7 ก.ค. 2021 เวลา 15:00 • ประวัติศาสตร์
เชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับรางวัลโนเบล แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบื้องลึกเบื้องหลังการเกิดขึ้นของรางวัลที่มีมูลค่ากว่าหนึ่งล้านยูโรนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร
รางวัลโนเบลนั้น เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งเกิดจากเงินบริจาคของบุรุษผู้หนึ่ง ที่เขามีส่วนในการปฏิวัติการผลิตอาวุธสงครามในช่วงศตวรรษที่ 19 แต่เค้าก็ชิงชังสงครามตลอดมา วันนี้เราจะได้รู้จักกับ อัลเฟริด โนเบล (Alfred Nobel) กันครับ
สำหรับรางวัลโนเบลนั้นนับว่าเป็นรางวัลที่มีความยิ่งใหญ่อย่างยิ่ง ซึ่งผู้ที่จะได้รับรางวัลนี้นั้นต้องเป็นผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับมวลมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นในด้าน วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การแพทย์ วรรณกรรม หรือสันติภาพ ซึ่งเป็นเจตจำนงของ อัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน และรางวัลนี้ก็ปลุกเร้าความร้อนแรงในวงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) โนเบลนั้นเกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2376 ที่เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน วัยเด็กของโนเบลนั้น เขาได้ศึกษาเล่าเรียนกับครูส่วนตัว เขามีความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์มาก แต่วรรณศิลป์ก็เป็นสิ่งที่โนเบลชื่นชอบมากเช่นกัน ต่อมาเขาได้ย้ายไปอเมริกาพร้อมครอบครัวเนื่องจากประสบปัญหาทางการเงิน ที่อเมริกาเขาได้ทุ่มเทตัวเองหันมาศึกษาด้านดินระเบิด โดยเฉพาะสารที่มีชื่อว่า "ไนโตรกลีเซอร์รีน" (nitroglycerine) ซึ่งค้บพบในปี พ.ศ. 2390 โดยแอสคานิโอ โซเบรโน โดยโซเบรโนได้ผสม กลีเซอรอล เข้ากับ ดินประสิว และ กรดกำมะถัน ( อย่าหาทำกันนะจ๊ะ เพราะเป็นสารที่อันตรายมาก ไวต่อแรงสั่นสะเทือน และความร้อนเป็นอย่างยิ่ง ) แต่โซเบรโนไม่สามารถควบคุมการระเบิดของสารนี้ได้ เมื่อเกิดการระเบิดโดยไม่ได้ตั้งใจโซเบรโนจึงเสียโฉมถาวร เขาจึงล้มเลิกการหาวิธีควบคุมการระเบิดของสารนี้ แต่ไม่ใช่กับโนเบล เขาสนใจใน ไนโตรกลีเซอรีนมาก เพราะไม่เพียงแค่มันมีแรงระเบิดสูงกว่าดินปืน 6-7 เท่า แต่กลีเซอรอลยังเป็นวัตถุดิบที่ราคาถูกมากอีกด้วย ซึ่งช่วงแรกเขาก็ไม่สามารถควบคุมการระเบิดของมันได้ จนทำให้โรงผลิตของเขาระเบิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และเคยคร่าชีวิตคนไปด้วยซึ่งหนึ่งในนั้นคือน้องชายของเขาเอง แต่เขาก็ไม่ย่อท้อและเดินหน้าศึกษาวิจัยต่อ และเขาก็ได้ค้นพบมันอย่างบังเอิญ โดยในการขนส่งไนโตรกลีเซอรีน มีบางส่วนซึมออกมาแต่ถูกดูดซับเอาไว้ด้วยซิลิกาที่ใส่ไว้เต็มลัง เพื่อกันกระแทก สำหรับ ซิลิกานั้นเป็นวัตถุเม็ดเล็กๆเนื้อพรุน มีคุณสมบัติดูดซับของเหลว นี่คือสารที่โนเบลแสวงหามาตลอดเพราะมันจะทำให้ไนโตรกลีเซอรีนไม่ไวต่อแรงสั่นสะเทือน และด้วยแรงระเบิดมหาศาลเขาจึงเรียกมันว่า "ไดนาไมต์" ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษากรีกที่มีความหมายว่า พลังอำนาจ
ข้อดีของระเบิดไดนาไมต์นั้นคือ ผลิตเป็นแท่งได้ เพื่อนำไปใช้ในการขุดเจาะแบบใหม่ โดยการระเบิดจากภายในก้อนหิน พลังระเบิดมหาศาลของมันทำให้การเคลื่อนย้ายภูเขาเป็นไปได้จริง ทำให้เขาสามารถสร้างกำไรจากธุรกิจนี้ได้อย่างถล่มทลาย
แต่เหรียญนั้นก็ย่อมมีสองด้านเสมอ จุดเสียประการเดียวของระเบิดมหัสจรรย์ไดนาไมต์ที่เขาคิดค้นขึ้นนั้น คือ การถูกนำไปใช้ในการสงคราม แต่เขาก็ไม่เคยเข้าไปข้องเกี่ยวออกหน้ากับการที่กองทัพใช้สิ่งประดิษฐิ์ของเขาในการล้างผลางชีวิตคน ที่จริงแล้วเขากลับชิงชังสงคราม เขาไม่ใช่แค่ผู้ค้าความตายที่ผลิตอาวุธที่ไร้มโนธรรม คอยแต่ก่อกำไรงามจากความตายของผู้คน และเขาก็เคยเขียนหนังสือติดต่อกับนักรณรงค์ต่อต้านสงครามผู้หนึ่ง ในหัวข้อนโยบาลสันติภาพและการสร้างพันธมิตรประเทศ ซึ่งคลับคล้ายคลับคลากับแนวคิดในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ในบั้นปลายชีวิตโนเบลได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่อิตาลีด้วยเหตุผลทางการเมือง และที่นี่ยังเป็นที่ที่ชายผู้มีนามว่า อัลเฟรด โนเบล ได้จากโลกนี้ไป ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก
แต่เขาไม่ต้องการให้ชนรุ่นหลังจดจำเขาในฐานะเจ้าพ่อไดนาไมต์ แต่เขาอยากให้คนรุ่นหลังจดจำเขาในฐานะ ผู้สนับสนุนการวิทยาศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และสันติภาพ เขาจึงระบุในพินัยกรรมให้นำมรดก 94% ของเขา ไปตั้งเป็นกองทุน และนำดอกผลในแต่ละปี ไปใช้เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติ ของผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับมวลมนุษยชาติ แต่เหล่าญาติๆ ของโนเบล พยายามคัดค้านพินัยกรรมดังกล่าว ดังนั้นกว่าจะมีการมอบรางวัลครั้งแรก จึงเป็นปี พ.ศ. 2444 13 ปีหลังการเสียชีวิตของเขา สำหรับในการมอบรางวัลจะมอบรางวัลโนเบลใน 5 สาขา ได้แก่ เคมี การแพทย์ วรรณกรรม สันติภาพ และฟิสิกส์ ก่อนที่ภายหลังสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2512 และรางวัลนี้ก็ยังมีการมอบในทุกๆ วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
นับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เคยมีคนไทยคนไหนในประวัติศาสตร์ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล และเชื่อว่าซักวันหนึ่งรางวัลนี้คนไทยจะสามารถคว้ามาไว้ในมือได้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว คุณค่าของรางวัลหาได้อยู่กับเงินทองก้อนโต หรือเหรียญตราทองคำล้ำค่าใดๆ แต่อยู่ที่ผลงานของผู้ที่ได้รับนั้นสร้างคุณประโยชน์ให้กับใครหรือสร้างคุณค่าให้กับใคร และคู่ควรกับรางวัลนี้หรือไม่ ...........สำหรับวันนี้สวัสดีครับ..........
Alfred Nobel ( อัลเฟรด โนเบล ) พ.ศ. 2376 - พ.ศ. 2431
ขอบคุณสำหรับการอ่านครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับวันนี้ ฝันดี สวัสดีครับ...............
เรียบเรียงโดย :
NanoZ Science & Technology
โฆษณา