8 ก.ค. 2021 เวลา 04:37 • ข่าว
📌ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังคงกำหนดให้สายพันธุ์แลมบ์ดาเป็น Variant of Interest (VOI) หรือไวรัสกลายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจเฝ้าระวังไว้ก่อน ซึ่งต่างจากสายพันธุ์เดลตาที่มีสถานะเป็น Variant of Concern (VOC) หรือไวรัสกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงและวิตกกังวลไปเสียแล้ว
อันที่จริงสถานะสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าจับตามองหรือ VOI ของแลมบ์ดา หมายความว่ามีการปรากฏตัวของไวรัสกลายพันธุ์นี้ขึ้นในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งมีลักษณะการกลายพันธุ์ที่ส่อแววว่าอาจมีผลต่อการแพร่ระบาดในอนาคตเท่านั้น
มีการตรวจพบสายพันธุ์แลมบ์ดาครั้งแรกที่ประเทศเปรูเมื่อเดือนสิงหาคมของปีก่อน โดยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้สูงถึง 81% ของผู้ป่วยโควิดในเปรู และพบมากถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโควิดในประเทศชิลี รวมทั้งพบผู้ติดเชื้อเกือบร้อยรายในประเทศเม็กซิโกและอาร์เจนตินาอีกด้วย แต่เปรูนั้นมีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
4
📌ล่าสุดเมื่อปลายเดือนมิถุนายน พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ที่สหรัฐฯ กว่า 600 ราย และที่สหราชอาณาจักรอีก 7 ราย โดยคาดว่าส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
ไวรัสโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดานั้นมียีนกลายพันธุ์ที่ซับซ้อนในหลายตำแหน่ง โดยพบการกลายพันธุ์ถึง 7 จุดบนโปรตีนที่เป็นส่วนหนามของไวรัส เมื่อนำไปเทียบกับพันธุกรรมของไวรัสโควิดดั้งเดิมซึ่งพบครั้งแรกที่นครอู่ฮั่นของจีน
การกลายพันธุ์บางลักษณะที่พบในสายพันธุ์แลมบ์ดานี้ มีศักยภาพสูงที่จะทำให้ไวรัสมีความสามารถในการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล รวมทั้งสามารถลดทอนประสิทธิภาพของแอนติบอดีบางตัวที่ใช้เพื่อยับยั้งไวรัสได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่นการกลายพันธุ์ที่เรียกว่า F490S ซึ่งอยู่บนพื้นที่จับกับตัวรับ (RBD) ของหนามไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดา ถือว่าเป็นการกลายพันธุ์ที่อาจจะทำให้ไวรัสรอดพ้นจากวัคซีนไปได้ โดยจะทำให้แอนติบอดีที่วัคซีนสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพต่ำลง ไม่อาจทำให้ภูมิคุ้มกันจดจำและเข้าทำลายไวรัสกลายพันธุ์ได้
3
📌จากกรณีโลกโซเชียลมีการแชร์อ้างมีข้อมูล โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) รุนแรงมากกว่าสายพันธุ์เดลตา และพบการระบาดในหลายประเทศแล้ว
1
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุถึงเรื่องดังกล่าวว่า สายพันธุ์เดลตายังไม่มีพ่อหรือแม่ ข่าวที่บอกว่าแลมบ์ดา คือ ตัวจริง คือ เลอะเทอะ ถ้าตัวพ่อมาจริงๆ จะบอก แต่ตอนนี้ไม่มีอะไรต้องกังวลไปมากกว่าเดลตา
1
พร้อมระบุด้วยว่า ตอนนี้ไม่มีข้อมูลอะไรเลยที่บ่งชี้ว่าไวรัสสายพันธุ์ แลมบ์ดา หรือ C.37 ที่พบในเปรูแพร่กระจายไวกว่า หรือรุนแรงกว่า เดลตา
ข้อมูลการกลายพันธุ์ของ Lambda ก็ไม่มีอะไรที่น่ากังวลเท่ากับแอลฟา และเดลตา ถ้าคนที่ออกข่าวนี้ไปติดตามอ่านงานวิจัยล่าสุดของเปรูเอง หรือที่ทีม USA เพิ่งเอามาลงวันนี้ ไวรัสตัวนี้ยังหนีภูมิจากวัคซีนได้น้อยกว่าเดลตามาก ผลการทดลองจากเปรูที่ใช้วัคซีน CoronaVac ของ Sinovac ก็บอกว่าไวรัสตัวนี้หนีภูมิพอๆ กับสายพันธุ์แอลฟา ซึ่งภูมิจาก Sinovac เอาไวรัสตัวนี้อยู่แน่นอน
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่
#โควิด #แลมบ์ดา #ไวรัส #วัคซีน
โฆษณา