10 ก.ค. 2021 เวลา 02:18 • ความคิดเห็น
เทรนด์การซื้ออาหารใกล้หมดอายุมากินของคนรุ่นใหม่ในจีน
อาจช่วยลดปริมาณขยะได้จำนวนมหาศาล
..
I love near expired food
คือชื่อกลุ่มชุมชนออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ชาวจีน ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปันเทคนิคและข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อหาอาหารที่ใกล้วันหมดอายุ มาทานกัน
เบื้องต้นชุมชนออนไลน์นี้มีสมาชิกแล้วกว่า 80,000 คน
เดิมที เทรนด์ความนิยมซื้ออาหารที่ใกล้วันหมดอายุมาทานในจีน
ถูกมองว่า มันเป็นเพียงเรื่องของคนขี้เหนียวที่ต้องการประหยัดเงินค่าอาหารเท่านั้น
แต่ในปัจจุบัน มุมมองเทรนด์การบริโภคแบบนี้กำลังเปลี่ยนไป
จีนถือเป็นประเทศที่มีการบริโภคอาหารมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และด้วยชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้นของคนจีนรุ่นใหม่
ทำให้อาหารสำเร็จรูปเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นมาก
ตามกฏหมาย อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารพร้อมทานเหล่านี้
จำเป็นต้องระบุวันหมดอายุหรือวันแนะนำการบริโภค
ความเข้าใจเดิมที่ว่า อาหารใกล้หมดอายุมีอันตราย ถ้าหลีกเลี่ยงได้ ไม่ควรซื้อหามารับประทาน
ความเข้าใจนี้เอง เป็นตัวทำให้เกิดปัญหาขยะจากอาหารหมดอายุจำนวนมากที่จำหน่ายไม่ได้ในช่วงก่อนหมดอายุเพียงไม่กี่วัน
เมื่อกระแสสิ่งแวดล้อมเริ่มเป็นกระแสหลักในประเทศจีนและทั่วโลก
คนรุ่นใหม่ในจีน จึงมองหาคำตอบว่าจะมีวิธีการดำเนินชีวิตอย่างไร ให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพียงพอ
เทรนด์การเลือกซื้ออาหารใกล้หมดอายุ ถูกจุดขึ้น พร้อมกับการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้บริโภค
..
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เคยให้ข้อมูลไว้ว่า
แต่ละปีมีอาหารขยะที่ไม่ควรเกิดขึ้นถึง 1.3 พันล้านตัน
ในขณะที่อีกมุมหนึ่งของโลก กำลังมีคนอดอยากอยู่อีกกว่า 800 ล้านคน
ปัญหาอาหารขยะที่ไม่ควรเป็นขยะ
ส่วนหนึ่ง ไม่ได้เกิดขึ้นบนชั้นวางสินค้า แต่เกิดขึ้นในตู้เย็นบ้านเรา
ปัญหาความสับสนในความหมายของฉลากระบุวันหมดอายุบนผลิตภัณฑ์อาหาร คือสาเหตุ..
เช่น
ฉลากที่ระบุวันหมดอายุ หรือ
EXP (Expire)คือตัวเลขที่ระบุวันเดือนปีที่อาหารในบรรจุภัณฑ์นี้ หมดอายุจนเน่าเสียแล้วและไม่สามารถนำมาบริโภคอีกได้
ส่วนฉลากที่ระบุว่า ควรบริโภคก่อน
หรือ BBE (Best before end)
คือตัวเลขที่ระบุวันเดือนปีที่อาหารในบรรจุภัณฑ์นี้ จะยังอยู่ในสภาพที่มีความสดและรสชาติดีที่สุด
หมายความว่า หลังจากวันที่ระบุบนฉลาก BBE ไม่กี่วันนั้น อาหารอาจจะยังไม่เสียจนถึงขั้นบริโภคไม่ได้
เพียงแต่คุณภาพ สี กลิ่น รสชาติ ความสดใหม่จะลดลงไปเท่านั้นเอง
1
ซึ่งตรงนี้ ไม่มีเกณฑ์วัดความเน่าเสียที่แน่นอน
ผู้บริโภคควรศึกษาหาข้อมูลลักษณะอาการเน่าเสียของอาหารแต่ละชนิด ก่อนตัดสินใจบริโภคอาหารหลังวันที่ระบุบนฉลาก BBE
1
และอาหารที่ถึงกำหนดวัน BBE นี่เอง ที่เป็นอาหารที่ถูกทิ้ง ทั้งที่มันยังกินได้ เป็นจำนวนมาก
..
มีคำแนะนำจากนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารในองค์กรระดับโลกหลายคน อยากให้เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เพิ่มข้อมูลตรงนี้ลงบนฉลากให้ชัดเจนและครบถ้วน เช่น การระบุวันที่สามารถบริโภคได้ ด้วยการปรุงให้สุกเพิ่มเติม เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคและลดปริมาณขยะที่ไม่ควรเกิดขึ้น
..
ถึงเราจะไม่ใช่คนจีน แต่เราก็ช่วยลดขยะอาหารได้ ด้วยการซื้อแต่พอดี บริโภคให้หมด อย่าเหลือทิ้งโดยไม่จำเป็นนะครับ
..
2
ติดตามอ่านบทความได้ที่
❤️
โฆษณา