Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Innowayถีบ
•
ติดตาม
8 ก.ค. 2021 เวลา 14:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
พี่วัวจ้าช่วยเรอกันน้อยๆหน่อย โลกร้อนใหญ่แล้ว
วัวเรอกับโลกร้อน เกี่ยวกันยังไง?? แล้วมีทางไหนจะช่วยให้พี่วัวเรอน้อยลงได้ นายอินโนจะพาไปเจาะลึดถึงกระเพาะวัว และนวัตกรรมเจ๋งๆเพื่อพี่วัวกัน
2
โลกร้อนขึ้น ปรากฏการณ์ที่ธรรมชาติส่งสัญญาณถึงเราๆว่า สมดุลของสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปแล้ว อันนี้ใครๆก็รู้สึกได้จากสภาวะอากาศที่สุดแสนจะแปรปรวน อาทิเช่นที่แคนาดาเมื่อช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนอุณหภูมิที่เมืองแวนคูเวอร์ก็พุ่งสูงเป็นประวัติศาสตร์ถึงเกือบ 50 องศาเซลเซียสกันที่เดียว (เรียกว่าบ้างที่นั้นร้อนจนสามารถทอดไข่กันได้เลยที่เดียว)
ca.news.yahoo.com
See how fast you can fry an egg in the B.C heat wave
A time-lapse shows an egg frying in a pan while sitting in the sun during the B.C heat wave.
เรียนรู้เพิ่มเติม
ซึ่งจะว่าไปโลกเราก็ไม่ได้อย่าจะร้อนขึ้นมาเองหรอกครับ ก็เกิดการการกินใช้ของพวกเราที่ต้องมีการใช้พลังงานในการขับเคลื่อน ซึ่งในกระบวนการทั้งหมดก็จะส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยเจ้าสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่เรียกกันรวมๆว่า ก็าซเรือนกระจก (Green house gases) ซึ่งประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และสารซีเอฟซี โดยทั่วๆไปเราตระหนักถึงอันตรายของเจ้าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำลายชั้นบรรยากาศ
1
แต่จริงๆแล้วในบรรดาก็าซเรือนกระจก ยังมีผู้เล่นคนสำคัญอีกหนึ่งที่จัดได้ว่ามีพละกำลังในการทำลายชั้นบรยากาศสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว
ก็าซที่ว่าก็คือ มีเทน นั่นเอง และตัวการที่ช่วยปล่อยมีเทนออกสู่ชั้นบรรยากาศก็คือ
ผมเองครับ
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่ามีเทนที่ปลดปล่อยจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์นั้นรวมๆกันมีปริมาณมีเทนที่ปล่อยออกมา (เมื่อเทียบเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) สูงถึง 5 กิกะตัน โดยปริมาณดังกล่าวจัดว่าเป็นลำดับที่สามของผู้ปล่อยก็าซเรือนกระจกของโลกเลยทีเดียว ตามหลังก็าซเรือนกระจกโดยอเมริกาทั้งประเทศที่ปล่อย 6 กิกะตันนิดเดียว
แล้วทำไมวัวถึงเรอ??
มีเทนนั้นเกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในกลุ่มโดเมนของอาร์เคีย (archaea) ซึ่งอาศัยอยู่ในกระเพาะ โดยเจ้าอาร์เคียมีส่วนในการย่อยอาหารและผลิตมีเทนขึ้น เมื่อมีก็าซเกิดขึ้นภายในกระเพาะวัวจึงต้องเรอเพื่อที่จะลดความดันที่เกิดขึ้น
1
ซึ่ง 95% ของมีเทนที่เกิดขึ้นจะออกมาจากการเรอ ที่เหลือมาจากการที่วัวผายลม นักวิจัยพยายามที่จะคิดค้นวิธีที่จะลดมีเทนจากกระบวนการย่อยอาหารของวัวหลากหลายทีเดียว ทั้งการพัฒนาวัคซีนที่จะลดการทำงานของอาร์เคียเป็นต้น
แต่พระเอกของเราวันนี้คือ Mootral ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพจากสวิตเซอแลนด์ที่พัฒนาสารสกัดจากกระเทียมและส้มที่มีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของอาร์เคีย ซึ่งผลิตภัณฑ์ของ Mootral ก็เป็นส่วนผสมที่ใส่ลงไปในอาหารปกติ โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อแบคทีเรียอื่นๆที่อยู่ในกระเพาะของวัว
สารสกัดจากกระเทียมที่ใช้ในสูตรอาหารของ Mootral จะเป็น แอลลิซิน (allicin), อะโจอีน (ajoene) ซึ่งมีการศึกษาพบว่าจะทำปฏิกิริยากับผนังเซลล์ส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ส่วนไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) นอกยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แล้วยังทำลายผนังเซลล์ ส่วนสารที่ได้จากพืชตระกูลส้มก็คือ กรดต่างๆที่เราอาจจะคุ้นชื่อก็เช่น กรดคาร์บอกซิลิก ซึ่งสารกลุ่มนี้จะสามารถแพน่ผ่านผนังเซลล์ของอาร์เคียทำให้ความเป็นกรดเบสในเซลล์ปั่นป่วน ส่งผลให้พวกมันทำงานได้ไม่เต็มที่
2
Mootral ทำการศึกษาผลของสารสกัดที่ผสมลงไปในอากาศเทียบกับทั้งวัวที่กินอาหารปกติและวัวที่กินอาหารผสมที่สามารถยับนั้งการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ พวกเขาพบว่าสูตรอาหารที่ใช้สารสกัดจากกระเทียมและส้มนั้นลดการเกิดมีทนได้ดีกว่ามากๆ นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มน้ำนมให้กับวัวอีกประมาณ 4% ทีเดียว
1
มีเทนที่ลดลงเมื่อใช้อาหารของ Mootral
นอกจากจะช่วยลดมีเทนซึ่งส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว Mootral ยังช่วยหารายได้ให้เพิ่มแก่เกษตรกรที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา โดยที่เกษตรกรจะได้รับคำนวณคาร์บอนเครดิต (ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงจากการใช้อาหารของ Mootral ) ซึ่งสามารถนำไปเเลกเปลี่ยนเป็นเงินได้อีกด้วย
สำหรับสายเนื้อทั้งหลายก็สบายใจได้นิดนึงว่า เดี๋ยวนี้การอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ก็ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พยายามที่จะหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้มากขึ้น แต่ยังไงเราก็ช่วยกันบริโภคอย่างคุ้มค่าและเลือกทานผู้ผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันนะครับ
1: The cows that could help fight climate change,
https://www.bbc.com/
, 7 Aug 2019
2: Mootral: Saving the climate, one cow at a time,
https://www.wipo.int/ip-outreach/en/ipday/2020/case-studies/mootral.html
3.
https://www.mootral.com/science/#research
3 บันทึก
15
13
4
3
15
13
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย