Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระคดีลึกลับ
•
ติดตาม
9 ก.ค. 2021 เวลา 03:18 • ประวัติศาสตร์
มหาพีระมิดกีซาแห่งอียิปต์ Pyramid of Giza หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
มหาพีระมิด หรือพีระมิดคูฟูแห่งอียิปต์ เป็นหนึ่งในงานก่อสร้างที่มีความละเอียดแม่นยำมากที่สุด ผู้สร้างจะต้องมีความรู้ในทางสถาปัตยกรรมและเรขาคณิตขั้นสูง
หินขัดน้ำหนัก 15 ตัน ที่ฐานพีระมิดคูฟูนั้น มีขนาดที่เท่ากัน มีความแม่นยำในระดับ 1 ใน 100 ของนิ้ว กระดาษแผ่นบาง ๆ แทบจะสอดเข้าไประหว่างแท่งหินเหล่านี้ไม่ได้เลย ก่อนศตวรรษแห่งเทคโนโลยีปัจจุบัน ไม่มีชาติใดในประวัติศาสตร์ที่สามารถจำลองความละเอียดแม่นยำนี้
หากเรายอมรับการคำนวณเวลาสร้างมหาพีระมิดตามนักอียิปต์ศึกษาแล้ว สิ่งก่อสร้างนี้ซึ่งยังคงสูงที่สุดในโลกจนบัดนี้ ถือว่าก่อสร้างขึ้นในยุคเมื่อไม่มีปั้นจั่น หรือแม้แต่การใช้ล้อ เวลาเพียงหนึ่งศตวรรษก่อนเริ่มงานพีระมิด ชาวอียิปต์ยังคงก่อสร้างด้วยอิฐดินอยู่ ดังนั้นเราจะเชื่อหรือว่าในหนึ่งศตวรรษชาวอียิปต์โบราณจะมีความก้าวหน้าอย่างเด่นชัด โดยใช้เวลาเพียงยี่สิบปี ก็สามารถสร้างอาคารศิลาที่สูงที่สุดจนถึงศตวรรษนี้สำเร็จ
คำถามที่ว่าพีระมิดคูฟูนั้นสร้างขึ้นมาอย่างไร ยังไม่มีการอธิบายไว้อย่างน่าพอใจ ไดโอโดรุส ซิคูลุส เขียนไว้ว่า มีการใช้คนสร้าง 360,000 คน ในเวลายี่สิบปี ส่วนฮีโรโดตัสบอกว่าใช้คน 100,000 คนในเวลายี่สิบปี
เมื่อมีการวัดขนาดมหาพีระมิดในศตวรรษที่สิบเก้า ก็ทราบว่ามุมระหว่างด้านกับระนาบบนฐานนั้นเป็น 51 องศา 51 ลิปดา ถึง 51 องศา 52 ลิปดา เมื่อไม่มีเสาลักของพีระมิด ความสูงของสิ่งก่อสร้างนี้จึงหาได้จากวิธีการทางตรีโกณมิติ จากการคำนวณ โดยใช้เส้นรอบฐานหารด้วยความยาวสองเท่าของความสูง ก็จะได้ผลลัพธ์ที่น่าตื่นเต้น นั่นคือเท่ากับ 3.141449 หรือค่า PI นั่นเอง
ระยะทางโดยเฉลี่ยจากโลกไปยังดวงอาทิตย์ประมาณ 149.5 ล้านกิโลเมตร ความสูงของพีระมิดคีออปส์เป็น 147.8 เมตร หรือระยะ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (ระยะจากโลกไปยังดวงอาทิตย์) หารด้วย 1 พันล้าน โดยมีความคลาดเคลื่อน 1 เปอร์เซนต์เท่านั้น
