8 ก.ค. 2021 เวลา 10:19 • สุขภาพ
ผลการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนล่าสุด จากชิลี
จะช่วยชี้อนาคตประเทศไทย ?
1
Pfizer vs Sinovac // ไฟเซอร์ กับ ซิโนแวค
จากผลการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนในประเทศชิลี ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชื่อดังอย่าง New England Journal of Medicine (NEJM) เมื่อวานนี้ (7 ก.ค. 64)
น่าจะพอใช้เป็นแนวทางการจัดการวัคซีนของไทยได้บ้าง (หากต้องการ) เพราะมีข้อมูลหลายอย่างที่น่าสนใจ
📌 ข้อมูลเบื้องต้น
✔️ การศึกษาระหว่างวันที่ 2 ก.พ. - 1 พ.ค. 2564
✔️ ขณะเก็บข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นการระบาดของโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ P.1 (Gamma) ~ 75% และ B.1.1.7 (Alpha) ซึ่งนับเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงทั้ง 2 ชนิด
www.aljazeera.com
✔️ ศึกษาในประชากร อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป
(N = 10,187,720 คน)
👉 อายุ 16-19 ปี 708,676 คน ~ 7%
👉 อายุ 60-69 ปี 1,365,940 คน ~ 13%
👉 อายุ 70-79 ปี 870,082 คน ~ 8.5%
👉 อายุ ≥ 80 ปี 476,521 คน ~ 4.7%
กลุ่มประชากรที่ศึกษา
✔️ แบ่งกลุ่มการศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน
👉 5,471,728 ~ 53.7%
2. กลุ่มที่ได้รับวัคซีน 1 เข็ม (อย่างน้อย 14 วัน)
👉 542,418 คน ~ 5.3%
3. กลุ่มที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม (อย่างน้อย 14 วัน)
👉 4,173,574% ~ 41.0%
📌 ผลการศึกษา
จากการศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว
แสดงประสิทธิผลของวัคซีน
(Vaccine Effectiveness, VE) ดังนี้
🔴 VE ของ Sinovac (ซิโนแวค)
หลังฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 เข็มที่ 2
💉 ป้องกันการติดเชื้อ 15.5% 65.9%
💉 ป้องกันการนอน รพ. 37.4% 87.5%
💉 ป้องกันการป่วยหนัก 44.7% 90.3%
💉 ป้องกันการตาย 45.7% 86.3%
ในช่วงเวลาเดียวกัน ได้มีการเก็บข้อมูลผู้ที่ใช้วัคซีนไฟเซอร์ ควบคู่กันไปด้วย แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยชิ้นนี้
[ข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ใน Supplementary Index ค่ะ]
🔵 VE ของ Pfizer (ไฟเซอร์)
✔️ คนที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม = 490,760 คน
✔️ คนที่ได้รับวัคซีน เข็ม = 420,174 คน
💉 ป้องกันการติดเชื้อ 92.6%
💉 ป้องกันการนอน รพ. 95.1%
💉 ป้องกันการป่วยหนัก 96.2%
💉 ป้องกันการตาย 91.0%
📌 การศึกษานี้ บอกอะไรเรา ?
👉 หากเปรียบเทียบ VE ของวัคซีน Sinovac และ Pfizer พบว่า Pfizer มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อได้ดีกว่า หากเทียบกันแบบ Head to Head ซึ่งการศึกษา ในลักษณะเปรียบเทียบวัคซีน 2 ยี่ห้อนี้ มีไม่มากนัก
1
👉 วัคซีนทั้ง 2 ชนิด สามารถป้องกันการนอน รพ., การป่วยหนัก และการตายได้ใกล้เคียงกัน เหมือนหลาย ๆ การศึกษาก่อนหน้านี้
ความเห็น : 💁‍♀️
หากเป็นช่วงก่อนหน้าที่ประเทศไทย จะเข้าสู่การระบาดระยะที่ 4 ความคาดหวังว่า การฉีดวัคซีน Sinovac ไปก่อน อาจเพียงพอ
เพราะอย่างน้อย ช่วยป้องกันป่วยหนักได้ กันตายได้ หรือใครติดเชื้อก็ไปสถานพยาบาล ใช้ยา Favipiravir รักษาได้
แต่ในขณะนี้ เราอยู่ในระยะที่ไม่สามารถบอกแหล่งการติดได้ชัดเจน ทุกคนอาจเป็นพาหะของโรคได้แม้ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection)
เพราะฉะนั้นการเลือกใช้วัคซีน Sinovac ที่ป้องกันการติดเชื้อได้ 65.9% (หรือ 50.7% จากการศึกษาของบราซิล) อาจทำให้เรามีโอกาสพบคนติดเชื้อ ได้มากกว่า การใช้วัคซีน Pfizer ถึง 4.6 เท่า
อีกทั้งยังไม่มีการศึกษา ถึงความสามารถในการลดการแพร่กระจายเชื้อ (Transmission) และการลดการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ของวัคซีน Sinovac เหมือนอย่างที่มีปรากฏในส่วนของวัคซีน mRNA (Pfizer และModerna)
📌 การศึกษานี้จะใช้เป็นแนวทาง
ให้ประเทศเราได้ไหม ?
1
👉 ขณะทำการศึกษา เป็นการระบาดของสายพันธุ์ Gamma และ Alpha แต่ปัจจุบันที่ประเทศเรา พบการระบาดของ Delta ประมาณ 70% แล้ว
อาจไม่สามารถใช้ VE นี้ เทียบได้โดยตรง แต่พอบอกแนวโน้มได้ว่า วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน น่าจะป้องกันสายพันธุ์ Delta ได้ลดลง เช่น Pfizer ป้องกันได้ลดลงเหลือ 88%, AstraZeneca เหลือ 60%
ความเห็น : 💁‍♀️
👉 ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ได้รับวัคซีนประมาณ 11,000,000 คน เป็นวัคซีนเข็มที่ 1 ประมาณ 8 ล้านคน และเป็นวัคซีนเข็มที่ 2 ประมาณ 3 ล้านคน
ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่า ประสิทธิภาพของ Sinovac ในด้านต่าง ๆ จะลดลงอีกเท่าไหร่ เมื่อเจอกับสายพันธุ์ Delta
ส่วนคนที่ได้รับวัคซีน Sinovac เข็มแรก ที่ป้องกันการติดเชื้อได้ 15.5% นั้น ไม่อาจคาดเดาได้เลยว่า ประสิทธิภาพจะลดลงจนถึงระดับเท่าใด และคาดว่า น่าจะยังแพร่กระจายเชื้อให้สู่สังคมได้อยู่ ในระดับที่ใกล้เคียง กับคนที่ยังไม่ได้ฉีดเลยทีเดียว
ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแผนการใช้วัคซีน โดยอ้างอิงจากประสิทธิภาพงานวิจัยที่เชื่อถือได้ ร่วมกับการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมการระบาดขั้นสูงสุด ระบบสาธารณสุขของเรา อาจจะล่มสลายในไม่ช้า
🔴 เพราะยอดผู้ป่วยสีเหลืองกำลังแซงหน้าสีเขียว ซึ่งถือเป็นวิกฤติอย่างหนึ่ง ในแง่ของการจัดการสาธารณภัย
🔴 ในขณะที่เตียงสีเหลือง, สีแดงใน กทม. กำลังจะถึงจุดที่ไม่สามารถรับเพิ่มได้อีกแล้ว ถึงตอนนั้น ทุก รพ. จะได้เลือกใช้ทรัพยากรที่เหลือ ให้กับคนที่มีโอกาสรอดมากที่สุด
🔴 บุคลากรการแพทย์จำนวนกว่า 60,000 คนทั่วประเทศนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ป่วย มีแต่จะลดลง และล้าลงทุกวัน
🔴 ยา Favipiravir ที่ใช้รักษาผู้ป่วยในปัจจุบันนั้น มีแนวโน้มว่า มีประสิทธิภาพรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้ไม่ดีนัก
Thestandard.co
🔥 ถ้ายังไม่เรียกสถานการณ์ตอนนี้ว่า วิกฤต ก็แปลว่า ยังไม่ตระหนักถึงความรุนแรง ที่กำลังจะเกิดขึ้น
🔥 จะเห็นว่า อาวุธที่ใช้รับมือของเราใกล้หมดแล้ว ทั้งบุคลากร ทั้งเตียง ทั้งเครื่องช่วยหายใจ ทั้งยา
...เหลือทางเลือกเดียวคือ "ต้องมีวัคซีนที่ดี"
แปลว่า ต้องเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง แค่กันเจ็บ กันตาย มันไม่พอแล้ว กับสถานการณ์ตอนนี้
เราต้องใช้วัคซีน ที่ป้องกันการติดเชื้อได้ดี และลดการระบาดได้ด้วย เพราะวัคซีนที่ดี แสดงให้เห็นว่า ยังมีประสิทธิภาพ รับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ได้อยู่
ถึงตอนนี้ ถ้าไม่ตัดสินใจ วางแผนจัดการวัคซีนอีกที ปูพรมฉีดกระหน่ำทั่วประเทศตอนนี้ ถ้าคิดช้ากว่าระยะนี้ อาจเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล
ถ้ากลัววัคซีน mRNA มากมาย เลือกใช้วัคซีนเชื้อตายอย่าง Sinopharm ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าก็ยังได้
ประชาชนทั่วไป อาจกลัวผลข้างเคียงของวัคซีนโน่นนี่นั่นได้ แต่บุคลากรทางการแพทย์ ควรใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพูดคุย และอธิบายสังคมอย่างวิทยาศาสตร์ เพราะการตัดสินใจรักษาคนไข้ ไม่สามารถใช้ความกลัว เป็น Evidence-based ได้
1
🔥 ถ้าไม่ล็อคดาวน์ เพราะกังวลเรื่องเงินชดเชย เดือนละ 3 แสนล้าน แล้วปล่อยให้สถานการณ์ เป็นแบบนี้ต่อไป โดยไม่แก้ไขเรื่องวัคซีน และบริหารเตียงให้ชัดเจน แล้วจะรู้ว่า 3 แสนล้านนั้น อาจเทียบไม่ได้เลย กับความเสียหาย ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
3
🔥 แล้วประวัติศาสตร์ จะต้องจารึกเรื่องนี้ไปอีกนาน
😁 🙏 บทความนี้แสดงข้อมูลจริงจากงานวิจัย มิได้ตั้งใจด้อยค่าวัคซีนแต่ประการใด เพราะตัวเลข ก็บ่งบอกชัดเจนแล้ว และยังได้แยกส่วนที่แสดงความคิดเห็นไว้แล้วค่ะ
1
ขอบพระคุณค่า
อ่างสมอง
📌 อ้างอิงจาก
Effectiveness of an Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine in Chile

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา