8 ก.ค. 2021 เวลา 13:52 • ปรัชญา
EP:117 เ ห ตุ เ กิ ด ขึ้ น แ ห่ ง ท า น
ทำไมจึงมีการให้ทาน พระพุทธเจ้าสอนในเรื่องนี้ ๔ นัยยะ
2
เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน (นัยที่ ๑)
การให้ทาน ๘ ประการ
1. บางคนหวังได้จึงให้ทาน
2. บางคนให้ทานเพราะกลัว
3. บางคนให้ทานเพราะนึกว่าเขาให้แก่เรา
4. บางคนให้ทานเพราะนึกว่าเขาจักให้ตอบแทน
5. บางคนให้เพราะนึกว่าทานเป็นการดี
6. บางคนให้เพราะว่าเราหุงหากิน ชนเหล่านี้พุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่คนเหล่านี้ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร
7. บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานกิตติศัพท์ย่อมฟุ้งไป
8. บางคนให้ทานเพื่อประดับจิต ปรุงแต่งจิต
2
เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน (นัยที่ ๒)
ทานวัตถุ ๘ ประการ
1. บางคนให้ทานเพราะ ชอบพอกัน
2. บางคนให้ทานเพราะ โกรธ
3. บางคนให้ทานเพราะ หลง
4. บางคนให้ทานเพราะ กลัว
5. บางคนให้ทานเพราะนึกว่า บิดามารดา ปู่ย่าตายาย เคยให้มา เราไม่ควรทำเสียประเพณี
6. บางคนให้ทานเพราะนึกว่าเราให้ทานนี้แล้ว เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุขคติโลกสวรรค์
7. บางคนให้ทานเพราะนึกว่าเมื่อเราให้ทานนี้ จิตเลื่อมใส ความเบิกบานใจ ความดีใจ ย่อมเกิดขึ้นตามลำดับ
8. บางคนให้ทานเพื่อประดับจิต ปรุงแต่งจิต
เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน (นัยที่ ๓)
กาลทาน ๕ ประการคือ
1. ให้ทานแก่ผู้มาเยือนถิ่นของตน
2. ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป
3. ให้ทานแก่ผู้ป่วยไข้
4. ให้ทานในสมัยข้าวยากหมากแพง
5. ให้ข้าวใหม่ ให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้ถือศีลก่อน
ผู้มีปัญญารอบรู้ และปราศจากความตระหนี่
ย่อมถวายทานตามสมัยที่พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ประพฤติตรงคงที่
เมื่อมีใจเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ทักษิณาย่อมมีผลโดยไพบูลย์
ชนทั้งหลายเหล่าใดร่วมอนุโมทนา หรือช่วยกระทำการขวนขวายในการนี้
ทักษิณานั้นมิได้พร่องไปด้วยเหตุแห่งอนุโมทนานั้นเลย
แม้ชนผู้ร่วมอนุโมทนา ก็มีส่วนแห่งบุญด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อบุคคลไม่มีจิตท้อถอยในทาน ทานนั้นย่อมมีผลมาก
บุญที่ทำแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในกาลข้างหน้าได้แล
เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน (นัยที่ ๔)
…ภิกษุทั้งหลาย ! บางคนให้ทาน ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะ หรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น
เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่มพลั่งพร้อมถูกบำเรออยู่ด้วยกามคุณ๕
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอ หนอ ! เมื่อตายไปเราขอพึงเข้าถึงสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คหบดีมหาศาล”
เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในความเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น
หลังการตาย เขาย่อมเข้าถึงสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คหบดีมหาศาล แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล มิไช่ของผู้ทุศิล
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปราถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศิล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตบริสุทธิ์
…ภิกษุทั้งหลาย ! หากบางคนให้ทาน…
เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น
เขาได้ฟังมาว่าเทวดาชั้นจตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข …
เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในความเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น
หลังการตาย เขาย่อมเข้าถึงสหายแห่งเทวดาชั้นจตุมหาราชิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล มิไช่ของผู้ทุศิล
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปราถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศิล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตบริสุทธิ์
…ภิกษุทั้งหลาย ! หากบางคนให้ทาน…
เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น
เขาได้ฟังมาว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์… ชั้นยามา… ชั้นดุสิต… ชั้นนิมมานรดี… ชั้นปรนิมิตตวสวัตตี… มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข …
เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในความเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น
หลังการตาย เขาย่อมเข้าถึงสหายแห่งเทวดาชั้นจตุมหาราชิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล มิไช่ของผู้ทุศิล
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปราถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศิล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตบริสุทธิ์
…ภิกษุทั้งหลาย ! หากบางคนให้ทาน…
เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น
เขาได้ฟังมาว่าเทวดาชั้นพรหมกายิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข …
เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น จิตของเขานึกน้อมไปในความเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น
หลังการตาย เขาย่อมเข้าถึงสหายแห่งเทวดาชั้นจตุมหาราชิกา แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล มิไช่ของผู้ทุศิล
ภิกษุทั้งหลาย ! ความปราถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศิล ย่อมสำเร็จได้ เพราะจิตปราศจากราคะ
การให้ทานที่หวังผลตอบแทน เมื่อขาดซึ่งการเป็นผู้มีศีล และมีจิตบริสุทธิ์ หรือมีจิตปราศจากราคะ จึงทำให้ทานไม่บรรลุตามปราถนา
1
เรียบเรียงและอ้างอิงจาก พุทธวจน-หมวดธรรม เปิดธรรมที่ถูกปิด ฉบับ๑๓ ทาน (การให้)
โฆษณา