หน่วยความยามที่ใช้ในการสร้างพีระมิดนั้น เป็นกิวบิตพีระมิด เท่ากับ 635.66 มิลลิเมตร รัศมีของโลกจากศูนย์กลางไปยังขั้วโลกเท่ากับ 6,357 กิโลเมตร หรือกิวบิตพีระมิดหารด้วย 10 ล้าน เมื่อปลายศตวรรษที่สิบแปด 1 เมตรมาตรฐานได้จากค่า 1 ใน 140 ล้านของเส้นรอบโลก ณ กรุงปารีส หลังจากใช้เครื่องมือที่ละเอียดยิ่งขึ้นในศตวรรษนี้ ก็พบว่าค่าเมตรดังกล่าวมีความผิดพลาด ในขณะที่กิวบิตของอียิปต์เท่ากับ 10 ใน 10 ล้านของรัศมีโลก โดยมีความผิดพลาดเพียง 1 ใน 100 ของมิลลิเมตร
ความยาวของฐานพีระมิดด้านหนึ่งเท่ากับ 365.25 กิวบิต แต่ก็มีวัน 365.25 วันในหนึ่งปี อันเป็นความบังเอิญอย่างน่าประหลาดระหว่างสัดส่วนของพีระมิดกับข้อมูลทางดาราศาสตร์ ดูเหมือนว่าเราจะต้องเสาะหาแบบพิมพ์เขียวของมหาพีระมิดในแอตแลนติสเป็นแน่
หลังจากศึกษามิติทางเรขาคณิตของพีระมิดคูฟูเป็นเวลานาน เอ.เค. อะบรามอฟ วิศวกรชาวมอสโกก็สรุปว่า พีระมิดมีคำตอบแก่ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในเรื่องการวาดสี่เหลี่ยมจากวงกลม เขาเชื่อว่าชาวอียิปต์โบราณจัดการกับเรื่องนี้ โดยใช้ระบบเลข 7 ในการกำหนดค่า PI เป็นค่า 22/7 นอกจากนี้ เขายังค้นพบว่าชาวอียิปต์ใช้ค่าเรเดียนหรือ PI/6 เป็นหน่วยพื้นฐานการวัด
ตามที่มีข้อมูลปรากฏในแหล่งต่างๆ อ้างถึง จำนวนหิน ที่นำมาก่อสร้าง พีระมิดคูฟู ต่างกันไปตั้งแต่ 2 ล้านถึง 2.6 ล้านก้อน ประมาณน้ำหนักเฉลี่ยก้อนละ 2.5 ตัน โดยจัดเรียงซ้อนกันขึ้นไปประมาณ 200 ชั้น คิดเป็นน้ำหนักรวมกว่า 6 ล้านตัน
สิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือด้านทั้ง 4 ของพีระมิดหันออกในแนวทิศ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ถูกต้องแม่นยำตามทิศจริงไม่ใช่ตามทิศเหนือแม่เหล็ก จึงไม่ใช่การกำหนดทิศด้วยเข็มทิศ ตำแหน่งของพีระมิดนั้น คลาดเคลื่อนจากทิศเหนือเพียง 3 ลิปดา 6 พิลิปดา แสดงถึงความสามารถของ ชาวอียิปต์โบราณ ในการประยุกต์ความรู้ทางดาราศาสตร์ มาใช้ในการกำหนดทิศทางได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้คนงานก่อสร้างพีระมิดคูฟูยังสามารถทำงานได้อย่างเที่ยงตรงน่าทึ่ง โดยหินตรงส่วนฐานของพีระมิดจัดวางได้เสมอกัน มีความคลาดเคลื่อน เพียงไม่ถึง 2.5 เซนติเมตร และแต่ละด้านของฐานพีระมิด มีความกว้างคลาดเคลื่อนจากกัน เพียงไม่เกิน 8 นิ้ว หรือคิดเป็นเพียง 0.09 % ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดงานก่อสร้าง และระดับเทคโนโลยีในขณะนั้น
wikipedia
Egyptology 🇪🇬
2 บันทึก
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย