาจริงๆนะ เราคาดหวังว่าเราจะได้สิ่งนี้จากภาครัฐ เราคิดว่า มันเกิดปัญหาแบบนี้หลายครั้ง มันน่าจะมีการเรียนรู้การส่งคนกลับบ้านอย่างเป็นระบบ ระบบที่รองรับการนำคนติดเชื้อกลับบ้านเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อ...
เราคาดหวังว่ามันจะมีก่อนที่เค้าจะเปิดตรงนั้น ปิดตรงนี้ ล็อคตรงนู้น แต่เปิดตรงนี้ที่จะทำให้คนแตกหือออกจากเมืองหลวงกัน...
แต่.... มันก็แค่ความคาดหวังค่ะ... ทุกอย่างยังเสมอต้นเสมอปลาย... หลายจังหวัดในภาค
อิสานเป็นจังหวัดส่งออกแรงงานเข้ากรุงเทพ ขอนแก่น โคราช สารคาม อุดร...ในช่วงแรก
แต่ละที่มีวิธีบริหารจัดการของตัวเอง ขึ้นกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องจะบริหรจัดการ... กันเอง.... ค่ะกันเอง 😁....
.... เราเห็นอาจารย์พยายาสื่อสารอะไรสักอย่างในเฟซบุ๊ค อาจารย์อยากให้ภาครัฐ
หรือใครสักคนเป็นเจ้าภาพ
พาคนไข้จากกรุงเทพกลับบ้านที....
อาจารย์เล่าว่า....
การทำเรื่อง back home นี้เกิดจากที่ผมได้รับโทรศัพท์วันละหลายสิบครั้งที่คนโทรเข้ามาหาผมว่าช่วยหาเตียงช่วยรับผู้ป่วยโควิดให้ด้วย
ซึ่งผมก็หาเตียงได้เฉพาะในจังหวัดขอนแก่น
แล้วก็ผู้ป่วยเดินทางกลับมาเอง
โดยที่ผมแนะนำวิธีที่ให้ลดการแพร่เชื้อน้อยที่สุด
เช่น ขับรถทีเดียว ห้ามจอดรถพักปั๊มน้ำมัน ห้ามแวะซื้อของ มากลางคืนช่วงคนน้อยๆ แต่ก็ช่วยได้เฉพาะคนที่มีรถขับมาเอง.....
จนวันสุดท้ายผมได้รับโทรศัพท์จากน้องผู้หญิงมาบอกว่าหนูลำบากมากนอนที่วัดอาศัยวัด ข้าววัด พระเตรียมยาให้ทาน ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ ผมจึงตัดสินใจ post FB และ #สรยุทธ ตามที่เห็นตั้งแต่เช้า และได้ผล คือ คนช่วยกันแชร์มากมายจนถึงทีมข่าวเรื่องเล่าเช้านี้
คุณสรยุทธ โทรมาหาผมและพูดคุยกันจนเข้าใจและเริ่มงาน....
1
ด้วยข้อมจำกัดทางภาครัฐมากมาย อาจารย์จึงพยายามหาทางออกด้วยการขอความช่วยเหลือจากสังคมค่ะ....
ส่งเสียงให้คนในสังคมรับรู้และหันมามอง....
ช่วยด้วย ...... ช่วยที.... หมอและคนไข้ต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก และด่วน ใครมีกำลังช่วยพวกเราที..... ไม่ต้องพรรคใครพวกใคร ตอนนี้คือช่วยกัน....
เราต้องหาทางอก และมันต้องมีทางออก...
โชคดีมากที่เสียงที่อาจารย์ส่งออกไป มีคนรับรู้ได้ยิน ส่งต่อตามหน้าเพจ และมีการตอบรับเป็นทอดๆค่ะ
อาจารย์เล่าต่อว่า....
ในส่วน flow การทำงานนั้นอาจารย์โทรปรึกษาเพื่อนๆ ที่เป็น นายแพทย์ สสจ หลายจังหวัดว่าต้องทำอย่างไร ก็แจ้งให้ทางภาคเอกชน
คุณสรยุทธคุยกับอาจารย์โดยตรงถึงรายละเอียดเชิงลึก ในการดูแลคนไข้ อย่างรอบคอบในการขนส่งหมอจะบอกให้ทราบว่าต้องทำงานอย่างไรบ้าง ซึ่งทางภาคเอกชนก็ศึกษาเพิ่มเติมและวางระบบจนเกิดการทำงานเป็นรูปธรรมแบบที่เราเห็นตามหน้าเพจต่างๆตามสื่อ....
1
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=351115443042068&id=100044308452347
ตอนนี้คนไข้ที่รับมาจากกรุงเทพ มาที่ขอนแก่นนั้น จะถูกส่งตัวไปรักษาที่ รพศ. ขอนแก่น (ขอบคุณมากมายค่ะ) และโรงพยาบาลชุมชน
รพ. สนามที่ผมเป็นผู้อำนวยการ ก็ไม่สามารถรับคนไข้เพิ่มได้ เพราะเต็มศักยภาพของทางทีมทุกคนเหนื่อยมาก ผมก็เข้าใจและยอมรับในข้อจำกัดต่างๆ แต่ก็โชคดีที่ทาง รพศ.ขอนแก่น และ สสจ. เข้าใจ
.... พออาจารย์เล่าถึงตรงนี้ก็หนักอึ้งแทนไปหมดค่ะ....
คนไข้หาทางมาหาหมอ หมอหนึ่งคนพยายามหาทางเอาคนไข้กลับบ้าน หาเตียง...
ดิ้นรนจนหาคนมาช่วยขนคนไข้ได้....
แต่ก็เหมือนจู่ๆหาเรื่องให้เหนื่อยกันทั้งทีม..... เท่ากับไปหอบงานมาให้คนรักษา....
แต่สิ่งที่น่าอึ้งกว่าก็คือคนที่มาช่วยหมอกับคนไข้
มีผู้มีจิตเป็นกุศลที่ขอนแก่น ยื่นมือเข้ามาช่วยงบประมาณในการใช้เป็นค่ารถพยาบาลผู้ป่วย บอกว่ามีให้ไม่จำกัด ขอให้พาคนไข้กลับมามากที่สุด โดยไม่บอกว่าเป็นใครครับ
ปกติคนเราทั่วๆไป
จะชอบคำว่าความดีความชอบนะคะ...
แต่บางที มันก็จะมีความดีที่ไม่มีใครชอบ....
คนหลายคนมากมายบนแผ่นดินนี้ที่ไม่ได้ชอบความดีแบบนี้.... แต่ยอมทำ.... ยอมเหนื่อย
ถ้าถามบุคลากรที่ทำงานหนักเป็นทัพหน้าในทุกที่ ทั้งหมอ พยาบาล บุคลากรการแพทย์อื่น แม่บ้าน เวรเปล คนขับรถ ทุกคนที่เป็นทีม...
ทุกคน.....มีใครชอบความดีแบบนี้... เหนื่อยคอดๆ 😔.. คงไม่มีใครชอบ.... แต่ถ้าต้องทำ และหลายคนยอมทำด้วยความสมัครใจ....
หลายโรงพยาบาลไหวไม่ไหวก็ต้องไหว...
ไหวจนกว่าจะไม่ไหวจริงๆ....
ถ้าสนใจจะบริจาคช่วยละคะอาจารย์.....
บริจาคโรงพยาบาลที่ดูแคนไข้ ที่สะดวกและใกล้ได้เลยครับ.... ทางผมไม่รับ....
#ไม่ติดดีที่สุด....
สุดท้าย อาจารย์ฝากไว้แบบนี้ค่ะ....
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมต้องเดินหน้า ต้องขอโทษทุกๆ คนที่ทำให้ รพ.สนาม และ รพ.ศรีนครินทร์นั้นทำงานหนักขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ผมได้ความรู้ คำแนะนำต่างๆ จากพี่ภิรุญ และความกรุณาที่รับคนไข้ให้ทุกคนในโรงพยาบาล
2
ส่วน รพ.สนามนั้นก็ได้อ.อธิบดีและคุณหนิง ทีมพยาบาล และผู้บริหารทุกๆท่าน ช่วยจัดการทุกอย่างให้ รพ.สนามนั้นเปิดบริการได้ภายใน 24 ชม. ผมเชื่อมั่นว่าทีม รพ ศรีนครินทร์ ทีมคณะแพทย์ ขอนแก่น ทีมมหาวิทยาลัยขอนแก่น และทุกๆท่านที่ผมไม่สามารถกล่าวถึงได้หมดนั้น ต้องทำให้เราชาวขอนแก่นรอดไปด้วยกัน
ขอบคุณทุกๆท่าน และขออภัยทุกๆท่านอีกครั้งที่ทำให้งานหนัก เหนื่อยครับ
หนูขอเพิ่มว่า...
รพศ.ขอนแก่นก็ทำงานหนักมากๆด้วยค่ะ....
รับเละทุกสิ่งแบบเลี่ยงอะไรไม่ได้เลย.... จริงๆ
1
ขอขอบพระคุณ รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า
อายุรแพทย์ระบบประสาท ภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ค่ะ
ที่กรุณาให้ข้อมูล
"กลุ่มศึกษาวิจัยโรคลมชัก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น"
https://epilepsy.kku.ac.th/mem_somsak.htm
บันทึก
7
4
6
7
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย