8 ก.ค. 2021 เวลา 18:50 • ไลฟ์สไตล์
“ชาติพันธุ์” ฝรั่ง VS ไทย (ตอนที่ 4)
ในประเทศที่พัฒนาแล้วเขาสอนและสอดแทรกอะไรให้กับผู้คนผ่าน สิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรมคำสอน และสถาบันครอบครัว เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ยังไม่พัฒนา เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร มาจับเข่าคุยกันจ้า😊
3
ชาติพันธุ์ในตอนก่อนหน้านี้ เราได้เล่าถึงสองในห้าปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ประเทศสวีเดนพัฒนาได้ คือ ความสามัคคีของคนในชาติ และ ระบบการศึกษา
ชาติพันธุ์ตอนนี้ เราจะเล่าถึงปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่มีส่วนสำคัญในการฟูมฟัง และ ขัดเกลาให้สังคมสวีเดนได้รับการยอมารับว่ามีอารยธรรม และรวมถึงทำให้ประเทศของเขาพัฒนาและมีความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์
1
ในสังคมของเขา เขาปลูกฝังอะไร อย่างไร ให้กับประชากรของเขา พร้อมกับปรียบเทียบกับประเทศที่ยังไม่พัฒนา ในหัวข้อ
👉 การเรียนรู้ ผ่านสังคม วัฒนธรรมคำสอน สถาบันครอบครัว และ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
โดยเราจะแยกเป็น 2 หัวข้อใหญ่คือ
❶🔹การเรียนรู้ผ่าน - สิ่งแวดล้อมทางสังคม🔹
❷ 🔹การเรียนรู้ผ่าน - สถาบันครอบครัว🔹
1
❶ 🔹การเรียนรู้ผ่าน สิ่งแวดล้อมทางสังคม🔹
สิ่งแวดล้อมทางสังคมมีส่วนประกอบที่หลากหลาย เราจะเลือกพูดถึงเฉพาะบางสิ่ง ซึ่งได้แก่
1.1) การเรียนรู้ผ่าน สิ่งแวดล้อมทางสังคม - วัฒนธรรมคำสอน
1.2) การเรียนรู้ผ่าน สิ่งแวดล้อมทางสังคม - วัฒนธรรมการเลี้ยงดูพ่อแม่
1.3) การเรียนรู้ผ่าน สิ่งแวดล้อมทางสังคม - สื่อ
1.4) การเรียนรู้ผ่าน สิ่งแวดล้อมทางสังคม - ศาสนา
1.5) การเรียนรู้ผ่าน สิ่งแวดล้อมทางสังคม - สังคมชาวสวีเดน
1.6) การเรียนรู้ผ่าน สิ่งแวดล้อมทางสังคม - กฎหมาย
🔹🔹 1.1) การเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมทางสังคม - วัฒนธรรมและคำสอน 🔹
🌞🌞 วัฒนธรรมคำสอนในภาพรวมของประเทศสวีเดนจะสอดคล้องกับการเรียนการสอนในโรงเรียน นั้นคือการมุ่งเน้นและสนับสนุนให้พลเมืองได้มีอิสระเสรี มีความเป็นตัวของตัวเอง การได้ค้นพบตัวเอง และ
การสนับสนุนให้พลเมืองได้พัฒนาตัวเอง เพื่อร่วมกันนำสังคมให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับโลกที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยไม่ลืมที่จะสอดแทรกตรรกศาสตร์ หลักเหตุและผล
และนอกจากนั้นวัฒนธรรมคำสอนของเขายังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้มีความเท่าเทียม และ ความเสมอภาคในสังคม เพื่อสนับสนุนความเป็นประชาธิปไตย
1
💥💥 สิ่งสำคัญที่บงบอกว่าประเทศใดประเทศหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาประเทศอย่างแท้จริงหรือไม่ สามารถมองเห็นได้จากการเรียนการสอนในระบบการศึกษา และ วัฒนธรรมคำสอน ว่าประเทศนั้นกำลังสอนหรือปลูกฝังสิ่งใดให้กับพลเมือง และ เพื่อขับเคลือนสังคมไปในทิศทางใด
การเรียนการสอนในระบบการศึกษา และ วัฒนธรรมคำสอนหลายๆ รูปแบบ ของประเทศที่ยังไม่พัฒนาหรือไม่ต้องการพัฒนา จึงมีความสอดคล้องกันเช่นเดียวกับประเทศสวีเดนหรือประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้ว
เพียงแต่ความสอดคล้องนั้นกำลังพยายามขับเคลือนสังคมให้ไปคนละทิศทางกัน หรือให้เดินไปข้างหน้าแต่เดินไปอย่างช้าๆ
เพราะคำสอนหลายๆ คำสอนในประเทศเหล่านี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตัวเองของพลเมืองอย่างแท้จริง ไม่ได้มุ่งเน้นการสอนที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนแต่แอบแฝงไปด้วยผลประโยชน์เพื่อเอื้ออำนวยการคอร์ลัปชั่น และ นอกจากนั้นยังสอดแทรกความเป็นเผด็จการลงไป
🔹🔹 คำสอนที่สอนผ่านไม่ว่าจะเป็น วลี สํานวน สุภาษิต คำพังเพย ฯ ของแต่ละประเทศนั้นมีมากมาย หลาย ๆ คำสอนมีความเป็นกลางซึ่งแต่ละประเทศจะสอนคล้ายๆ กัน เช่น
📌 “Kärleken är blind.” หมายถึง “ความรักทำให้คนตาบอด”
📌 “Lyckan kan inte köpas för pengar.” “ความสุขซื้อด้วยเงินไม่ได้” และ
📌 “Ju fler kockar desto sämre soppa” “ยิ่งมีกุ๊กมากคน ยิ่งทำให้รสชาติของซุปแย่ลง” เทียบได้กับ “มากคนก็มากความ”
1
แต่เราจะเลือกหยิบสุภาษิตหรือสำนวนคำสอนบางส่วน ที่แสดงให้เห็นถึงการที่ประเทศสวีเดนพยายามสอนหรือชี้นำให้ชาวสวีเดนพัฒนาตัวเอง การสอดแทรกความความเท่าเทียม และ พื้นฐานอื่น ๆ ของความเป็นประชาธิปไตย
🌞🌞 “Du ska vara mot andra som du vill ha andra mot dig”. และ “behandla andra som du själv vill bli behandlad” สองประโยคนี้มีความหมายคล้ายกัน คือ “คุณจะปฏิบัติหรือกระทำต่อผู้อื่นดั่งที่คุณปรารถนาให้ผู้อื่นปฏิบัติหรือกระทำต่อคุณ”
สองสำนวนนี้เป็นสำนวนคำสอนที่ชาวสวีเดนคุ้นเคย เป็นคำสอนที่ใช้ได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไป แม้แต่เราเองที่เป็นชาวต่างชาติก็เคยได้ยินสำนวนนี้
และเรามองว่าคำสอนนี้ เขากำลังสอนคนของเขาในหลายแง่มุม ทั้งคำสอนที่สอนโดยตรง และ คำสอนแอบแฝง นั่นคือ
📌 1) เขากำลังสอนให้คิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น หรือ ให้เข้าใจผู้อื่นโดยเทียบกับความรู้สึกของตัวเอง อยากให้ผู้อื่นสุขภาพ, ให้เกียรติ, รับฟัง, เคารพ, รัก ฯลฯ ก็ให้เริ่มทำสิ่งนั้นกับผู้อื่นก่อน โดยไม่แบ่งแยกผู้ใหญ่หรือเด็ก
หากเรานึกถึงการสอนเด็ก คำสอนนี้ก็หมายถึงว่า “ถ้าเราต้องการให้เด็กทำอะไร เราก็ต้องทำสิ่งนั้นให้เด็กก่อน” จะสอนให้เด็กรับฟังเหตุผลของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็ต้องสามารถรับฟังเหตุผลของเด็กได้
📌 เป็นคำสอนที่สอดแทรกและปลูกฝัง ความเท่าเทียม, สิทธิ์ในการแสดงออก การพูด และ การรับฟังซึ่งแสดงถึงการเคารพในสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นการปลูกฝังพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตย
1
คำสอนนี้ใช้ได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และถ้าเรานึกถึงการสอนเด็กของบางประเทศ 🔹ที่สอนหรือสั่งให้เด็กเงียบ หยุด หรือฟังอย่างเดียว โดยไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดหรืออธิบาย🔹
เมื่อเทียบกับการสอนของประเทศสวีเดน วิธีของชาวสวีเดนอาจจะใช้เวลาการสอนมากกว่าในระยะแรก แต่ให้ผลดีในระยะยาว การเปิดโอกาศให้เด็กได้มีส่วนร่วม ได้แสดงออก ได้พูด ได้อธิบายความคิดเห็นของตัวเอง เป็นการปลูกฝังให้เด็กได้ฝึกคิดและฝึกใช้เหตุและผล
การรับฟังของผู้ใหญ่ยังเป็นการสอนให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะฟัง และ เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น รวมถึงการรับฟังยังเป็นการฝึกให้ยอมรับความเห็นต่าง สิทธิเหล่านี้คือพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของความเป็นประชาธิปไตย
หากเหตุผลของเด็กเป็นเหตุผลเด็กๆ ที่ยังไม่ถูกต้อง พ่อแม่หรือผู้ใหญ่มีหน้าที่คอยอธิบายและแนะนำสิ่งที่ถูกต้องให้เด็กได้เข้าใจ
เป็นคำสอนที่แฝงไว้ด้วยความเท่าเทียม เพราะไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็มีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน เด็กหรือมนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะพูดและแสดงออก
💥💥 “คุณจะปฏิบัติหรือกระทำต่อผู้อื่นดั่งที่คุณปรารถนาให้ผู้อื่นปฏิบัติหรือกระทำต่อคุณ” เมื่อเทียบกับคำสอนนี้ของประเทศสวีเดน ทำให้เรานึกถึง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” “อกเขาอกเรา” ซึ่งเป็นสุภาษิตคำสอนที่คนไทยเราได้ยินและคุ้นเคยมาเนินนาน
นอกจากนั้นยังมีคำสอนที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเรานึกถึง “ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว” “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” “กงเกวียนกำเกวียน” “กงกำกงเกวียน” “บุญทำกรรมแต่ง” “กรรมตามสนอง” และ “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นคืนสนอง” (มีอีกไหมนี่🤔)
คำสอนเหล่านี้มีความหมายคล้าย ๆ กัน คือ ใครทำอะไรก็ได้รับสิ่งนั้น เป็นคำสอนที่เราคนไทยคุ้นเคยกันดี ความคุ้นเคยอาจจะทำให้หลาย ๆ ท่านไม่คิดว่าคำสอนเหล่านี้มีอะไรผิดแปลก
แต่เมื่อพิจารณาให้ดีๆ เราจะเห็นว่าคำสอนเหล่านี้ปลูกฝังความเชื่อเรื่องกฎแห่งกกรมและบาปบุญคุณโทษ เราไม่ได้บอกว่าไม่ดี..แต่...
▶🔎 ทำไมสำนวนคำสอนที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน จึงมีหลายสำนวน และ แต่ละสำนวนล้วนเน้นความเรื่อง ความเชื่อ
▶🔎 ทำไมคำสอนเหล่านี้จึงพยายามชี้นำให้สังคมมีแนวคิดเชื่อเรื่องบาปบุญ ในขณะที่ประเทศที่ต้องการพัฒนาและพัฒนาแล้วพยายามสอน และ ชี้นำให้พลเมืองใช้ตรรกศาสตร์ หลักการเหตุและผล
เมื่อเรานึกถึงคำสอนของประเทศสวีเดนอีกครั้ง “คุณจะปฏิบัติหรือกระทำต่อผู้อื่นดั่งที่คุณปรารถนาให้ผู้อื่นปฏิบัติหรือกระทำต่อคุณ” ซึ่งเป็นตรรกะ เหตุและผลปกติทั่วไป ที่ไม่ได้แฝงไว้ด้วยความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษอะไร
2
🔺 “ทำไมประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามชี้นำให้พลเมืองคิดอย่างมีเหตุผล แต่ประเทศที่ยังไม่พัฒนาชี้นำให้เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ”🔺
2
เราเชื่อว่าความคุ้นเคยและความผูกพันกับคำสอนเหล่านี้ และ การที่ประเทศของเราเป็นเมืองพุทธ อาจจะทำให้หลายท่านยังรับสิ่งที่เราพยายามจะเปรียบเทียบนี้ไม่ได้ เราขอฝากให้ท่านพิจารณาดัวยตัวของท่านเองอีกครั้ง🌼🌼
เราเอง เพียงแต่เห็น คิด และ วิเคราะห์ สิ่งเหล่านี้จากสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากแนวคิดการสอนของประเทศสวีเดน มันเป็นเพียงความคิดของเราเท่านั้น
ดังนั้นไม่ว่าท่านจะคิดอย่างไร เราก็ยอมรับความคิดเห็นของท่าน แต่เราฝากท่านทดสิ่งนี้ไว้ในใจก่อน แล้วเราจะพูดถึงเรื่องความเชื่ออีกครั้งในหัวข้อต่อไป⭐⭐
อีกคำสอนที่เราคนไทยทุกคนคุ้นเคย คือ 🔹“เชื่อฟัง - เป็นเด็กเป็นเล็กต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่”🔹 ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเคยพูดถึงในเรื่องเล่าของเราหลายๆ ตอน ก่อนหน้านี้แล้ว
การสอนหรือสั่งให้เด็ก “เงียบ” และ รับฟังอย่างเดียว ทำให้เหตุผลหรือความคิดของเด็กถูกตัดสินว่าเป็นเพียงความคิดของเด็กที่ไม่ควรถูกกล่าวออกมา หรือไม่จำเป็นต้องได้รับการรับฟัง ซึ่งบงบอกถึงความไม่เท่าเทียม และผู้ใหญ่ก็มักจะเรียกการที่เด็กพยายามอธิบายว่า “เถียง”
2
การสอนลักษณะนี้ นอกจากเด็กจะไม่ได้เรียนรู้สิทธิ์การพูดการแสดงออกของตน ยังทำให้เด็กส่วนหนึ่งที่ถูกห้ามบ่อยๆ มีโอกาสได้รับความเก็บกดมากขึ้น
การสอนให้เด็กเงียบและฟังอย่างเดียว คือการสอนสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นประชาธิปไตย นั้นคือความเป็นเผด็จการ ซึ่งเด็กต้องคอยรับฟังคำสั่งฝ่ายเดียว
คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการปลูกฝังให้เงียบตอนเป็นเด็ก เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ทำให้คนส่วนหนึ่งมีความรู้สึกนี้ติดอยู่ภายใต้จิตสำนึกลึก ๆ และ
🔹 เมื่อมีลูกก็อาจจะคาดหวังให้ลูกเป็นเด็กดี ที่กำหนดไว้ว่า เด็กดีต้องเงียบ เชื่อฟัง และไม่เถียง
🔹 เมื่อคุยกับ “ผู้ใหญ่” ไม่ว่าจะ หัวหน้างาน ผู้บริหาร ฯลฯ การถูกปลูกฝังให้เงียบและฟังก็ทำให้หลาย ๆ ท่านไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น หรือถ้าพูดสิ่งที่เป็นความเห็นต่างก็อาจจะถูกมองว่า "เถียง"
🌞🌞 คำสอนอื่น ๆ ของสวีเดน ที่เราอยากกล่าวถึง เช่น “Läsa mellan raderna” ความหมายโดยตรงคือ “อ่านระหว่างบรรทัด” ซึ่งเป็นคำสอนที่สอนให้ ตีความ ให้คิด และ วิเคราะห์สิ่งที่ซ่อนอยู่ระหว่างที่เรากำลังอ่าน, เห็น หรือกำลังฟัง เพื่อให้สามารถ ✨มองเห็นมากกว่าสิ่งที่เห็น และ ได้ยินมากกว่าสิ่งที่ได้ยิน✨
📌 “Var dig själv” และ “Våga vara dig själv” หมายถึง “เป็นตัวของตัวเอง” และ “จงกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง” และ “Var inte där du inte kan vara dig själv.” “อย่าอยู่ในที่ ที่คุณไม่สามารถเป็นตัวของตัวเอง”
1
คำสอนนี้สอนให้เป็นตัวของตัวเอง เป็นคำสอนที่ใช้บ่อย ๆ โดยเฉพาะกับเด็ก เพื่อให้เด็กค้นพบตัวเอง และ มีความสุขกับการเป็นตัวของตัวเอง
📌 “En sanning idag inte behöver vara en sanning imorgon.” หรือ “En sanning idag kan vara osant imorgon.” หมายถึง “สิ่งที่เป็นความจริงในวันนี้ อาจจะไม่เป็นความจริงอีกแล้ว ในวันพรุ่งนี้”
1
ซึ่งเป็นคำสอนเพื่อให้เข้าใจว่า โลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอด ให้ตระหนักถึงการเรียนรู้และศึกษา เพื่อให้ทันกับข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงของโลก
 
ยังมีคำสอนอื่น ๆ อีกมากมายของประเทศสวีเดน ที่มุ่งเน้น สนับสนุน และ กระตุ้นให้ผู้คน คิดวิเคราะห์ การยอมรับและเตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยตรรกะเหตุและผล สนับสนุนให้ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตัวเอง และมีความสุขกับการที่ได้เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของเขา
💥💥 หลายท่านที่ฟังมาถึงตรงนี้อาจจะนึกถึงสำนวนคำสอนของไทยอีกมากมาย ที่เรานึกไม่ถึง แต่สิ่งที่เรากำลังพยายามทำให้ท่านเห็น คือ คำสอนของสวีเดนจะมุ่งเน้นไปทิศทางเดียวกัน แต่คำสอนของไทยเรา มีผสมปนเปกัน
และ อาจจะมีสำนวนคำสอนของไทย ที่คล้าย ๆ กับคำสอนของประเทศสวีเดนที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งเรายังนึกไม่ออกในตอนนี้ 🤔
กระนั้นก็มีคำสอนที่คนไทยเราคุ้นเคย แต่มีทิศทางการสอนในทางตรงกันข้ามกับที่ประเทศสวีเดนทำ เช่น “ตามหลัง▪ผู้ใหญ่▪หมาไม่กัด” “▪ผู้ใหญ่▪อาบน้ำร้อนมาก่อน” “เชื่อฟัง▪ผู้ใหญ่▪”
ซึ่งแม้จะมีคำสอนใหม่ๆ เข้ามาในสังคมไทยในช่วงหลัง แต่คำสอนดังกล่าวนี้ก็เป็นสิ่งที่คนไทยเราคุ้นเคย และ ฝังลึกในจิตใต้สำนึกของคนไทย
ซึ่งหากเราลองพิจารณาความหมายลึกๆของคำสอนนี้ หากผู้ใหญ่ที่เด็กตามนั้นไม่มีความคิดก้าวหน้าหรือวิสัยทัศน์ นั้นก็หมายถึงว่าคำสอนนี้กำลังต้องการ 📌"การรักษาไว้ซึ่ง สิ่งที่เคยเป็นมาในอดีต ให้คงอยู่อย่างนั้นให้ได้มากและนานที่สุด"
ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศสวีเดนที่ต้องการให้ผู้คน ✨“พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงด้วยตรรกะเหตุและผล เพื่อการพัฒนาและเดินไปข้างหน้าด้วยกัน” ซึ่งมันเป็นความจริงของโลกใบนี้ที่ปฏิเสธไม่ได้
ในอดีตพวกเขาใช้รถม้าในการเดินทาง ต่อมาก็มีรถยนต์ใช้ และปัจจุบันรถยนต์ยังถูกพัฒนาให้ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังสามารถเดินทางข้ามทวีปด้วยเครื่องบิน
ในอนคตแม้เราไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าทุกสิ่งจะเปลี่ยนไปเช่นไร แต่เรารู้แน่นอนว่าสรรพสิ่งบนโลกไม่เคยหยุดนิ่ง
⭐⭐ชาวสวีเดนถูกสอนให้ยอมรับ และ เตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง นอกจากพวกเขาไม่เคยคิดที่จะหยุดการพัฒนา พวกเขายังสงเสริมการพัฒนาเพื่อประเทศชาติ และ เพื่อรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปในอนาคตของพวกเขา
1
นอกจากคำสอนดังกล่าวจะแอบแฝงไว้ด้วยระบบชนชั้น ความเป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ ยังสอนให้เราไว้ใจคน เพราะคำว่าผู้ใหญ่ ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงญาติผู้ใหญ่ หรือครูบาร์อาจารย์เท่านั้น แต่ยังให้ความรู้สึกรวมไปถึงทุกคนที่อายุมากกว่า
ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่สามารถเชื่อใจได้ว่าผู้ใหญ่ทุก ๆ คนจะหวังดีกับเด็กจริงไหม และ คำว่าผู้ใหญ่ ยังถูกปลูกฝังให้รู้สึกรวมไปผู้ใหญ่ที่เป็นผู้บริหารบ้านเมือง ที่ผู้เฒ่าผู้แก่เรียก “หลวง หรือ นาย”
ซึ่งเราไม่สามารถมั่นใจ หรือ ไว้วางใจได้เลยว่า ใครบ้างที่จะซื่อสัตย์กับเงินภาษีของเรา แต่กระนั้นเรากลับถูกสอนให้เพียงแต่ ไว้ใจ เงียบ เชื่อฟัง และเดินตาม "ผู้ใหญ่” โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก
ประเทศสวีเดนไม่ได้สอนให้เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่ ในสังคมของพวกเขาไม่มีชนชั้น ฟังดูแล้วหลาย ๆ ท่านอาจจะกำลังคิดว่าสังคมของชาวสวีเดนไม่มีความเคารพต่อกัน แต่นั้นเป็นความคิดที่ผิด🔺
เพราะแม้เขาไม่ได้สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ แต่ความเป็นประชาธิปไตยของเขา ❤️ได้สอนให้มนุษย์เคารพและรับฟังสิทธิ์ของมนุษย์❤️ ดังนั้นสังคมของเขาจึงอ่อนโยน เด็กเคารพผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่เคารพเด็ก เด็กที่เป็นมนุษย์และเป็นบุคคล ๆ หนึ่งตามวัยของเขา
2
เราเขาใจว่าสังคมไทยพยายามให้มีชนชั้นผู้ใหญ่ เด็ก เพื่อสอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ เราไม่ได้คิดว่าไม่ดี แต่ในนั้นมันมีความหมายแอบแฝงอยู่ ไว้เราค่อยพูดถึง "ชนชั้น" ในหัวข้อต่อไป เราขอฝากให้ท่าทดไว้ในใจก่อน ⭐⭐
🔹🔹1.2) การเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมทางสังคม - วัฒนธรรมการเลี้ยงดูพ่อแม่ 🔹
ตอนมาสวีเดนใหม่ๆ เรามีโอกาสได้คุยกับชาวสวีเดนที่สนิทกัน เขาเล่าว่าเมื่อประมาณ 100 กว่าปีในอดีต ประเทศของเขาก็เป็นเหมือนที่ประเทศไทยเป็นอยู่
พ่อแม่ลูกอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ และลูกเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า แต่ในปัจจุบันพวกสามารถเขาเลือกได้ เขาบอกว่าที่เราคนไทยต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เพราะเรายังไม่มีเงินเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ
ตอนนั้นเรายังไม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของเขาดีพอ เรายังมีความคิดว่าครอบครัวฝรั่งไม่รักและไม่ผูกพันกันมาก ลูกไม่มีความผุกพันกับพ่อแม่ ไม่เลี้ยงไม่ดูแลพ่อแม่ และ แน่นอนคนไทยเรารักกันและมีความผูกพันกันมากกว่าพวกเขา
เมื่อได้ฟังที่ชาวสวีเดนคนนั้นพูดเราก็ยั้วะสิ😱 เราจึงตอบเขาไปว่า 🔸“พวกเราถูกสอนให้ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงเรามา ไม่ใช่เพียงเพราะพ่อแม่ไม่มีเงินเบี้ยเลี้ยง”🔸 ประมาณว่าเหน็บแนมเขาไปหน่อยๆ ที่พวกเขาไม่รู้จักทดแทนคุณพ่อแม่
อย่างที่เราบอก เขากับเราสนิทกัน ไม่อย่างนั้น เราเชื่อว่าคนสวีเดนจะไม่พูดแบบนี้กับคนที่ไม่สนิทจริงๆ และพอเราตอบเขาไป เขาก็รับฟังแล้วเงียบไปโดยไม่ได้เถียงหรือตอบอะไรกลับมา เราจึงคิดในใจว่า สิ่งที่เราพูดไปนั้นถูกต้องที่สุดแล้ว
1
พอนานวัน เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมเขามากขึ้น เราถึงเข้าใจความรักของพวกเขา ความรักความผูกพันที่อ่อนโยนต่อกัน ความรักที่บริสุทธิ์ที่ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
พวกเขาไม่สอนหรือปลูกฝังให้ลูก หรือ สร้างหน้าที่ให้เด็กตัวเล็กๆ ต้องมีภาระเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่ชรา ⭐⭐ ตรงนี้เราเข้าใจว่าหลายท่านคงยากที่จะยอมรับสิ่งที่เรากำลังพูดถึง ท่านอาจจะกำลังคิดว่า 🔺“ไม่สอนให้ลูกเลี้ยงดูพ่อแม่” มันคือการสอนให้ "อกตัญญูฎ แต่มันไม่เป็นเช่นนั้น ในประเทศสวีเดน
การศึกษา, การอบรมสั่งสอนด้วยความรักความอ่อนโยน การเคารพกันและกัน การรับฟังเหตุผล การอธิบายด้วยเหตุผล และความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ที่มีให้ลูก ได้กระตุ้นจิตสำนึกของพวกเขาให้รักกันด้วยธรรมชาตของมนุษย์ โดยไม่ต้องคอยบอกหรือต้องคอยสอน❤
ด้วยความซื่อสัตย์ในการบริหารเงินภาษีของรัฐบาล ทำให้ภาษีถูกแบ่งปันและจัดสรรให้เป็นเงินเบี้ยผู้สูงอายุและมีใช้อย่างเพียงพอ
1
🔺ทำให้รัฐบาลของพวกเขาไม่ต้อง คอยสอน คอยเตือน คอยสร้างวัฒนธรรมคำสอน เพื่อตอกย้ำให้ลูกต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูพ่อแม่ ไม่ต้องปลูกฝังและสร้างภาระให้ไว้ให้ลูกตั้งแต่เขายังเป็นเด็ก
🔶🔷รัฐบาลเอง ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารเงินภาษีของพวกเขาอย่างซื่อสัตย์ เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิ์ และมีอิสระที่จะมีความสุขในชีวิตของตัวเอง🔷🔶
1
ผู้สูงอายุหลายคนบอกว่า พวกเขามีความสุขกับชีวิตที่พวกเขาได้อยู่กันเอง (ไม่ต้องอยู่บ้านหลังเดียวกับลูกๆที่มีหลานๆ ซึ่งทำให้วุนวายได้บ่อยๆ) แต่พวกเขาไม่ได้อยู่อย่างโดยเดียว (มีลูกๆ อยู่ใกล้ๆ ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง มีหลานๆ มาเยี่ยมเมื่อคิดถึง)
หากพวกเขาแก่ชรา ลูกๆ ก็ไม่ได้ทอดทิ้ง เพียงแต่เขาไม่อยู่บ้านเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีพนักงานจากหน่วยงานดูแลผู้สูงอายุมาคอยดูแลถึงที่บ้านทุกวัน
แม้จะมีลูก ๆ บางคนที่ไม่มีเวลาให้กับพ่อแม่เท่าที่ควร แต่นั้นก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในประเทศที่ถูกสอนให้เลี้ยงดูพ่อแม่ แต่ในประเทศสวีเดนผู้สูงอายุเหล่านี้ไม่เคยถูกลืม และ ปล่อยให้ลำบาก ลำพัง อย่างไร้ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์❤
เราคิดว่าความแตกต่างของวัฒนธรรม ที่แม้เราจะพยายามอธิบายอย่างไร ก็อาจจะมีหลายท่านที่ยังไม่สามารถจิตนาการและเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศสวีเดนได้ ไว้เราจะมาเล่าเพิ่มในเรื่องนี้ ว่าผู้สูงอายุของเขาอยู่กินเป็นสุขอย่างไร ให้ละเอียดกว่านี้
และในหัวข้อนี้เราขอเล่าถึงฝั่งสวีเดนฝ่ายเดียว โดยไม่มีการเปรียบเทียบ
🔹🔹 1.3) การเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมทางสังคม - สื่อ 🔹
🌞🌞 สื่อ ในประเทศสวีเดน หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีอิสระเสรีค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อการเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ สื่อเทคโนโลยีผ่านอินเตอร์เน็ต ภาพยนต์ ฯลฯ
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม ดัชนีเสรีภาพสื่อ จากลิ้งค์ด้านล่าง)
“เสรีภาพของสื่อ คือ เสรีภาพของประชาชน” เพราะ สื่อ เป็นส่วนประกอบสำคัญของความเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะเสรีภาพของข่าวซึ่งทำหน้าที่คอยเฝ้าระวังและตรวจสอบสังคมรวมถึงการเมือง ฯ และ รายงานความจริงต่อผู้คนในสังคม
📗📘 สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือบทเรียน โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของสวีเดน ที่ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างภาพหรือบิดเบอน เพื่อให้ชนชั้นนำมีภาพพจน์ที่ดีของความเป็นผู้นำ หรือ ชนชั้นพิเศษ เพราะแม้ปัจจุบันชนชั้นนำของเขาก็มีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับปุถุชนทั่วไป เพียงแต่ แต่ละคนมีหน้าที่และบทบาทที่ต่างกัน
นอกจากประเทศสวีเดนจะให้เสรีกับสื่อ เขายังควบคุมคุณภาพสื่อให้อยู่บนพื้นฐานความจริงโดยไม่ต้องมีผู้สนับสนุน
📺 ด้วยการเก็บภาษี ซึ่งเป็นภาษีที่ชาวสวีเดนคิดว่าเป็นจำนวนเงินเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับคุณภาพที่พวกเขาได้รับ และภาษีนั้นจะถูกนำมาบริหารช่องทีวี 4 ช่อง คือ ช่อง SVT1, SVT2, barnkanalen และ kunskapskanalen คือ ทีวีสวีเดนช่อง1, ช่อง2, ช่องทีวีสำหรับเด็ก และทีวีช่องสาระความรู้
แม้ปัจจุบันชาวสวีเดนจะมีช่องทางการรับความบันเทิงหลากหลายช่องทาง แต่เมื่อใดที่พวกเขาดูช่องทีวี 4 ช่องดังกล่าว ก็จะดูโดยไม่มีการโฆษณา และ การที่ไม่มีผู้สนับสนุนทำให้ทั้ง 4 ช่อง สามารถผลิตรายการที่เน้นคุณภาพ และคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างแท้จริง
PPTV36 : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/146635
💥💥 ดังคำกล่าวที่ว่า “เสรีภาพของสื่อ คือ เสรีภาพของประชาชน” ในประเทศที่ยังไม่พัฒนาทุกประเทศจะควบคุมสื่อทุกสือ ไม่ว่าจะสื่อเรียน โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ที่มักจะถูกบิดเบือน การถูกควบคุมจะมีมากหรือน้อย ต่างกันไปตามความเป็นเผด็จการ ที่มี
สิ่งไหนที่รัฐบาลไม่ต้องการให้สาธารณชนรับรู้ ในประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยน้อยและมีความเป็นเผด็จการสูง สิ่งนั้นก็จะถูกห้ามไม่ให้เปิดเผยเป็นข่าวเลย
บางประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยบกพร่อง หรือมีความเป็นประชาธิปไตยผสมกับความเป็นเผด็จการครึ่งๆกลางๆ รัฐบาลก็จะบ่อยให้มีช่องข่าวที่ทำงานเพื่อคอยเปิดเผยความจริงต่อประชาชนอย่างแท้จริง อยู่บ้าง
🔷แต่การมีช่องข่าวที่บิดเบือน อยู่คู่กับ ช่องข่าวที่พยายามเปิดเผยความจริง ก็ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งเลือกที่จะเชื่อตามสิ่งที่รัฐบาลต้องการมากกว่า และมองว่าช่องข่าวที่พยายามเปิดเผยความจริงเป็นข่าวลวง 😞
🔺การสอนและปลูกฝังให้ เชื่อผู้ใหญ่ ตามผู้ใหญ่ โดยไม่ต้องคิดหรือพิจารณา มีส่วนที่ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่ง เลือกที่จะเชื่อฝั่งรัฐบาล (ที่ต้องการบิดเบือนข่าว) โดยไม่มีการเปรียบเทียบข่าวจากหลาย ๆ ช่องทางก่อน🔺
2
การควบความข่าวสารสามารถทำผ่านทั้งอำนาจเผด็จการ เช่น กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และอำนาจเงินที่สามารถทำผ่านการซื้อตัวบุคคลสำคัญของฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลที่ประชาชนชื่นชอบ หรือ ให้ความเชื่อถือ เช่น ทนาย, หมอ, นักข่าว นักการเมือง นักเขียน นักวิชาการ ดารา นักร้อง ฯลฯ
ขอบคุณภาพ BBC : https://www.bbc.com/thai/thailand-39769676
🔷🔷 หลายๆ ท่านรู้เรื่องเหล่านี้ดีอยู่แล้ว แต่หากมีท่านใดกำลังสงสัยว่า 🩸ทำไมต้องควบคุมสื่อ 🩸อะไรที่เราประชาชนควรไตร่ตรองในการรับข่าวสาร และควรเริ่มจากตรงไหน
🩸 ทำไมต้องควบคุมข่าว หรือ สื่อต่างๆ – การที่ประเทศประเทศหนึ่งไม่พัฒนา ส่วนใหญ่มีปัญหาสำคัญ คือ 🔥คอร์ลัปชั่น🔥 เงินภาษีของประชาชน ไม่ถูกนำมาใช้เพื่อประชาชน และ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง
เมื่อมีการคอร์ลัปชั่น รัฐบาลประเทศนั้น ก็จะพยายามปกปิดช่องทางที่จะทำให้ประชาชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของภาษีรับรู้ วิธีที่รับบาลทำมีหลากหลาย ทั้งการปิดสื่อโดยตรง เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ข่าวสาร
ทั้งสื่อทางอ้อม เช่น ระบบการศึกษาที่ไม่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อย่างเต็มประสิทธิภาพ วัฒนธรรมคำสอนที่ชี้นำให้ประชาชนเชื่อง่าย สอนง่าย การปลูกฝังความเป็นเผด็จการ และ 🔻ที่สำคัญคือการไม่พยายามให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจอำนาจของประชาชนในระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง🔻 ฯลฯ
🩸 อะไรที่เราประชาชนควรไตร่ตรองในการรับข่าวสาร และควรเริ่มจากตรงไหน
เมื่อเราสังเกตว่าในประเทศมีการคอร์ลัปชั่น โดยดูได้จากความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศที่ตกต่ำ (เพราะมีความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลชุดนั้นไม่ได้นำภาษีมาใช้เพื่อผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนอย่างแท้จริง)
และยังสามารถตรวจสอบเสรีภาพของสื่อ เมื่อสื่อไม่มีเสรีก็ทำให้ประเทศไม่มีความเป็นประชาธิปไตยบกพร่อง เราจึงสามารถดูการจัดลำดับความเป็นประชาธิปไตยร่วมด้วย (ดูข้อมูลการจัดลำดับเพิ่มได้จากลิ้งค์ด้านล่าง)
สิ่งที่เราประชาชนควรปฏิบัติ เพื่อการบริโภคข่าวสาร คือ พยายามรับข่าวสารจากหลาย ๆ ช่องทาง เพื่อค้นหาช่องข่าวที่อยู่ข้างประชาชน ซึ่งเป็นช่องข่าวที่พยายามเปิดเผยความจริงให้กับสังคม
ทั้งนี้เราไม่ได้บอกให้ท่านเชื่อข่าวเหล่านั้นทันที แต่เราอยากให้ตรวจสอบ เปรียบเทียบ และ พิจารณาด้วยตัวของท่านเองอีกที และโดยเปรียบเทียบกับแหล่งข่าวจากต่างประเทศ ซึ่งมีเสรีและมีความน่าเชื่อถือมากกว่า
📍🔻ข้อสังเกต - ข่าวช่องใดที่อยู่ฝั่งประชาชน ก็มักจะถูกรัฐบาล (ที่มีคอร์ลัปชั่น) ของประเทศนั้นมองว่าเป็นฝั่งตรงข้าม และ จึงทำให้ช่องข่าวเหล่านั้นมักจะถูกโจมตีหรือถูกกลั่นแกล้งบ่อยๆ
ซึ่งมีข่าวที่เกิดขึ้นกับช่องข่าว; Voice TV, ประชาไท Prachatai, The Reporters, THE STANDARD และเยาวชนปลดแอก – Free YOUTH (ดูข้อมูลเพิ่มจากลิ้งค์ด้านล่าง ในหัวข้อ “แถลงการณ์ เสรีภาพสื่อ คือ เสรีภาพประชาชน)
ในประเทศที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย หรือ ยังไม่พัฒนา ยังควบคุมแม้กระทั้งสื่อผ่าน ภาพยนตร์ ละคร รายการทีวี ฯลฯ เพื่อให้ผลิตสื่อที่มีเนื้อหาตามที่รัฐบาลต้องการ และแม้แต่สื่อโซเชียลมีเดีย
🔷🔷 ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม และ พร้อมกับพิจารณาด้วยตัวของท่านเองจากลิ้งค์ที่มีอยู่ด้านล่าง
โดยเราอยากให้ท่านพิจารณาร่วมกับคำถามที่เราอยากฝากไว้ให้ท่านตอบตัวท่านเองว่า
👉 ทำไมไม่ว่าจะสำนักข่าว หรือ ภาพยนตร์ ของ ไทย ยังไม่ประสบความสำเร็จในระดับสากลโลก ท่านคิดว่าเป็นเพราะคนไทยขาดความรู้ความสามารถ? หรือ เพราะสื่อของไทยยังไม่มีอิสระให้ผลิตสื่อได้ตามความต้องการของสังคมโลก?
📍📍 แม้เแต่เราเอง ที่เพียงเขียนเรื่องเล่าในมุมเล็กๆ นี้ ทั้งครอบครัวและเพื่อนชาวสวีเดนที่รู้เรื่อง ยังคอยเตือนและถามเราว่า เรารู้ตัวเองใช่ไหมว่ากำลังทำอะไรอยู่ เรากำลังจะบอกว่า ภาพพจน์เสรีสื่อของไทย ไม่ค่อยจะดีในสายตาชาวโลกเลย 😞
🔹🔹 1.4) การเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมทางสังคม - ศาสนา 🔹
🌞🌞 ในประเทศสวีเดนและประเทศที่พัฒนาแล้ว จะสอนและปลูกฝังพลเมืองให้คิดวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผล
พวกเขาเชื่อว่า “ความเชื่อ” คือ คำสอนทางศาสนาในอดีตกาล ที่มีไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้อยู่ด้วยกันในสังคมด้วยความสงบสุข แต่เมื่อเวลาผ่านไปสังคมขยายใหญ่ขึ้น การควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ด้วยความเชื่อเพียงอย่างเดียวนั้น จึงกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้น
พวกเขาจึงเรียนรู้และใช้หลักการเหตุและผล ในปัจจุบันหากมีคำสอนใดที่ไม่เข้ากับยุคสมัยหรือล้าหลัง พวกเขาจะชี้แจ้งแก้ไขผ่าน เช่น บทเรียนประวัติศาสตร์ รายการทีวี หรือ สื่ออื่นๆ ฯลฯ
การรักษาความสงบสุขในสังคมปัจจุบันของพวกเขา ได้เปลี่ยนมาใช้การศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์ และ ควบคุมด้วยกฎหมายที่มีความเป็นธรรมและเคร่งครัด แทน การใช้ “ความเชื่อ” ผ่านคำสอนต่างๆ
📗📘 ปัจจุบันพวกเขาปล่อยให้ความเชื่อทางศาสนาเป็นสิทธิของบุคคลที่จะเลือกเชื่อ แต่กระนั้นผู้คนส่วนใหญ่หรือส่วนหนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็เลือกที่จะเชื่อตรรกะเหตุและผล และกลายเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา หรือที่เรียกว่า “Atheist”
แต่ประเทศของพวกเขากลับกลายเป็นประเทศที่พัฒนา มีอรยธรรมสูง และ ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีด้วยความสงบสุขกว่าหลายๆ ประเทศที่ยังเน้นการปกครองด้วยตรรกะความเชื่อ
ชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ บวกกับ ความเชื่อทางวิทยศาสตร์ ทำให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือและแบ่งปันผู้อื่นได้ง่ายขึ้น และ การแบ่งปันทำความดีของพวกเขา เป็นการทำความดีเพื่อความดีโดยเนื้อแท้ โดยไม่ต้องอธิฐานหรือหวังสิ่งใดตอบแทน🌼🌼
การที่เราคนไทยอยู่คู่กับความเชื่อมาเนินนาน อาจจะทำให้หลายท่านมีแนวคิดที่ต่างไป และ ไม่ง่ายเลยที่จะสามารถเข้าใจแนวคิดของชาวสวีเดน
เราขอให้ท่านเข้าใจว่ามันเป็นแนวคิดชาวสวีเดนเท่านั้น ส่วนท่านจะเชื่ออะไรก็เป็นสิทธิ์ของท่าน เพียงแต่ไม่ว่าใครจะเชื่ออะไร ก็ไม่ควรลืมที่จะคิดและไตร่ตรองก่อน❤️❤️
1
🔷 ในหัวข้อนี้เราขอเล่าแต่ฝ่ายของสวีเดนฝ่ายเดียว โดยไม่มีการเปรียบเทียบ 🔷
LIEKR : http://www.liekr.com/post11268341010878
🔹🔹 1.5) การเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมทางสังคม - สังคมชาวสวีเดน 🔹
 
🌞🌞 สังคมที่ไม่มีชนชั้น – ประเทศสวีเดนและหลาย ๆ ประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ต่างพยายามสร้างความเท่าเทียมและความเสมอภาคในสังคมของตน เมื่อมีความเท่าเทียมก็ไม่มีชนชั้น และ ไม่มีใครเป็นบุคคลพิเศษ แม้แต่กษัตริย์ของพวกเขา
การใช้คำว่า “ฉัน” และ “เธอ” เป็นสรรพนามที่ใช้กับทุกๆ คน ก็เพื่อขจัดความเลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมในสังคม สวีเดนไม่มีภาษาพิเศษสำหรับชนชั้นใด หากจะมีคำสุภาพก็ใช้กับทุกชนชั้นได้ตามสถานการณ์
พวกเขาไม่มีการกราบไหว้ ทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่มีใครเหนือกว่าใคร ในสถานที่ราชการทุกที่ ไม่มีรูปภาพใครที่ถูกยกย่องเป็นพิเศษ
พวกเขาถูกสอนและปลูกฝังมาเนินนานให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ความรู้สึกเท่าเทียมทำให้พวกเขาเคารพและให้เกียรติกันและกัน ด้วยความสุภาพ ตามหน้าที่และสถานะ แต่ไม่ใช่จนเกินพื้นฐานความเป็นมนุษย์
ความเชื่อในตรรกะศาสตร์ เหตุและผล ทำให้ไม่มีใครเป็นเทพสูงส่ง ไม่มีคำว่าบุญวาสนา มีแต่มนุษย์ที่แตกต่างกันด้วยหน้าที บทบาท และความรับผิดชอบ
ความรู้สึกนี้ยังทำให้แม้แต่ผู้ที่มีบทบาทที่สูง เช่น เจ้า, เจ้านาย, หัวหน้า ฯลฯ ไม่เรียกร้อง หรือ คาดหวังให้ใครต้องให้ความเคารพยกย่องตัวเองเป็นพิเศษ
คล้าย ๆ ที่บ้านเราเรียกว่า "ไม่ถือตัว" แต่ก็ไม่เหมือนกันเสียเลยทีเดียว เพราะความเท่าเทียมกัน ทำให้แม้แต่บุคคลที่มีฐานะ ตำแหน่ง ฯ สูงกว่า ก็ไม่รู้สึกว่าตนมีอะไรที่พิเศษกว่า "มนุษย์" ที่จะต้อง "ถือตัว"
ขอบคุณภาพ : https://www.gp.se/nyheter/sverige/kungen-firar-40-%C3%A5r-p%C3%A5-tronen-1.584470
ตอนเราเรียนภาษาสวีเดนมีนักเรียนต่างชาติเรียกครูที่สอน ด้วยคำว่า “ni” ซึ่งเป็นคำสรรพนามพหูพจน์ ใช้เรียกบุคคลที่สามหลายๆคน ภาษาอังกฤษใช้ “you”
แต่ในภาษาสวีเดนโบราณ คำว่า “ni” หมายถึง “คุณ หรือ ท่าน” หากจะมีคำสรรพนามที่ยังคงแสดงการยกย่องพิเศษหลงเหลืออยู่ ก็คือคำนี้ “ni” แต่ก็ไม่มีใครใช้บ่อย
ครูที่สอนรีบอธิบายว่า การเรียกครูด้วยคำว่า “ni” นักเรียนอาจจะกำลังคิดว่าให้เกียรติครูอยู่ แต่สำหรับครู มันทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่ใช่มนุษย์ ครูไม่ต้องการถูกยกย่องเกินมนุษย์ และ ขอร้องไม่ให้เรียกเธอว่า ”ni” แต่ให้ใช้ ”du” ซึ่งใช้กับทุกๆ คน ในภาษาอังกฤษ “du” คือ ”you”
🌞🌞 การรักและหวงแหนประเทศ – ชาวสวีเดนไม่ถูกสอนหรือปลูกฝังให้รักประเทศในรูปแบบใดเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะรักที่สัญญาลักษณ์ของประเทศ หรือ ตัวบุคคล
แต่ด้วยจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์ พวกเขาก็รัก หวงแหน และภูมิใจประเทศของตัวเอง และ พวกเขายังมีความรักและหวังดีต่อเพื่อนร่วมชาติ และ เพื่อนมนุษย์
1
ในอดีตพระมหากษัตริย์ของพวกเขาเป็นผู้นำการรบ แต่ทหารที่ร่วมรบก็คือประชาชน และปัจจุบันประชาชนก็คือผู้ที่ร่วมกันจ่ายภาษี ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ
ดังนั้นพวกเขาไม่มีความรู้สึกว่าใครเป็นเจ้าของประเทศ แต่การศึกษาผ่านระบบการศึกษา วัฒนธรรมคำสอน และความเป็นประชาธิปไตย ก็ทำให้รู้สึกได้ว่า พวกเขาถูกปลูกฝังให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ❤
หากจะถามว่าแล้วเขาแสดงความรักที่เขามีต่อประเทศอย่างไร เรามองว่าเขาทำมันผ่านความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การจ่ายภาษี และ หน้าที่ในการเป็นพลเมืองในระบบประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้ง การติดตามข่าวสารการเมือง เพื่อร่วมกันตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และ ไม่เปิดโอกาสให้เกิดการคอร์สลัปชั่น ฯลฯ
พวกเขารู้ดีว่าภาษี และ การบริหารภาษีที่ปราศจากคอร์ลัปชั่นนั้น มีความสำคัญมากแค่ไหน เช่น กาษีเป็นสวัสดิการของพวกเขาเอง เป็นรายได้สำคัญเพื่อการบริหารและพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดความเท่าเทียมและความเสมอภาคในสังคม ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติที่มีโอกาสน้อยกว่า
💥💥 ความเท่าเทียม - ประเทศที่ยังไม่พัฒนา และ ไม่ต้องการพัฒนา มักจะปลูกฝังเรื่องความเชื่อให้ประชาชน เพราะความเชื่อทำให้คนส่วนหนึ่งยังยึดติดกับชนชั้น และ บุญวาสนา
เมื่อเชื่อเรื่องบุญทํากรรมแต่ง ผู้คนก็ยอมรับความลำบากยากจนที่ตัวเองเป็นอยู่ และยังมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า เป็นเพราะตัวเองได้สร้างบุญไว้น้อย มีกรรมเยอะ
จึงทำให้ผู้คนไม่คิดลุกฮือขึ้นมาแข่งบุญแข่งวาสนากับใคร หรือแม้แต่เรียกร้องสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ สิทธิ์ของผู้เสียภาษี และสิทธิ์ของผู้ถูกฉ้อโกงภาษี 😢
🔷🔷 การรักและหวงแหนประเทศ – ในหลายประเทศที่มีความเป็นเผด็จการ ยังไม่พัฒนา และ แม้แต่ไม่มีความบริสุทธิ์ใจที่จะพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง มักจะสอนและปลูกฝังให้ประชาชนรักชาติที่ตัวบุคคล หรือ สัญญาลักษณ์ใดสัญญาลักษณ์หนึ่งของชาติ
ซึ่งสิ่งนั้น จะถูกปลูกฝังจนทำให้เกิดเป็นจิตสำนึก และ เป็นสัญญาลักษณ์ของการรักชาติ โดยที่ประเทศเหล่านั้นจะละเว้นการให้ความรู้กับประชาชนเรื่องภาษี-ภาษีนั้นสำคัญกับความเป็นอยู่ของชีวิตมนุษย์ทุกคนอย่างไร
คำสบถ คำด่าทอ ของแต่ละประเทศนั้นต่างกัน เป็นความบังเอิญ หรือ กลยุทธ์ของชนชั้นปกครองในอดีต ไม่มีใครรู้ ที่คำด่าพ่อท้อแม่ คือ คำด่าที่รุนแรงและเจ็บปวดสำหรับคนไทย
ถ้าเอาไปใช้กับคนในประเทศที่พัฒนาแล้วในภาษาของเขา “your father หรือ your mother” เขาก็คง งง และไม่เจ็บปวดอะไร แต่สิ่งที่คนไทยถูกปลูกฝังมาก็ทำให้ “พ่อ” ของตัวเอง และ "พ่อของประเทศ" เป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ และกลายเป็นสัญญาลักษณ์ของความรักชาติ
การมุ่งแต่ปกป้องและรักชาติที่สัญญาลักษณ์ จนทำให้ผู้คนส่วนหนึ่งลืมที่จะดูว่า ความไม่เท่าเทียมในสังคมได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องอยู่อย่างยากจนค้นแคลน ไร้ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 😥
เด็กคนหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีลักษณะนิสัยเป็นอย่างไร ไม่สำคัญว่าเขามีเชื้อชาติอะไร แต่สำคัญที่เขาได้เติบโตอยู่ในประเทศไหน
เพราะแต่ละประเทศมีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่ต้องการผลิตประชากรของตัวเองอย่างไร การอบรมสั่งสอนของทุกสถาบันในประเทศนั้นๆ รวมทั้ง สือ วัฒนธรรมคำสอน ฯลฯ ล้วนสอดคล้องกันเพื่อปลูกฝัง ฟูมฟัก และ ขัดเกลา ประชาชนของตนไปในทิศทางเดียวกัน
หลายสิ่ง หลายแนวคิด ที่คนไทยเราถูกสอนและปลูกฝังให้เชื่อ ให้ทำ ให้เป็น มาเนินนาน ทำให้เราเชื่อว่ามีหลายท่านในที่นี้ ยากที่จะเข้าใจ และ รับฟังเรื่องเล่าของเรานี้ได้ และแม้ว่าหลายท่านอาจจะกำลังโกรธเราอยู่ เราก็เข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของทุกท่าน🌼🌼
🔹🔹1.6) การเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมทางสังคม - กฎหมาย 🔹
วิธีที่ประเทศสวีเดนใช้เพื่อการควบคุมให้ผู้คนอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขในสังคมนั้นมีหลากหลาย วิธีที่สำคัญที่สุดคือ การให้การศึกษา และ พร้อมทั้งสอดแทรกคำสอนผ่าน สังคม วัฒนธรรม คำสอน ฯลฯ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์ให้รู้สึกผิด-ชอบ และ ละอายต่อการกระทำที่ผิดกฎหมาย
หลังจากกระตุ้นจิตสำนึก เขาจึงมีกฎหมายเป็นเครื่องมือสำหรับการควบคุมจิตสำนึกของมนุษย์ ที่ออกนอกกรอบในบางครั้ง และ ในบางคน
กฎหมายจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็ต่อเมื่อ เช่น มีความชัดเจน เป็นธรรม เคร่งครัด และ บังคับใช้กับทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียม และสิ่งเหล่านี้ก็เป็นคุณสมบัติของกฎหมายในประเทศสวีเดน
📗📘ยังมีเรื่องราวมากมาย ที่แสดงให้ว่าความรู้สึกผิดชอบ และ ความละอายต่อการกระทำผิดกฎหมาย ได้ถูกปลูกฝังในจิตสำนึกของชาวสวีเดน ไว้เราจะมาเล่าในตอนอื่น
🔷 หัวข้อกฏหมายนี้ เราขอไม่เปรียบเทียบ แต่จะเก็บไว้เล่าในตอนอื่น 🌼🌼📗📘
❷🔹การเรียนรู้ผ่าน - สถาบันครอบครัว 🔹
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันแรกของชีวิตมนุษย์ แต่เรานำมาเล่าในลำดับสุดท้าย เพราะเรากำลังจะทำให้ท่านเห็นว่าทุกอย่างเป็นวัฏจักร
เมื่อชาวสวีเดนถูกอบรมในระบบการศึกษา ถูกกลอมเกลาในสังคม ที่ประกอบด้วยวัฒนธรรม คำสอน กฎหมาย สื่อสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ ฯลฯ ทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีแนวคิดความเป็นประชาธิปไตย หลักการเหตุและผล ฯ
เมื่อมีครอบครัวและมีลูก เขาก็สอนลูกด้วยวิธีการ “ปฏิบัติต่อลูกดังที่เขาอยากให้ลูกปฏิบัติต่อเขาและผู้อื่น” ทำให้พวกเขาส่วนใหญ่ รับฟังกัน พูดคุยกันด้วยเหตุผล และ อ่อนโยนต่อกัน ฯ
นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีกฎหมายคุ้งครองเด็ก ซึ่งสวีเดนเป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายห้ามการลงโทษเด็กด้วยการทำร้าย หรือ การปฏิบัติอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสม เช่น ทำร้ายจิตใจด้วยการใช้คำพูดที่ดูหมิ่นดูแคลน คำพูดลดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การกระทำการปฏิบัติที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจ หรือ ข่มขู่ประทุษร้าย ฯลฯ
กฎหมายเด็กนี้มีความเคร่งครัด และใช้กับเด็กทุกคน ทุกสถานที่ ไม่เว้นแม้แต่ในโรงเรียนหรือที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นครูหรือพ่อแม่
ไว้เราค่อยมาเล่าเรื่องนี้เพิ่ม และในหัวข้อนี้เราขอไม่เล่าเรื่องเปรียบเทียบ
🔷 คลิกเพื่อดูเพิ่มเติม กฎหมายห้ามตีเด็ก ซึ่งเริ่มต้นที่ประเทศสวีเดน
โอ! พระเจ้าช่วยกล้วทอด เรื่องเล่าตอนนี้ยาวมากก😱 เราไม่แน่ใจว่าจะมีใครที่สนใจและอยู่กับเราจนมาถึงตรงนี้ 🌼🌼
แต่ถ้าท่านยังอยู่ ท่านคงรู้ตัวดีว่าท่านเป็นผู้ที่ชอบอ่านและเรียนรู้ ❤ แต่บางทีแม้เราจะชอบ และ ใฝ่ที่จะเรียนรู้แค่ไหน เราก็ไม่มีโอกาสที่จะได้เลือก ได้เรียนรู้ ทุกอย่างที่เราต้องการด้วยตัวของเราเอง ทั้งหมด
สิ่งที่มนุษย์เราได้เรียนในโรงเรียน สิ่งที่เราได้ยินจากสำนวนคำสอน ได้มีส่วนร่วมผ่านวัฒนธรรมประเพณี สิ่งที่ได้ยินจากผู้คนในสังคม ได้ดูผ่านรายการทีวี ละคร ภาพยนตร์ ฯลฯ ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่มีผู้กำหนด และ ควบคุม
หากประเทศใดมีผู้นำที่ต้องการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ทุกสิ่งในประเทศก็จะถูกออกแบบมาเพื่อให้เดินไปด้วยกันข้างหน้า ด้วยความเป็นประชาธิปไตย
หากประเทศใดมีผู้นำที่วัตถุประสงค์เพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องซ่อนอยู่ ทุกสิ่งก็จะถูกออกแบบมาเพื่อหยุดและชะลอความเจริญของประเทศ
สรรพสิ่งในโลกล้วนมีเหตุและผล มีที่มาและที่ไป ไม่ใช่บุญ ไม่ใช่กรรม และไม่ใช่วาสนา
ทั้งหมดที่เราเล่ามาไม่ใช่เรื่องราวที่เป็นปัญหาของประเทศเฉพาะวันนี้ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราคนไทยมาแล้วเนินนาน
"ชาติพันธุ์" ตอนต่อไปเราจะมาเล่า ปัจจัยที่ทำให้สวีเดนพัฒนา อีกสองปัจจัยที่เหลือ
👉 การให้ความร่วมมือของชนชั้นนำ สิ่งสำคัญอยู่ที่ ความจริงใจและปราศจากคอรัปชั่น
👉 เครื่องมือ วิธีการ หรือแนวทางเพื่อการแก้ปัญหา พัฒนา และ การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ
 
สุดท้ายนี้ เราต้องขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่อยู่กับเรามาจนถึงตรงนี้ และขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลโรคภัย❤️❤️ ตอนนี้ได้เวลาที่เราต้องไปก่อนแล้วละ บาย บาย 🤗 🤗
ติดตามทาง FB : https://www.facebook.com/farangVSthai/
🌼🌼 ปล.
บทความนี้ถูกเขียนและวิเคราะห์จากประสบการณ์ในประเทศสวีเดนของผู้เล่า จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าทุกคนที่มีประสบการณ์ในประเทศสวีเดนจะคิดเช่นเดียวกัน
📌📌 ข้อมูลเพิ่มเติม📌📌
📌 คลิกเพื่อดู : ดูละครไทยผ่านมิติทางการเมือง : คุยให้ชัดกับพรรณิการ์
1
👉 เปิดเขี้ยวเล็บของรัฐในการควบคุมสื่อ
👉 แถลงการณ์ THE STANDARD เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพของประชาชน
👉 อันดับประเทศที่มีดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ปี 2020
🌻🌻🌼🌼🌻🌻🌼🌼🌻🌻🌼🌼🌻🌻🌼🌼
โฆษณา